ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'บวชนาคช้าง'สุรินทร์ ประเพณีที่ยิ่งใหญ่อลังการ  (อ่าน 1393 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'บวชนาคช้าง'สุรินทร์ ประเพณีที่ยิ่งใหญ่อลังการ
'บวชนาคช้าง'สุรินทร์ประเพณีที่ยิ่งใหญ่อลังการ : วิจิตร ชุณหกิจขจรรายงาน

สุรินทร์ได้รับการส่งเสริมให้เป็นจังหวัดท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของไทย โดยนอกจากจะมีงานแสดงช้าง ซึ่งเป็นงานประจำปีระดับชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกมานานแล้วยังมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ โบราณสถาน ประวัติศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรมมากมายที่เชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศให้มาเยี่ยมชม จ.สุรินทร์ ดินแดนแห่งอารยธรรมขอมที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมประเพณีอันหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทย, จีน, เขมร, ลาว, กวย, ที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืนจนกลายเป็นวิถีสุรินทร์ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ จ.สุรินทร์ ยังเป็นแหล่งที่มีการ “เลี้ยงช้างมากที่สุดในโลก” จนเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางในนาม “เมืองช้าง” และความโดดเด่นดังกล่าวได้นำมาสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวภายในจังหวัดอย่างต่อเนื่องยาวนาน


 ans1 ans1 ans1

“บวชนาคช้าง” เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ชาวสุรินทร์ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เมื่อลูกชายอายุครบ 20 ปี ก่อนมีเหย้ามีเรือน พ่อแม่ต้องบวชให้ลูกชายเพื่อศึกษาธรรมวินัยเสียก่อน การบวชของหนุ่มชาวกวยถือเป็นงานยิ่งใหญ่ของครอบครัว ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี เนื่องจากเชื่อว่า “วันเพ็ญเดือนหก” เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ, ตรัสรู้, ปรินิพพาน, ผู้ได้มาบูชาด้วยการปฏิบัติตามถือว่าได้เห็นพระพุทธเจ้า ชาย “ชาวกวย” ที่อายุครบบวชจะนัดกันไปบวชที่วัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม ในเวลาเดียวกัน

ก่อนวันบวชหนึ่งวัน “นาค” แต่ละหมู่บ้านจะจัดขบวนแห่ที่มีช้างร่วมขบวนจำนวนมาก โดยเชื่อว่าการบวชนี้ถ้าจะให้ได้บุญมากต้องนั่งช้างแล้วแห่ไปเป็นระยะทางไกลๆ และมีผู้คนร่วมขบวนแห่นาคจำนวนมากแห่มารวมกันที่วังทะลุริมแม่น้ำมูล เพื่อทำพิธีเซ่นศาลปู่ตาและขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือพร้อมประกอบพิธีอุปสมบทบริเวณ “ดอนบวช” ซึ่งเป็นเนินดินกลางแม่น้ำที่เกิดจากน้ำจากลำน้ำชีไหลมาบรรจบแม่น้ำมูล ทำให้เกิดวังน้ำวนและเนินดินกลางแม่น้ำ ชาวบ้านเรียกว่า “สิมน้ำ” และเรียกติดปากว่า “ดอนบวช” กระทั่งปัจจุบัน


 :96: :96: :96:

นายกิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ นายกอบจ.สุรินทร์ บอกว่า ได้อนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมประเพณีบวชนาคช้างให้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้ได้ชมประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม สามารถสื่อให้เห็นว่าเป็นถิ่นที่มีช้างมากที่สุดในโลก จึงร่วมมือกับ จ.สุรินทร์ ททท. องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ อ.ท่าตูม สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.สุรินทร์ อบต.กระโพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดงานประเพณีบวชนาคช้างขึ้นทุกปี โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกิจกรรมก่อให้เกิดความรักและความภาคภูมิใจ รวมทั้งสร้างแรงกระตุ้นให้ชุมชนช่วยกันรักษาคุณค่าวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามในท้องถิ่นต่อเนื่องและยั่งยืน

ซึ่งกิจกรรมปีนี้มี 3 วัน เริ่มจากวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 พิธีโกนผมนาค ที่วัดแจ้งสว่าง พิธีสู่ขวัญนาคหมู่แบบชาวกวย วันที่ 12 พฤษภาคม 2557 ชมขบวนแห่นาคด้วยช้างร้อยเชือกอันยิ่งใหญ่ตระการตา เริ่มต้นจากศูนย์คชศึกษาไปยังดอนบวช (วังทะลุ) ชมพิธีเซ่นไหว้และขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลปู่ตาณวังทะลุ บริเวณที่ลำน้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูล และวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 พิธีอุปสมบทหมู่ ณ วัดแจ้งสว่าง


 st12 st12 st12

พุทธศาสนิกชนท่านใดที่มีลูกชายอายุครบบวชสมัครร่วมกิจกรรมได้ “ฟรี” หรือท่านใดที่มีจิตศรัทธาอยากร่วมเป็นเจ้าภาพบวชนาคช้างครั้งนี้ก็แจ้งความจำนงได้ที่ อบจ.สุรินทร์ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักปลัด อบจ.สุรินทร์ โทร.0-4451-1975, และเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่สนใจศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวกวยเลี้ยงช้างสุรินทร์ ได้เที่ยวชมงานประเพณีบวชนาคช้างได้ระหว่างวันที่ 11-13 พฤษภาคม 2557 ณ ศูนย์คชศึกษา หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140505/184072.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ