ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรมศิลป์สอบ'รื้อโบราณสถานวัดชีโพน'  (อ่าน 1789 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
กรมศิลป์สอบ'รื้อโบราณสถานวัดชีโพน'
« เมื่อ: มิถุนายน 26, 2013, 06:56:25 am »
0


กรมศิลป์สอบ'รื้อโบราณสถานวัดชีโพน'

ผอ.ศิลปากรที่ 3 สำรวจศิลปกรรมวิหารพระอุโบสถวัดชีโพน ชี้ลวดลายสุดวิจิตรแนะวัดคงสภาพให้ดี เจ้าคณะอำเภอขึ้นยันทำไปเพราะเจตนาดีสั่งหยุดก็ยอม

จากกรณีมีชาวบ้านได้ร้องเรียนไปยังสื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยลงไปตรวจสอบการรื้อวิหารเก่าและพระอุโบสถภายในวัดชีโพน ม.1 ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สร้างประมาณปี 2330 ตรงกับรัชกาลที่ 1 และจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีการรับเหมารื้อวิหารเก่าทั้งหลังเพื่อสร้างใหม่ ส่วนพระอุโบสถเป็นการบูรณะใหม่ ใช้เงินประมาณ 11 ล้านบาทเศษ

โดยกำหนดเสร็จภายใน 10 เดือน โดยพระสิทธิพัฒโนดม เจ้าคณะอำเภอผักไห่ และเจ้าอาวาสวัดตูม อ.พระนครศรีอยุธยา ยอมรับว่าเสียดายความเก่าแก่ของวิหาร แต่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ จำเป็นต้องรื้อทั้งหมดเพื่อสร้างใหม่ และยืนยันว่าวิหารกับโบสถ์ไม่ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร ตามที่เสนอข่าวไปนั้น





ความคืบหน้าเมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 24 มิ.ย. นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย น.ส.เสริมสุข ประกฤติภูมิ หน.กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 3 พร้อมวิศวกรประจำสำนัก เดินทางไปยังวัดชีโพน เพื่อตรวจสอบการรื้อถอนวิหารและพระอุโบสถ โดยมีพระครูอุดมปิยะธร อายุ 47 ปี เจ้าคณะตำบลหน้าโคก อ.ผักไห่ พระปลัดสราวุธ ปัญญาวุฒิ อายุ 40 ปี ผช.เจ้าอาวาสวัดลาดชะโด อ.ผักไห่ รักษาการเจ้าอาวาสวัดชีโพน นำสำรวจพื้นที่

พบว่าวิหารทั้งหลังถูกรื้อทั้งหมดแล้ว ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ได้แก่หน้าบัน หน้าต่าง เพดาน ประตู และไม้สักที่เป็นส่วนประกอบกองอยุ่ทางด้านหน้าวิหาร และการทยอยนำเศษอิฐออกไปทิ้ง ส่วนพระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อสำริดลงรักปิดทอง หน้าตักประมาณ 69 นิ้ว สูง 2 เมตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำวิหาร ได้ถูกยกออกมาโดยรถเครนขนาดใหญ่ออกมาวางอยาข้างกำแพง โดยเกศทรงดอกบัวหายไป

ซึ่งเจ้าอาวาสแจ้งว่าหายไปนานแล้ว ส่วนตัวพระอุโบสถอยู่ระหว่างการลอกผนังและพื้น ส่วนประตูด้านหน้าบางบาน ถูกถอดออกไปกองรวมอยู่ด้านนอก แต่ยังเห็นลวดลายพรรณพฤกษาแบบเขียนสดให้เห็นอย่างวิจิตรงดงาม

           



ผอ.ศิลปากรที่ 3 กล่าวว่ารู้สึกเสียดายลวดลายและศิลปกรรมของวิหารและพระอุโบสถแห่งนี้ เนื่องจากทางวัดไม่มีความเข้าใจว่า วิหารหรือพระอุโบสถแม้ว่าจะเป็นเพียงเคยมีการสำรวจข้อมูลเพื่อเตรียมขึ้นทะเบียน หรือไม่เคยสำรวจ แต่หากมีอายุนานกว่า 50 ปี และมีลวดลายทางศิลปกรรมก็ควรปรึกษากับทางกรมศิลปากร ซึ่งทางศิลปากรก็จะมีจนท.มาแนะนำดูแล ไม่ได้ตั้งใจจะยึดครองหรือห้าม เท่าที่สำรวจดูพบว่ามีคุณค่าทางศิลปกรรมมาก น่าสนใจ

หลังจากนี้ก็จะไปหารือว่าจะทำอย่างไร ในเมื่อทางวัดรื้อไปแล้ว  วัดแห่งนี้เคยมีการสำรวจและอยู่ระหว่างการรอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน แต่ทราบว่าทางวัดก็ไม่อยากให้จดทะเบียน จนกระทั่งมาถูกทุบ หลังจากที่มาพูดคุยกับทางวัดก็ทราบว่ามีเจตนาจะสร้างใหม่ และยังยืนยันที่จะสร้างต่อไป กรมศิลปากรก็ได้แต่แนะนำขั้นตอนการเก็บรักษาสภาพของพระพุทธรูป ชิ้นส่วนต่างๆให้ดี โดยไม่ให้ถูกแดดและฝน ทำให้เสียหายได้
           
ต่อมาพระสิทธิพัฒโนดม เจ้าคณะอำเภอผักไห่ได้เดินทางมาพบกับ ผอ.ศิลปากรที่ 3 และมีปากเสียงกันพอสมควร จนกระทั่งผอ.ศิลปากรเดินทางกลับ เจ้าคณะอำเภอผักไห่ยืนยันว่าวัดชีโพนไม่ได้จดทะเบียนเป็นโบราณสถาน และมีสภาพเสียหายมาก โดยเฉพาะวิหาร ซึ่งหากทางศิลปากรสั่งระงับการก่อสร้างก็ยินดีหยุด แล้วกรมศิลปากรอยากจะสร้างก็สร้างไป ซึ่งหากทางวัดสร้างต่อก็ยืนยันว่าจะพยายามรักษาสภาพของศิลปกรรมเดิมเอาไว้ให้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยทางญาติโยมพร้อมใจที่จะร่วมกันบริจาคเงินสร้างต่อไป

 



จัดถวายความรู้พระสังฆาธิการช่วยดูแลมรดกชาติ

กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กำหนดจัดประชุมสัมมนาถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการ และฆราวาสผู้สนับสนุนวัด เพื่อสร้างความร่วมมือในการดูแลมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน  ณ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 

สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี มีหน้าที่ในการดูแลพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี นนทบุรี และปทุมธานี ได้กำหนดจัดการประชุมสัมมนาเพื่อให้พระสังฆาธิการและฆราวาสผู้เกี่ยวข้องในวัดต่างๆ จำนวน 710 รูป/คน ได้รับทราบและเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินอันเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติร่วมกับทางราชการตามแนวทางที่ถูกต้อง

เช่น การจัดทำบัญชี การจัดทำประวัติ การจัดแสดง รวมทั้งการทำนุบำรุงที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด สร้างความเข้าใจระหว่างพระสังฆาธิการและเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร เพื่อสนับสนุนส่งเสริมวัดให้มีการดูแลรักษาทรัพย์สินทางด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างถูกต้องเป็นวัดตัวอย่างที่ดีแก่วัดอื่น และเป็นประโยชน์ต่อวัดและชุมชนในภายหน้าต่อไป


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130624/161833/กรมศิลป์สอบรื้อโบราณสถานวัดชีโพน.html#.UcotGdhYxGp
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ