ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ภูพระบาท' ประวัติศาสตร์ ทรารวดี ถึง ล้านช้าง  (อ่าน 1870 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29345
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'ภูพระบาท' ประวัติศาสตร์ ทรารวดี ถึง ล้านช้าง
ชวนเที่ยว : ภูพระบาท ประวัติศาสตร์ทรารวดีถึงล้านช้าง : เรื่อง / ภาพ...นพพร วิจิตร์วงษ์

จังหวัดอุดรธานี จากชื่อชั้นของเมืองที่เป็นประตูไปสู่อีสานตอนบน เริ่มโด่งดัง มีชื่อเสียงเรื่องแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ยูเนสโกจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์เมื่อปลายปี 2535 รวมถึงเป็นเมืองที่มีเรื่องเล่าตามความเชื่อ ว่าเป็นปากเมืองบาดาลที่เชื่อมต่อระหว่างพญานาคกับโลกมนุษย์ที่ คำชะโนด อ.บ้านดุง และที่นี่ยังจัดชื่อชั้นเป็นเมืองแห่งความรักในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่มีทะเลบัวแดงสวยงามกวางสุดหูสุดตา อยู่ที่หนองหานกุมภวาปี จนกลายเป็นสถานที่ยอดฮิตของคู่รัก ที่จะพายเรือท่องทะเลบัวแดง
 
ขณะเดียวกัน ที่นี่ยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคทราราวดี จนถึงล้านช้าง ที่มีร่องรอยของหลักฐานอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อยู่ที่ อ.บ้านผือ รวมถึงการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นอยุ่ของผู้คนสมัยนั้น ผ่านทางภาพเขียนสี 
 
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขือน้ำ บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ  โดยที่ตั้งอุทยานประวัติศาตร์แห่งนี้ อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีไปประมาณ 67 กม.
 


อุทยานประวัติศาสตร์ ปรากฎร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 3,000 - 2,000 ปีมาแล้ว มีการพบภาพเขียนสีมากกว่า 30 แห่ง ที่กระจายอยู่ตามโขดหินต่างๆ ที่สันนิษฐานว่าเมื่อก่อนเป็นถ้ำที่พักอาศัย โครงสร้างส่วนใหญ่ของโขดหินต่างๆ ในบริเวณเป็นหินทราย ที่ถูกกัดกร่อนไปตามธรรมชาติ ทำให้มีรูปทรงต่างๆ  และยังพบว่า มีการดัดแปลงโขดหินและเพิงผาธรรมชาติให้กลายเป็นศาสนสถานของผู้คนในสมัยประวัติศาสตร์ ช่วงรับวัฒนธรรมทรารวดี ลพบุรี มาจนถึงวัฒนธรรมล้านช้าง เมื่อราว 1,200-300 ปีมาแล้ว
 
ซึ่งร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากรจึงดำเนินขอใช้พื้นที่ป่าสงวนจำนวน 3,430 ไร่ จากกรมป่าไม้แล้วประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถาน เมื่อ 28 เมษายน 2524 แล้วจึงพัฒนาเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อม และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
 
 :49: :49: :49:

อุทยานแห่งชาติภูพระบาท เที่ยวได้ทั้งปีขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศ สีสันแต่ละฤดูกาลก็แตกต่างกันไป จะดูร้อนแล้งมากๆ ก็ช่วงหน้าร้อน ที่ควรต้องพกหมวก พกร่มไปด้วย หรือให้ดีก็ไปช่วงเช้าหรือช่วงเย็น แต่ถ้าเป็นฤดูกาลอื่น ก็จะได้ผืนป่าเขียวๆ คืนมา
 
ในบริเวณของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จะมีศูนย์บริการข้อมูล และห้องนิทรรศการอยู่ด้านหน้า ซึ่งผู้ที่ไปเที่ยวน่าจะมีโอกาสเดินเข้าไปชมภายใน ก็จะทำให้ทราบเรื่องราวของสถานที่มากขึ้น โดยภายในจะมีโบราณวัตถุที่ค้นพบมาตั้งแสดงให้ดู หรือบางชิ้นก็ทำจำลองขึ้นมา รวมถึงมีรายละเอียดอันเกี่ยวเนื่องกับนิทานพื้นบ้าน "นางอุสา-ท้าวบารส" ซึ่งเกิดขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้ด้วย

 

เรื่องเล่ามีอยู่ว่า พระยาพานผู้ครองเมืองพาน ซึ่งอยู่บริเวณภูพระบาท ได้ไปขอนางอุสาที่เกิดจากดอกบัวในสระบนเทือกเขาจากฤาษีจันทา มาเลี้ยงเป็นราชธิดาบุญธรรม นางอุสามีความงามเป็นเลิศและมีกลิ่นกายหอมกรุ่น พระยาพานจึงหวงแหนมาก ไม่ยอมยกให้บรรดาเจ้าชายต่างเมืองที่มาสู่ขอ และได้สร้างหอสูงให้นางอุสาอาศัยขณะมาเรียนวิชากับฤาษีจันทา 
 
ต่อมานางอุสาได้ร้อยดอกไม้เป็นรูปหงส์ ลอยไปตามน้ำพร้อมคำเสี่ยงทายคู่ ปรากฏว่า "ท้าวบารส" โอรสแห่งเมืองพระโค เป็นผู้เก็บได้และนึกรักใคร่ จึงออกตามหามาถึงเมืองพาน ระหว่างทางได้พักและผูกม้าไว้ที่คอกม้าท้าวบารส กระทั่งมาพบและอยู่กินกับนางอุสา   
 
 :96: :96: :96:

เมื่อพระยาพานทราบข่าวก็โกรธมาก ได้ท้าพนันสร้างวัดแข่งกัน คือวัดพ่อตาและวัดลูกเขย ใครสร้างไม่เสร็จก่อนดาวประกายพฤกษ์ขึ้นจะต้องถูกประหาร พี่เลี้ยงนางอุสาได้ออกอุบายให้คนนำโคมไฟไปแขวนไว้ที่ยอดไม้ พระยาพานจึงเข้าใจผิดคิดว่าดาวประกายพฤกษ์จึงยุติการสร้างและเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถูกประหารชีวิต
 
หลังจากท้าวบารสพานางอุสากลับไปเมืองพะโค นางอุสาก็ถูกชายาของท้าวบารสที่มีอยู่เดิมรังแก และเมื่อท้าวบารสออกประพาสป่า นางอุสาถูกกลั่นแกล้งจนทนไม่ไหวต้องหนีกลับมาที่หอนางอุสาด้วยความผิดหวัง และตรอมใจตายด้วยความเศร้าโศกเสียใจ ฝ่ายท้าวบารสเมื่อทราบเรื่อง ก็ติดตามนางอุสามายังเมืองพาน เห็นนางอุสาสิ้นใจก็ตรอมใจตามไปอีกคน
 
รู้เรื่องรักแท้นี้แล้ว พอออกเดินตามสถานที่จริง ก็ยิ่งซึมซับ และสนุกกับเส้นทางมากขึ้น เหมือนเดินตามรอยของท้าวบารสและนางอุสาในอดีต

 

จากจุดจำหน่ายตั๋ว จะเป็นทาง 3 แยก มีป้ายบอกเส้นทางให้เลือกเดินว่าจะไปทางไหนก่อน ระยะเวลาเดินเป็นวงกลมมีทั้งรอบเล็ก รอบใหญ่ ใช้เวลาตั้งแต่ 45 นาที - 2 ชั่วโมง โดยจุดที่เป็นไฮไลน์ จะอยู่ที่ราวๆ 19 จุด โดยแต่จะจุดจะมีป้ายสื่อความหมาย และป้ายบอกทางไปยังจุดต่อไป ยกเว้นในจุดที่อยู่ห่างไกล คือโนนสาวเอ้ ที่อยู่ในเส้นทางฉีกออกไปด้านตะวันออก กับกลุ่มโบราณสถานที่อยู่ทางตะวันตก ไกลออกไป คือ ถ้ำพระเสี่ยง ที่ไกลสุด 1,920 เมตร รวมถึง เจดีย์ร้าง และถ้ำดินเพียง ที่อยู่ในเส้นทางนั้น จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่นำทางเพื่อความปลอดภัย 
 
โขดหินหรือเพิงหินในอุทยานประวัติศาสตร์ มีรูปทรงต่างๆ  เริ่มตั้งแต่ คอกม้าน้อย ที่จะอยู่ใกล้สุด รูปร่างเหมือนดอกเห็น ตรงนี้เป็นเพิงหิน ที่มีการสกัดแต่งเป็นที่นั่งวิปัสสนา มีใบเสมาปักโดยรอบ ซึ่งก็จะคล้ายๆ กับกลุ่มหินอื่นๆ ที่มีเชื่อว่าเป็นศาสนสถานก็จะมีใบเสมาโดยรอบ คอกม้าน้อยได้ชื่อตามตำนานเรื่องนางอุสา ท้าวบารสโดยจุดนี้เป็นสถานที่ผูกม้าของบริวารท้าวบารส 
 
 :49: :49: :49:

เลยไปไม่ไกล จะเป็นเพิงหินที่ใหญ่กว่าคอกม้าน้อย เรียกว่า คอกม้าท้าวบารส ตรงนี้มีการสกัดหินเรียบแต่งเป็นที่นั่งวิปัสสนา และที่อยู่อาศัย มีร่องรอยการทำเสาลูกกรงล้อมรอบ ป้องกันสัตว์ร้าย โดยตามตำนานว่า ที่นี่ล่ะ คือที่ผูกม้าของท้าวบารส เลยไปอีกเป็น ถ้ำฤาษี ถ้ำวัว ถ้ำคน โดยเฉพาะถ้ำวัวและถ้ำคน จะมีภาพเขียนสีอายุอานามก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ทั้งรูปคนเดี่ยวๆ และเป็นกลุ่ม ซึ่งภาพเขียนสีเหล่านี้จะมีคำเตือน ห้ามจับต้อง ก็ควรปฎิบัติตามข้อห้ามนั้น เพื่อหลักฐานทางประวัติศาสตร์นี้จะได้อยู่ไปอีกนานๆ
 
โขดหินแต่ละก้อน เพิงแต่ละเพิง มองด้านหนึ่งอาจเห็นเป็นรูปหนึ่ง แต่พอเดินเลยไปมองอีกด้าน เราก็อาจจะเห็นหินก้อนนั้นเปลี่ยนไป

 

ส่วนเป็นไฮไลน์ และเป็นเอกลักษณ์ของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ก็คือ หอนางอุสา ลักษณะเป็นโขดหินสูงราว 10 เมตร ด้านบนเซาะเป็นห้อง มีหน้าต่าง ทางขึ้นเป็นบันไดนั้น ได้นำออกไปแล้ว ป้องกันคนปีนขึ้นไป ที่ฐานของหอนางอุสา สังเกตดูจะเหมือนมีรอยเคลื่อนของหิน บริเวณใกล้กันก็จะมีหินเป็นรูป หีบศพพ่อตา หีบศพเท้าบารส และหีบศพนางอุสา
 
เลยไปไม่ไกลเป็น ถ้ำพระ เป็นเพิงหินที่สกัดหินก้อนล่างจนเป็นแกนคล้ายเสา ค้ำยันเพิงหลังคาด้านบนไว้ รอบแกนมีประติมากรรมนูนสูงเป็นพระพุทธรูปเรียงกันในท่านั่งและยืน บางรูปประทับในซุ้ม มีอยู่รูปหนึ่งเป็นบุคคลแต่งกายแบบศิลปะเขมร สันนิษฐานว่าเป็นพระโพธิสัตว์
 
นอกจากนี้ ไม่ไกลกัน เป็นลานหิน มีหลุมเล็กๆ ล้อมเชือกกั้นไว้ ห้ามคนเข้าไป เชื่อว่าเป็นจุดที่ใช้สำหรับทำพิธีสำคัญทางศาสนา ที่น่าจะเชื่อมโยงกับดองอาทิตย์หรือดวงจันทร์

 

ใครมีเวลาเต็มๆ ลองไปเดินทอดน่องท่องประวัติศาสตร์แห่งยุคสมัย ผ่านเพิงหินแต่ละจุด ต้องทั้งทึ่ง ทั้งอึ้ง กับความสามารถของผู้คนในอดีตจริงๆ 
 
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท  เปิดบริการ 08.00-17.00 น.
ค่าธรรมเนียมเข้าชม คนไทย 20 บาท, ต่างชาติ 100 บาท

 
ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140608/186079.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 'ภูพระบาท' ประวัติศาสตร์ ทรารวดี ถึง ล้านช้าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 11:24:08 pm »
0
ยอดเยี่ยม gd1
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 'ภูพระบาท' ประวัติศาสตร์ ทรารวดี ถึง ล้านช้าง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2014, 08:48:29 am »
0
 st11 thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ