ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ญาณสังวร' แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (5)  (อ่าน 1347 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
'ญาณสังวร' แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (5)
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2013, 01:21:02 pm »
0


'ญาณสังวร' แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (5) : มนสิกุล โอวาทเภสัชช์รายงาน

"คนที่อ่อนแอ ย่อมแพ้อุปสรรคง่ายๆ ส่วนคนที่เข้มแข็ง ย่อมไม่ยอมแพ้ เมื่อพบอุปสรรคก็แก้ไขไป รักษาการงานหรือสิ่งที่มุ่งจะทำไว้ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น ถืออุปสรรคเหมือนอย่างสัญญาณไฟแดงที่จะต้องพบเป็นระยะ ถ้ากลัวจะต้องพบกับสัญญาณไฟแดงตามถนนซึ่งจะต้องหยุดรถ ก็จะไปข้างไหนไม่ได้ แม้การดำเนินชีวิตก็ฉันนั้น ถ้ากลัวจะต้องพบกับอุปสรรค ก็ทำอะไรไม่ได้"

พระโอวาทธรรมสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก น้อมให้เราใคร่ครวญและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่นผู้ใกล้ชิดเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในวันวารต่างมีเรื่องเล่าขานวัตรปฏิบัติอันงดงามและเป็นแบบอย่างของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ให้กำลังใจแก่เราท่านทั้งหลายในวันที่อาจจะอ่อนล้า หรือท้อแท้กับอาชีพการงาน สังคม การเมือง ในทุกวันนี้ได้บ้าง


 :25: :25: :25:

ดังที่ รศ.สุเชาวน์ พลอยชุม อาจารย์พิเศษประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศิษย์ก้นกุฏิวัดบวรฯ เล่าว่า ตั้งแต่อายุ 13 ปี ก็มีผู้แนะนำมาฝากให้เป็นลูกศิษย์เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตั้งแต่ปี 2501 เพื่อที่จะบวช ตอนนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (สมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อน) ประชวรระยะสุดท้าย ไม่สามารถเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ใครได้ ท่านจึงมอบหมายให้ท่านพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) ซึ่งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์บรรพชาเป็นสามเณรให้

     :96: :96: :96:

    "ตอนนั้นผมอยู่ในความปกครองของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อบรรพชามาแล้วก็มาอยู่ในความดูแลของท่าน ก็เป็นลูกศิษย์ท่านตั้งแต่ปี 2501 เป็นเณรอยู่ 13 ปี จนอายุครบบวช เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ เพราะตอนที่ผมอายุครบบวช ท่านเจ้าคุณพรหมมุนีก็สิ้นไปก่อนแล้ว (ในปี 2504) ตอนนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีสมณศักดิ์ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ มาแทนท่านพรหมมุนี ก็อยู่กับท่านจนถึงปี 2512 เลยเป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิดท่านมาตลอด จริงๆ

    ท่านอยู่ในฐานะเสมือนเป็นพ่อของเรา เพราะเราอยู่กับท่านตั้งแต่เด็ก ท่านก็เลี้ยงดูเรามาตลอด รับใช้ท่านเหมือนเป็นลูกศิษย์คนหนึ่ง แต่ในฐานะที่เป็นเณรก็อาจจะได้ปฏิบัติรับใช้ใกล้ชิดท่านมาก ทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ พอโตขึ้น ท่านก็เริ่มใช้ในเรื่องเป็นงานเป็นการมากขึ้น ใช้ให้เขียนหนังสือตามคำบอก แล้วท่านก็ตรวจให้ พอโตเป็นพระก็ทำหน้าที่เสมือนเป็นเลขานุการของท่าน

    จนกระทั่งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร รวมจังหวัดสมุทรปราการด้วย เราก็เป็นเลขาเจ้าคณะจังหวัดและเจ้าคณะกรุงเทพฯไปด้วย พอท่านเลื่อนยศสูงขึ้น เราก็ทำงานรับใช้พระองค์ท่านมากขึ้น"





    "สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเรียนรู้กับท่านจากการทำงาน ท่านสอนวิธีการทำงาน เขียนหนังสือ โต้ตอบจดหมาย สอนวิธีร่างหนังสือในลักษณะต่างๆ ว่า ถ้าเป็นเรื่องแบบนี้ควรทำอย่างไร ควรจะขึ้นต้นอย่างไร ลงท้ายอย่างไร มีรายละเอียดมากทีเดียว สิ่งที่ศิษย์แต่ละคนได้รับจากพระองค์ท่าน ไม่เหมือนกันนะ บางคนได้รับมาก รับน้อยก็อยู่ที่การซึมทราบของแต่ละคน กิริยามารยาทของพระองค์ท่าน ที่เป็นระเบียบ ทั้งการพูดการกระทำ

    แม้กระทั่งเวลาเดิน ก็ต้องไม่มีเสียง เวลาลูกศิษย์เดินไปที่พระตำหนักของพระองค์ท่าน ถ้าคนไหนเดินลงส้นเท้าตึงๆ ท่านก็ชี้ไปที่เท้า แสดงว่าไม่ถูกต้อง ไม่เรียบร้อย ต้องเดินไม่มีเสียง เพราะฉะนั้น การเดิน ต้องเดินด้วยปลายเท้า สิ่งเหล่านี้แหละที่เราถูกเตือนถูกสอนให้เป็นประจำทุกวัน กลายเป็นนิสัย กลายเป็นความเคยชิน การกระทำอะไรต่างๆ ต้องอยู่ในความเป็นระเบียบเช่นกัน การเก็บของ การวางของ การใช้ของ คือสิ่งที่ท่านสอนโดยการทำให้ดู บางครั้งเราทำผิดพลาดท่านก็ช่วยชี้แนะ"

 :49: :49: :49:

ในเรื่องการทำงานของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็มีรายละเอียดที่ทำให้อาจารย์สุเชาวน์นำมาใช้ตลอดชีวิต แม้ว่าหลังจากลาสิกขาไปมีครอบครัวแล้วก็ตาม

    "เนื่องจากพระองค์มีระเบียบ ละมุนละม่อม เพราะฉะนั้นเราก็ได้จากการสังเกตพระองค์ท่าน เวลาเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะทำอะไรสักเรื่อง ท่านต้องศึกษาอย่างละเอียดว่ามีความเป็นมาอย่างไร ครูบาอาจารย์เคยทำไว้อย่างไร มีหลักฐานที่มาที่ไปอย่างไร จึงจะเริ่มพูดเริ่มทำ แม้แต่เรื่องธรรมะ พระองค์ท่านต้องหาที่มาที่ไปอย่างละเอียด ท่านอ่านพระไตรปิฎกอย่างละเอียดทุกวัน จึงได้รู้ว่าเรื่องนี้มาจากส่วนไหน ตอนไหนของพระไตรปิฎก ไม่ใช่พูดเอาเอง คิดเอาเอง นี่คือความเป็นผู้ใฝ่รู้ของพระองค์ท่าน

    "นอกจากนี้ทรงเป็นผู้รอบคอบ ไม่ทำอะไรแบบสุ่มสี่สุ่มห้า สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราได้รับจากพระองค์ท่าน ทุกคนที่ได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ท่านก็จะได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็นพระองค์ท่าน เช่นนี้"


    st12 st12 st12

พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก อดีตผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า พระองค์เป็นพระมหาเถระที่เพียบพร้อมไปด้วยธรรมะทุกอย่างทุกชนิด ไม่ว่ามองไปด้านใดก็มีแต่ความงดงาม อ่อนโยน ความเรียบง่าย ความประหยัดมัธยัสถ์

    "ในช่วงระยะเวลาที่อาตมภาพได้รับใช้พระองค์ท่านในช่วงสั้นๆ อาตมาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร 11 ปี ตั้งแต่เป็นสามเณรที่พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นคนพามาฝาก ตอนนั้นอายุ 16 ปี มาอยู่วัดบวรฯ เรียนหนังสือหนักจนจบเปรียญธรรม 9 ประโยคแล้ว พระองค์ท่านก็ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ได้ทำงานถวายพระองค์ท่านเต็มที่ 24 ชั่วโมง
 
      โดยที่อาตมาอยู่ที่กุฏิหลังนี้ คือสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ข้างบนเป็นที่นอน ข้างล่างเป็นสถานที่ทำงานเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นแขกบ้านแขกเมือง เราต้อนรับกันที่นี่ พระองค์ทรงเรียบง่าย ในระหว่างที่ได้เข้าถวายตัวรับใช้สมเด็จพระสังฆราชในปี 2532 นั้น พระองค์ท่านรับสั่งประโยคที่สำคัญมาก ซึ่งอาตมภาพเชื่อมั่นว่า เพราะประโยคนี้เองที่ทำให้อาตมภาพมีกำลังใจในการทำงาน"





    "พระองค์ท่านรับสั่งว่า คุณมหาสุวิชย์ อันที่จริงคนนึกว่าไม่มีงานทำ เพราะไม่ลงมือทำงาน แต่ถ้าเราลงมือทำงานแล้ว งานจะมีมากเกินกว่าที่เราจะทำ อาตมาก็จดใส่ไว้ในสมุดบันทึกตั้งแต่วันนั้น วันที่เข้าถวายตัวรับใช้เป็นผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งมีท่านเจ้าคุณพระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นเลขานุการเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยนั้น

    "ประโยคที่สำคัญนี้ เป็นเหมือนน้ำทิพย์ที่ชโลมจิตใจของอาตมภาพในยามที่อ่อนล้า ที่ทำงานหนักแล้วไม่ผ่อนคลาย เมื่อระลึกถึงคำนี้ขึ้นมา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีคุณสมบัติที่เราทั้งหลายอาจจะมองดูว่าไม่ทันสมัย แต่ท่านทันสมัย ท่านรับสั่งภาษาอังกฤษได้ ภาษาฝรั่งเศสได้ ภาษาเยอรมันได้ ภาษาจีน สันสกฤษ บาลี พระองค์ท่านรับสั่งได้ดีเหมือนภาษาอังกฤษ ที่สำคัญเวลาที่พระองค์ท่านให้ร่างจดหมาย หรือเขียนอะไรก็ตาม เมื่อพระองค์ท่านตรวจดู ไม่เคยขีดฆ่าความคิดที่เราเขียนลงไปก่อนหน้านั้น มีแต่โยงมาอีกที่หนึ่งให้เห็นว่า มีอีกความคิดหนึ่งที่น่าสนใจกว่าไหม ? พระองค์ท่านให้เกียรติความคิดของทุกคนมาก"


     :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ที่รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย พระครูพิพิธพลาทร พระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล วัดไทยพุทธคยา ได้เคยถวายงานเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านเสด็จไปที่สังเวชนียสถานหลายครั้ง เล่าว่า ทุกครั้งที่ได้พบพระองค์ท่าน สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ความนอบน้อมถ่อมตน

  "เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะไหว้พระที่มีพรรษามากกว่าทุกครั้ง และให้พระที่มีพรรษามากกว่านั่งก่อนเสมอ การพูดก็นุ่มนวล ฟังแล้วไม่มีอะไรเคลือบแคลงสงสัย เข้าใจง่าย ชัดเจน เราก็ได้เรียนรู้จากวัตรปฏิบัติของท่านนี่แหละโดยไม่ต้องสาธยายด้วยคำพูดใดๆ เลย"

 ans1 ans1 ans1

ผู้ใกล้ชิดทุกรูปทุกท่านต่างได้นิสัยใหม่เมื่อใกล้ชิดเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เราเองแม้ห่างไกลพระองค์ท่าน แต่ธรรมะที่ท่านฝากไว้ให้แก่แผ่นดินสำคัญยิ่ง สามารถนำมาใช้ได้ดีทุกเวลา ดังพระโอวาทธรรมที่ท่านมอบไว้ว่า...

   "เพราะทุกคนในโลกต่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ต้องพึ่งพาอาศัยกันในทางใดทางหนึ่งทั้งนั้น จึงควรปฏิบัติตนในทางที่จะชื่อว่า รักษาไว้ทั้งตนทั้งผู้อื่น คือด้วยวิธีที่แต่ละคนตั้งใจปฏิบัติกรณียะ คือกิจของตน ควรทำหน้าที่เป็นตนให้ดี และด้วยความมีน้ำใจที่อดทน ไม่คิดเบียดเบียนใคร มีจิตเมตตา มีเอ็นดูอนุเคราะห์ เมื่อตั้งใจปฏิบัติกรณียะ กอปรด้วยมีน้ำใจดังกล่าว ก็ชื่อว่า รักษาตนทั้งผู้อื่น เป็นผู้รักษาไว้ได้ทั้งหมด"


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20131119/173068.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 'ญาณสังวร' แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (5)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2013, 08:01:47 pm »
0
เรื่องโพสต์ เยี่ยม ๆ แต่ไม่มีคนอ่าน วิเคราะห์ก็คือ ไม่มีใครไปแปะลิงก์ใน เฟคบุีค แบบเมื่อก่อน สาเหตุอาจจะเป็นเพราะพระอาจารย์อาพาธ ส่วนหนึ่ง

  st11 thk56
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ