ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิชาวบ้าน : จิตที่เท่าทันทุกข์  (อ่าน 2290 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สมาธิชาวบ้าน : จิตที่เท่าทันทุกข์
« เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 09:52:54 am »
0


สมาธิชาวบ้าน : จิตที่เท่าทันทุกข์

การฝึกจิตนั้นฝึกไปก็เพื่อให้รู้ความจริงที่หลุดพ้น บางคนฝึกไปแค่เพื่อประโยชน์โลก มองไม่ไกล พอมองแค่ประโยชน์โลก มันมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย ฝึกสมาธิไปอาจจะแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ไม่ได้ เพราะปัญญายังไม่เท่าทัน การที่กิเลสบางตัวที่เราเคยคิดว่าเราสามารถปราบมันได้ราบคาบแล้ว แต่กิเลสตัวนี้กลับมาเกิดขึ้นในจิตใจอีกครั้งนั้น ก็เป็นเพราะว่าเราไปข่มเจ้ากิเลสตัวนี้ไว้ให้มันสงบ กิเลสตัวนี้ไม่สูญสิ้นไปไหนแต่อย่างใด แต่ถูกข่มเอาไว้

    แต่ถ้ารู้เท่าทันมันด้วยปัญญา กิเลสอันใดก็ตามที่สูญสิ้นด้วยปัญญาแล้ว จะไม่มีวันกลับมาทำร้ายเราได้อีก
การที่สามารถบังคับให้กิเลสให้สงบได้ ไม่ได้หมายความว่ากิเลสนั้นจะหมดไป กิเลสตัวนั้นยังไม่สิ้นเชื้อ จิตที่ยังไม่สิ้นเชื้อ อีกไม่นานกิเลสก็จะกลับมาอีก แต่ถ้าเท่าทันด้วยปัญญา จิตจะถอดความนึกคิด ความรู้สึกเป็นชิ้นๆ หมดแล้ว จิตจะพ้นจากกิเลสนั้นอย่างเด็ดขาด ข่มหรือกดทับกิเลสไม่ได้ผิดแต่อย่างใด เพราะพิจารณาได้ว่ากิเลสที่ว่านั้น เมื่อเกิดในตัวเรามันส่งผลร้ายอะไรในชีวิตเราบ้าง ถ้ามีผลร้ายเกิดขึ้นก็ขอให้กดทับเจ้ากิเลสตัวนี้ไว้ให้สงบไปก่อน แล้วเฝ้าพิจารณาเจ้ากิเลสตัวนั้นอยู่เรื่อยๆ


     ans1 ans1 ans1

    แล้วจะมีปัญญาเท่าทันเห็นกิเลสต่างๆ ที่เข้ามาพัวพันไปในที่สุด ถ้าเราเฝ้ามองพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เจ้ากิเลสต่างๆ ที่เคยว่องไว เราก็จะเห็นมันช้าลงเรื่อยๆ กิเลสตัวนี้ออกไป กิเลสตัวใหม่เข้ามา ถ้าเรามองจนเห็นกิเลสทำงานช้าลงๆ

    กิเลสตัวไหนๆ ก็ไม่สามารถทำร้ายเราได้ เพราะการวิปัสสนา พิจารณาสิ่งต่างๆ ก็เป็นประโยชน์ เพราะอย่างน้อยเราก็เห็นกิเลส แม้ว่าจะยังไม่หลุดพ้นมันก็ตาม

     :s_hi: :s_hi: :s_hi:

    เมื่อไรก็ตาม ที่เราเริ่มต่อสู้กับกิเลสก็จะมีบททดสอบมาในรูปแบบต่างๆ เป็นการทดสอบความละเอียดในจิตของเรา เช่น อารมณ์โกรธ อารมณ์อิจฉาริษยา มันจะเป็นอารมณ์ละเอียดที่มาทดสอบนักปฏิบัติ มันจะทดสอบในเรื่องง่ายๆ เช่น อยาก ไม่อยาก เพื่อดูว่าจิตที่ฝึกแล้วมีความมั่นคงดีไหม เราสำเร็จข้อธรรมไหนก็จะมีบททดสอบนั้นๆ ตามมา

    เมื่อไรที่ผู้ปฏิบัติได้ข้อธรรม พบภูมิธรรม เมื่อนั้นกิเลสจะเข้ามาทดสอบจิตเราอย่างหนักทันที จิตที่ฝึกแล้ว จิตจะเห็นจังหวะที่จิตมันโดนดึงลงต่ำ ถ้าจิตถูกดึงไปได้ก็เกิดอวิชชาครอบงำ



    ถ้าจิตไม่ผ่านฝึกจิตศึกษาธรรมะมาเลยจะไม่เห็นความรู้สึกตัวนี้ ความรู้สึกที่เรามองเห็นกิเลสช้าลงเรื่อยๆ จะไม่เห็นอีกด้านของความคิด ว่าในความโกรธนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และดับความโกรธนั้นได้อย่างไร

    จะเห็นความคิด อารมณ์ ความรู้สึกแต่เพียงมิติเดียว และถ้าหนักกว่านั้นจะไม่เห็นความคิดและอารมณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อยเลย การฝึกจิตก็เหมือนคนดูละคร ถ้าไม่ฝึกให้ดูในมุมอื่น พอเขาเล่นให้ตลกก็หัวเราะ พอเขาเล่นให้เศร้าก็ร้องไห้

    ถ้าฝึกให้ดูในมุมอื่นมันจะเห็นอีกแบบหนึ่ง แต่จะไม่ใช่ที่เขาแสดงให้เราดู มันจะเห็นอีกอย่างหนึ่ง ว่าคนนี้แสดงดี ทำให้เราหัวเราะได้ ทำให้เราร้องไห้ได้ แต่จริงๆ แล้วความรู้สึก อารมณ์ที่เรารู้สึกไปกับการแสดงนั้น มันไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริง เป็นอารมณ์ถูกปรุงให้เรารู้สึก ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกจริงๆ ของเราแม้แต่น้อย


     :25: :25: :25:

    ถ้ามองทะลุทุกมิติความคิดแล้ว กิเลส ทุกข์ อารมณ์ต่างๆ มันยังมีอยู่ แต่เราไม่ไปทุกข์กับมัน ไม่ไปรู้สึกกับมัน จิตเมื่อถึงขั้นนี้ก็จะทุกข์น้อยลง

    ชีวิตจะหมดทุกข์ก็ต่อเมื่อจิตเข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน การทำสมาธิก็ง่ายๆ เพียงกำหนดใจให้นิ่ง ไม่ไปคิดเรื่องอื่น พอใจมันนิ่งไปได้ระดับหนึ่ง มนุษย์แต่ไหนแต่ไรมาก็ฝึกจิตมาอย่างนี้ทั้งนั้น.



ที่มา http://www.thaipost.net/tabloid/010614/91056
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ