
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ราชสูตรที่ ๑
[๔๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๘ ของปักษ์ เทวดาผู้เป็นบริวารของท้าวจาตุมหา ราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูล แก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ
.....ฯลฯ........
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากัน เสียใจว่า
ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเสื่อมหาย อสุรกายจักเต็มบริบูรณ์ ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มาก ท้าวจาตุ มหาราชย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกัน ณ สุธรรมาสภาว่า
ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่ สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแล เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากันดีใจว่า
ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเต็มบริบูรณ์ อสุรกายจักเสื่อมสูญ ฯที่มา etipitaka.com/compare?utf8=✓&lang1=thai&volume=20&p1=135&lang2=pali&commit=►#

พระไตรปิฎก ภาษาบาลี (ฉบับสยามรัฐ) เล่มที่ ๒๐
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๑๒ องฺคุตฺตรนิกายสฺส เอก-ทุก-ติกนิปาตา
[๔๗๖] อฏฺฐมิยํ ภิกฺขเว ปกฺขสฺส จตุนฺนํ มหาราชานํ อมจฺจา ปาริสชฺชา อิมํ โลกํ อนุวิจรนฺติ กจฺจิ พหู มนุสฺสา มนุสฺเสสุ เมตฺเตยฺยา เปตฺเตยฺยา สามญฺญา พฺรหฺมญฺญา กุเลเชฏฺฐาปจายิโน อุโปสถํ อุปวสนฺติ ปฏิชาคโรนฺติ ปุญฺญานิ กโรนฺตีติ ฯ
.....ฯลฯ........
เตน ภิกฺขเว เทวา ตาวตึสา อนตฺตมนา โหนฺติ ทิพฺพา วต โภ กายา ปริหายิสฺสนฺติ ปริปูเรสฺสนฺติ อสุรกายาติ ฯ
สเจ ปน ภิกฺขเว พหู โหนฺติ มนุสฺสา มนุสฺเสสุ เมตฺเตยฺยา เปตฺเตยฺยา สามญฺญา พฺรหฺมญฺญา กุเลเชฏฺฐาปจายิโน อุโปสถํ อุปวสนฺติ ปฏิชาคโรนฺติ ปุญฺญานิ กโรนฺตีติ ฯ
ตเมนํ ภิกฺขเว จตฺตาโร มหาราชาโน เทวานํ ตาวตึสานํ สุธมฺมายํ สภายํ สนฺนิสินฺนานํ สนฺนิปติตานํ อาโรเจนฺติ พหู โข มาริสา มนุสฺสา มนุสฺเสสุ เมตฺเตยฺยา เปตฺเตยฺยา สามญฺญา พฺรหฺมญฺญา กุเลเชฏฺฐาปจายิโน อุโปสถํ อุปวสนฺติ ปฏิชาคโรนฺติ ปุญฺญานิ กโรนฺตีติ ฯ
เตน ภิกฺขเว เทวา ตาวตึสา อตฺตมนา โหนฺติ ทิพฺพา วต โภ กายาปริปูเรสฺสนฺติ ปริหายิสฺสนฺติ อสุรกายาติ ฯที่มา etipitaka.com/compare?utf8=✓&lang1=thai&volume=20&p1=135&lang2=pali&commit=►#

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เทวทูตวรรคที่ ๔
๗. ราชสูตรที่ ๑
เทวดาชั้นดาวดึงส์
บทว่า เทวานํ ตาวตึสานํ ความว่า เทวดาทั้งหลายได้นามอย่างนี้ว่า (ดาวดึงส์) เพราะอาศัยเทพบุตร ๓๓ องค์ผู้เกิดครั้งแรก. ส่วนกถาว่าด้วยการอุบัติของเทวดาเหล่านั้น ได้อธิบายไว้แล้วอย่างพิสดารในอรรถกถาสักกปัญหสูตรในทีฆนิกาย.
บทว่า เตน คือ เพราะการบอกนั้น หรือเพราะมนุษย์ผู้ทำบุญมีน้อยนั้น.
บทว่า ทิพฺพา วต โภ กายา ปริหายิสฺสนฺติ ความว่า เพราะเทพบุตรใหม่ๆ ไม่ปรากฏ หมู่เทวดาก็จักเสื่อมสิ้นไป เทวนครกว้างยาวประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์ อันน่ารื่นรมย์ ก็จักว่างเปล่า.
บทว่า ปริปูริสฺสนฺติ อสุรกายา ความว่า อบาย ๔ จักเต็มแน่น.
ด้วยเหตุนี้ เทวดาชั้นดาวดึงส์จึงเสียใจว่า พวกเราจักไม่ได้เล่นนักษัตร ท่ามกลางหมู่เทวดาในเทวนครที่เคยเต็มแน่น.
แม้ในสุกปักษ์ก็พึงทราบความหมายโดยอุบายนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท ดังนี้ ทรงหมายถึงที่พระองค์เป็นท้าวสักกเทวราช. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอัธยาศัยของท้าวสักกะพระองค์หนึ่ง.
บทว่า อนุนยมาโน แปลว่า เตือนให้รู้สึก.
บทว่า ตายํ เวลายํ คือ ในกาลนั้น.ที่มา
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=476ขอบคุณภาพจาก
http://www.rueanthewalai.com/ ,
http://www.bloggang.com/ ,