ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'หมู่บ้านสรรโวทัย' ต้นแบบหมู่บ้านศีล 5 วิถีปรองดอง  (อ่าน 1696 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'หมู่บ้านสรรโวทัย' ต้นแบบหมู่บ้านศีล 5 วิถีปรองดอง
 
สำราญ สมพงษ์ : รายงาน

ช่วงที่คสช.เข้ามาปรับโครงสร้างทางสังคมและการเมืองใหม่ หวังสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติจึงมีกิจกรรมคืนความสุขให้กับประชาชนผ่านมาหลายเพลาแล้ว

ขณะเดียวกันคณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคม(มส.)ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยใช้ศีล 5 เป็นเครื่องมือ จึงเกิดโครงการ "หมู่บ้านรักษาศีล 5" ขึ้นตามดำริของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะประธานกรรมการ มส.  โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)ก็ได้มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัดและกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาทั่วประเทศดำเนินการขณะนี้ก็อยู่ในช่วงของการประชุมทำความเข้าใจในเว็บไซต์พศ.จะมีการแพร่กิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ด้านมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร ครั้ง ที่ 1 เรื่อง "พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคม" ประจำปีการศึกษา 2557 ในวันที่ 23 - 24 กรกฏาคมนี้ที่ผ่านมาโดยมีการเสนอบทความผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันคือพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมหลายบทความด้วยกัน


 :49: :49: :49:

หนึ่งในจำนวนนั้นคือบทความเรื่อง "สันติพัฒนา : พุทธทัศน์ทางเลือกเพื่อการพัฒนาสันติสุขในสังคมไทย" นำเสนอโดยดร.อุทัย สติมั่น อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาหลักสูตรสันติศึกษาปริญญาโท มจร

อาจายร์ดร.อุทัยได้นำเสนอแนวทางของการสร้างความปรองดองสันติพัฒนาในมุมมองของขบวนการสรรโวทัยว่า แนวคิดเรื่องสรรโวทัยซึ่งมาจากมหาตมะคานธี คำว่าสรรโวทัย มาจากคำว่า "สรรพ"  ที่แปลว่าทั้งปวง กับคำว่า "อุทัย"  ที่แปลว่าการตื่นขึ้นดังนั้นคำว่าสรรโวทัยจึงหมายถึงการตื่นขึ้นจากอวิชชาและความหลุดพ้นจากความทุกข์ความยากจนของคนศรีลังกาทั้งหมดขบวนการสรรโวทัย เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1958   ผู้ก่อตั้งขบวนการสรรโวทัยคือ เอ ที อริยรัตเน (A.T.Ariyaratne) ได้ผสมผสานแนวคิดของคานธี เข้ากับแนวคิดชาวพุทธ

โดยอริยรัตเนมีทัศนะว่า สำหรับมุมมองของชาวพุทธ ความทุกข์แสดงถึงสภาพความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ส่วนคานธีมองว่า ความทุกข์มีสาเหตุมาจากโครงสร้างและสังคมซึ่งจะหมดไปหากได้รับการปลดปล่อย การผสมผสานแนวคิดทั้งสองนี้เองได้กลายเป็นยุทธศาสตร์ของขบวนการสรรโวทัย นั่นคือ "การตื่นของทุกคน" ในมุมมองของสรรโวทัย เรื่องต่าง ๆ นั้นมีปัญหาเดียวกันคือ ความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ฝังแน่นในระบบชนชั้นสังคมในปัจจุบัน ทางแก้ปัญหาคือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางจิตใจหรือ "การตื่นของทุกคน"  ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานพลังของประชาชนและชนชั้นสังคมแบบสรรโวทัยซึ่งเป็น สังคมธรรม ที่เรียกว่า "หมู่บ้านสรรโวทัย"  หรือ "คาโมทัย"

 :96: :96: :96:

โดยเป็น "สังคมวางอยู่บนค่านิยมทางด้านจิตใจและประเพณี เป็นสถานที่ซึ่งผู้คนสามารถมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์ และแต่ละคนสามารถมีโอกาสที่จะตื่นหรือพัฒนาตนไปสู่จุดสูงสุด"  เป็น "สังคมที่ระบุคุณค่าวางอยู่บนความจริง การปราศจากความรุนแรง และการปฏิเสธด้วยตนเอง… สังคมที่ไม่มีความจนและไม่มีความรวย" สังคมที่ "มีอิสรภาพและตื่น ซึ่งหมายถึงการมีความสุขและสันติภาพ"  จินตภาพนั้นได้ขยายไปสู่อนาคตที่สังคมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม วางอยู่บนประเพณีทางศาสนาที่หลากหลายของประเทศ

ขณะเดียวกันมีการปกป้องและทะนุถนอมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอริยรัตเนได้ชี้ให้เห็นว่าปัญหาของสังคมนั้นมีทั้งในระดับบุคคลและในระดับโครงสร้างสังคม การแก้ปัญหาจึงต้องทำทั้งในระดับบุคคลและสังคม

สรรโวทัยชี้ให้เห็นคู่อิสรภาพที่ทุกคนจะต้องพยายามเพื่อให้ได้มา อิสรภาพประการแรก คือในจิตใจของตนเอง … ที่มีจุดด่างพร้อยที่ทุกคนจะต้องสำนึกรู้และพยายามชะล้างให้สะอาด อิสรภาพประการที่สองคือทุกคนจะต้องสำนึกรู้ว่ามีสายโซ่ทางสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่ยุติธรรมและไร้ความชอบธรรม ซึ่งกดให้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นทาส


 ans1 ans1 ans1

สรรโวทัยได้วิเคราะห์วิถีการตื่นของหมู่บ้านด้วยอริยสัจ 4 ในเชิงสังคมว่า

1) ทุกข์ : ตัวปัญหา คือความเสื่อมโทรมของหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในสภาพที่เป็นระบบแห่งเหตุและปัจจัย ที่เริ่มด้วยความเห็นแก่ตัว นำไปสู่การหวงแหน การแข่งขัน ความเกลียด การใช้วาจารุนแรง การกระทำที่ทำลายความไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งนำไปสู่ความเห็นแก่ตัวมากขึ้น

2) สมุทัย : สาเหตุของปัญหา คือ ระบบแห่งเหตุและปัจจัยที่เริ่มด้วยอวิชชา นำไปสู่ความยากจน การทำงานที่ส่งผลร้าย เชื้อโรค การกดขี่เอาเปรียบ การแตกสามัคคี ความเฉื่อยชา ซึ่งนำไปสู่อวิชชามากขึ้น

3) นิโรธ : ความหวังในการแก้ปัญหาหรือเป้าหมาย คือระบบแห่งเหตุและปัจจัย ที่เป็นวงจรทวนกระแสกับปัญหา โดยเริ่มด้วยความไม่เห็นแก่ตัว เป็นปัจจัยให้เกิดการแบ่งปันร่วมกัน ความร่วมมือความรัก ปิยวาจา การทำงานที่มีประโยชน์ ความเท่าเทียมกัน นำไปสู่ความไม่เห็นแก่ตัวยิ่งขึ้น

4) มรรค : วิถีสู่ความหวัง คือจุดเริ่มต้นในระบบแห่งเหตุและปัจจัย ที่เริ่มต้นด้วยการกระตุ้นให้ชาวบ้านเข้าใจวิสัยทัศน์แบบสรรโวทัย เป็นปัจจัยให้เกิดจิตสำนึกในหน้าที่ที่จะมีความเป็นเอกภาพทางด้านจิตวิทยา เพื่อไปสู่เป้าหมายด้วยวิธีการพัฒนาเชิงองค์กร ในลักษณะการปฏิบัติและวางแผนโครงการด้วยบุคลากรในหมู่บ้านตนเอง และเริ่มการพัฒนาด้วยระบบการศึกษาเป็นลำดับแรก แล้วจึงตามด้วยด้านสุขภาพ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ เพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์สรรโวทัยอย่างแท้จริง (อุทัย สติมั่น,2551)

 :25: :25: :25:

การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของสังคมจึงเป็นความท้าทายที่สำคัญซึ่งผู้เขียนเห็นว่าหลักการทางพระพุทธศาสนานั้นสามารถนำมาเป็นกรอบคิดและประยุกต์ใช้แก้ปัญหาสังคมได้ดังปรากฏตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศศรีลังกา

นอกจากนี้ในบทความดังกล่าวอาจารย์ดร.อุทัยยังได้นำมุมมองสันติพัฒนาของของพุทธทาสภิกขุ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)   และท่านติช นัท ฮันห์ พระมหาเถระในพุทธศาสนามหายานนิกายเซน ชาวเวียดนาม แห่งหมู่บ้านพลัมอีกด้วย


 st12 st12 st12

อาจารย์ดร.อุทัยสรุปว่า แนวคิดสันติพัฒนาเป็นแนวคิดทางเลือกที่มุ่งแสวงหาแนวทางประยุกต์หลักการทางพระพุทธศาสนามาใช้ในสังคมไทย  เพื่อนำสังคมไปสู่ความดีงามความถูกต้องตามหลักการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังตัวอย่างของขบวนการสรรโวทัย เลือกที่จะปลุกให้ทุกคนตื่นขึ้นมาช่วยเหลือตัวเอง และขยายต่อสังคม หลักการปลุกให้ตื่นนี้สอดคล้องกับหลักธรรมหลายข้อในพระพุทธศาสนา

เช่น หลักตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หรือการให้ทำตนเป็นเกาะ ทำตนให้เป็นที่พึ่ง  แม้กระทั่งชื่อของพระพุทธศาสนา ก็หมายถึง ศาสนาแห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เหล่านี้ถือเป็นความชาญฉลาดของท่านอริยรัตเนที่สามารถนำแก่นของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ดำเนินการขับเคลื่อนตนเองและสังคมได้  รวมถึงแนวของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้เสนอแนวคิดตรีสากล พุทธทาสภิกขุ ได้เสนอแนวคิด ตรีปณิธาน  และท่านติช นัท ฮันห์ ได้เสนอแนวคิดการอบรมสติ 5 ประการ แนวคิดเหล่านี้จะสามารถพัฒนาให้สังคมเกิดสันติสุขได้อย่างยั่งยืน


ขอบคุณภาพจาก travelsleeper.blogspot.com และ
ข้อมูลประกอบ http://www.komchadluek.net/detail/20100603/61454/ดร.เอทีอริยรัตนะกับ...พุทธธรรมนำการพัฒนาในศรีลังกา.html
ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20140731/189264.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ