ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นครคีรีวัน นครบาลี อชฺชตคฺเค และอรรถของ อคฺค ศัพท์  (อ่าน 2494 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คีรีวัน มารัญชยะ
เกี่ยวกับ อชฺชตคฺเค และอรรถของ อคฺค ศัพท์
______________________________________________
อคฺคสทฺโท อาทิโกฏิโกฏฺฐาสเสฏฺเฐสุ ทิสฺสติ.
๏ อคฺค ศัพท์ใช้ในอรรถว่า เบื้องต้น, แรก, ก่อน (อาทิ) ที่สุด, ปลาย, ยอด (โกฏิ) ส่วน (โกฏฺฐาส) และ ประเสริฐ, เลิศ (เสฏฺฐ)
(ตัวอย่าง)
1) อชฺชตคฺเค สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวารํ นิคณฺฐานนฺติอาทีสุ หิ อาทิมฺหิ ทิสฺสติ.
๏ ก็ อคฺค ศัพท์ใช้ในอรรถว่า เบื้องต้น ในตัวอย่างเช่น อชฺชตคฺเค ฯเปฯ ทฺวารํ นิคณฺฐานํ “แน่ะนายประตูผู้สหายเอ๋ย จำเดิมแต่ (ตั้งแต่, แรกแต่, นับแต่) วันนี้ไปเราจะปิดประตูสำหรับนิครนถ์ทั้งหลาย"
2) เตเนว องฺคุลคฺเคน ตํ องฺคุลคฺคํ ปรามเสยฺย, อุจฺฉุคฺคํ เวฬคฺคนฺติอาทีสุ โกฏิยํ.
๏ ใช้ในอรรถว่า ที่สุด, ปลาย, ยอด เช่น “พึงถูกต้องปลายนิ้วมือ (องฺคุลคฺค) ด้วยปลายนิ้วนั้นแหละ” (และ) ว่า “ยอดอ้อย, ยอดไผ่”
3) อนุชานามิ ภิกฺขเว อมฺพิลคฺคํ วา มธุรคฺคํ วา ติตฺตกคฺคํ วา วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน วา ภาเชตุนฺติอาทีสุ โกฏฺฐาเส.
๏ ใช้ในอรรถว่า ส่วน เช่น “ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเพื่อให้แบ่งส่วนเปรี้ยว (อมฺพิลคฺค) ส่วนหวาน (มธุรคฺค) หรือส่วนขม (ติตฺตกคฺค) โดยส่วนแห่งวิหารหรือโดยส่วนแห่งบริเวณ"
4) ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา อปทา ฯเปฯ ตถาคโต เตสํ อคฺคมกฺขายตีติอาทีสุ เสฏฺเฐ.
๏ ใช้ในอรรถว่า ประเสริฐ, เลิศ เช่น “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้า ฯลฯ บรรดาสัตว์เหล่านั้น ตถาคตย่อมปรากฏว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด”
(ข้อความจากอรรถกถาภยเภรวสูตร)
อิธ ปนายํ อาทิมฺหิ ทฏฺฐพฺโพ.
๏ ก็ อคฺค ศัพท์ในคำว่า อชฺชตคฺเค นี้พึงทราบว่าใช้ในอรรถว่า เบื้องต้น
ตสฺมา อชฺชตคฺเคติ อชฺชตํ อาทึ กตฺวาติ เอวเมตฺถ อตฺโถ เวทิตพฺโพ.
๏ เพราะฉะนั้นพึงทราบอธิบายในคำนี้อย่างนี้ว่า คำว่า อชฺชตคฺเค หมายถึง กระทำความมีในวันนี้ให้เป็นต้น (นับแต่วันนี้เป็นต้นไป)
อชฺชตนฺติ อชฺชภาวํ.
๏ บทว่า อชฺชตํ ได้แก่ อชฺชภาวํ (ภาวะในวันนี้)
อชฺชทคฺเคติปิ ปาโฐ. ทกาโร ปทสนฺธิกโร.
๏ ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้บ้าง ท อักษรทำการเชื่อมบท
อชฺช อคฺคํ กตฺวาติ อตฺโถ.
๏ อธิบายว่า กระทำในวันนี้ให้เป็นต้น
(สรุป)
1) คำว่า อชฺชตคฺค มาจาก อชฺชตา+อคฺค (อชฺชตา = อชฺชภาว)
2) เป็นรูปว่า อชฺชทคฺค ก็มี (อชฺช+ท อาคม+อคฺค)
3) ไวยากรณ์บาลีบางเล่มเช่น ปทรูปสิทธิ เป็นต้น กล่าวต่างไปจากนี้คือ อชฺช+ต อาคม+อคฺค

 ท อักษรในคำว่า สทตฺถปสุโต สิยา แปลงมาจาก ก (สก) ไม่ใช่ ท อาคม


นายพระยา ฤทธิภักดี อาจารย์ช่วยอธิบาย อนมตคฺค ให้หน่อยครับ


คีรีวัน มารัญชยะ ส่วน อคฺค ศัพท์ในคำว่า ภตฺตคฺค เป็นต้น สำเร็จมาจาก อคฺค ธาตุ ตามวิเคราะว่า อคฺคนฺติ คเหตุํ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ อคฺคํ (ฐานํ) สถานที่ไปเพื่อจะรับ (วิ. อตฺ โย 2/518)


นายพระยา ฤทธิภักดี ผมจำได้คร่าว ๆ ว่า อนมตคฺค แปลว่า มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลผู้ไปตามอยู่ไม่รู้ได้ ก็เลยสงสัยว่า ทำไม อคฺค ทำหน้าที่ทั้งในอรรถของ อาทิ และ โกฏิ


คีรีวัน มารัญชยะ อีกนัยหนึ่งสำเร็จมาจาก ภตฺต+√คสฺ+กฺวิ หรือ ภตฺต+√คหฺ+กฺวิ ปัจจัย ลบพยัญชนะที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่า กฺวิมฺหิ โลโปนฺตพฺยฺชนสฺส "เพราะ กฺวิ ปัจจัยให้ลบพยัญชนะที่สุดธาตุ” (โมคฺ 5/94) มีวิเคราะห์ว่า
ภตฺตํ คสนฺติ เอตฺถาติ ภตฺตคฺคํ. (ฐานํ)
ภตฺตํ คณฺหนฺติ เอตฺถาติ ภตฺตคฺคํ. (ฐานํ)
อนมตคฺค สำเร็จมาจาก น+อมตคฺค อ ในคำว่า อมต มีอรรถตัพภาวะ (ไม่มีความหมายพิเศษ) ดังตัวอย่างจากโคปาลวิมานวัตถุว่า ขิปึ อนนฺตกํ.(เราได้ถวายผ้าเก่าแล้ว) อนนฺตกนฺติ นนฺตกํ ปิโลติกํ.
ในคัมภีร์สัททนีติ สุตตมาลา ฉบับภูมิพโลภิกขุ หน้า 450 แสดงอรรถของ อ นิบาตไว้ว่า อ อิติ วุทฺธิตพฺภาวาทีสุปิ ทิสฺสติ.(อ นิบาตใช้ในอรรถความเจริญและอรรถตัพภาวะเป็นต้น) ในบทธัมมาภิคีติของทำวัตรเย็นพบคำว่า ตมหรํ (ตํ+อหรํ) อ ในคำว่า อหรํ ก็มีอรรถตัพภาวะเช่นกัน (มิใช่ปฏิเสธ) เพราะถ้าเข้าสมาสว่า ตํหรํ ก็จะไม่ครบจำนวนพยางค์ในคณะฉันท์
 อนมตคฺค นั้นมีอยู่ในปทานุกรมติปิฏกปาฬิเมียนม่าร์อภิธาน เดี๋ยวจะลองค้นหาให้ครับ

นายพระยา ฤทธิภักดี อนมตคฺค : (วิ.) มีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว,
มีวิ.ตามลำดับ ดังนี้ปเรกเสสทวัน. อคฺโค จ ปุพฺโพ จ อคฺคา.
วิเสสนบุพ.กัม.อนุคจฺฉิยมานา จ เต อคฺคา จาติ อนุคจฺฉิมานคฺคา.
นบุพ.กัม. น มตา อนมตา (อนุคจฺฉิยมานคฺคา)
วิเสสน บุพ.กัม.อนมตา จ เต อนุคจฺฉิยมานคฺคา จาติ อนมตคฺคา.
ตทัสสิตัท.อนมตคฺคา อสฺส อตฺถีติ อนมตคฺโค (สํสาโร วฎฺฎสํสาโร).
มีสำนวนแปลอีกคือมีที่สุดอันบุคคลไปตามไม่รู้แล้ว, มีที่สุดอันบุคคลไม่รู้แล้ว, มีที่สุดและเบื้องต้นอันใครๆ ไปตามไม่รู้แล้ว, มี่ที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลไปตามไม่รู้แ

//พอดีไปเจอใน ETipitaka Pali-Thai Dict


คีรีวัน มารัญชยะ เคยสนทนากับพระอาจารย์มหาราเชนทร์ อคฺคธมฺโม วัดใหญ่อินทาราม ชลบุรี ได้ความว่า น มตา อนมตา ฉบับของไทยเป็นรูปนี้ทั้งหมด แต่ฉบับฉัฏฐสังคีติเป็น น อมตา อนมตา.
คำว่า อมตา = มตา เพราะ อ มีอรรถตัพภาวะ เพิ่มเข้ามาเพื่อให้เชื่อมสนธิเป็นรูปว่า อนมตา ได้ ถ้าเป็น น มตา ก็จะได้รูปว่า อมตา เท่านั้น
คำแปลในภาษาไทยว่า อัน...ไปตามไม่รู้แล้ว หรือ อัน..รู้ไม่ได้แล้ว ก็เคยยกขึ้นมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควรเมื่อหลายสิบปีก่อน โดยเฉพาะในประโยคว่า พุทฺธญฺญาเณนาปิ อปริจฺฉินฺนา แปลกันมาสองสำนวนว่า "แม้อันพระพุทธญาณกำหนดไม่ได้แล้ว" "แม้อันพระพุทธญาณไม่ทรงกำหนดแล้ว" ภายหลังมาจึงตกลงกันว่า ไม่ควรจะแปลตามแบบแรกเพราะดูเหมือนจะเป็นการหมิ่นพระพุทธญาณ
ตามวิเคราะห์ที่ท่าน นายพระยา ฤทธิภักดี ให้ไว้ก็สรุปได้ว่า อคฺค เป็นอสมาหารทวันทสมาสชนิดเอกเสสสมาสที่ลบบทหลัง ดังนั้น อคฺคา จึงเท่ากับ อคฺคปุพฺพา
ในปทานุกรมติปิฏกปาฬิเมียนม่าร์อภิธาน เล่ม 1 หน้า 679 อธิบายคำว่า อมตคฺค ไว้ดังนี้
1) อนุ+น+มต+อคฺค
2) น+อมตคฺค อ ตพฺโภ.
และยกตัวอย่างมาจากพระบาลี อรรถกถาและฎีกาหลายแห่งมาแสดงดังนี้
อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สํสาโร ปุพฺพา โกฏิ น ปญฺญายติ.
อนมตคฺโค โข สํสาโร. อนมตคฺโคติ อนุอมตคฺโค.
วสฺสสตํ วสฺสสหสฺสํ ญาเณน อนุคนฺตฺวาปิ อมตคฺโค อวิทิตคฺโค.
นาสฺส สกฺกา อิโต วา เอตฺโต วา อคฺคํ ชานิตุํ.
ตัวอย่าง อมตคฺค ในปทานุกรมติปิฏกปาฬิเมียนม่าร์อภิธานท่านแสดงไว้เยอะมากเป็นหน้าเลย แสดงว่าผู้รู้หลายท่านสนใจคำนี้และพยายามอธิบายฉีกออกไปหลายแนว แต่ควรจะเป็นปุพเพกสมาสทีลบบทเบื้องต้นตามอรรถกถาที่ให้ไว้ (อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สํสาโร ปุพฺพา โกฏิ น ปญฺญายติ.) และแปลว่า มีเบื้องต้นและที่สุด...
สรุป อนมตคฺค ที่แปลว่า "มีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลผู้ไปตามอยู่ไม่รู้ได้" มาจาก อนุ+น (อ)+มตคฺค ควรแปลใหม่ว่า
"มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลผู้ไปตามรู้ไม่ได้แล้ว"
ถ้าดูตามคำอธิบายในอรรถกถา (นาสฺส สกฺกา อิโต วา เอตฺโต วา อคฺคํ ชานิตุํ) รู้ไม่ได้ ในที่นี้หมายถึง ไม่อาจรู้ได้ว่ามีเบื้องต้นและที่สุดมาจากทางนี้หรือทางโน้น


นายพระยา ฤทธิภักดี จากวิเคราะห์ข้างบน ใช้เป็น อนุคจฺฉิยมานคฺคา
แต่ถ้าเป็นไปตามแล้ว มันจะเป็นรูปยังไงครับ
และ ไปตามอยู่กับไปตามแล้ว มันต่างกันอย่างไร ครับ

คีรีวัน มารัญชยะ อนมตคฺค : (สงสาร) มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลผู้ไปตามรู้ไม่ได้แล้ว ถ้าถือเอานัยตามอรรถกถาน่าจะวิเคราะห์ได้ว่า
ปุพเพกเสส ทวัน.วิ. ปุพฺโพ จ อคฺโค จ - อคฺคา.
นบุพ.กัม. วิ. น อมตา - อนมตา (อคฺคา)
ฉัฏฐีพหุพ. วิ. อนุคนฺตฺวา อนมตา อคฺคา ยสฺส โส - อนมตคฺโค (สํสาโร)
ควรจะตัดสำเนียงคำแปล แล้ว ของ ตฺวา ปัจจัยออกไปครับ (แก้ให้แล้ว) แปลเป็นสมานกาลดีกว่า เหตุผลก็คือ ไม่ต้องการให้คำว่า แล้ว รกรุงรัง แต่ถ้าจะยึดตามแบบสนามหลวงก็แล้วแต่อัธยาศัย
ในวิเคราะห์ใช้ อนุคนฺตฺวา เวลาเข้าสมาสก็ย่อเหลือแต่ อนุ (อนุ+อมตคฺค ลบ สระ อุ หน้า) อรรถของ อนุ ในที่นี่เท่ากับ อนุคนฺตฺวา

Thank Sukchai วิ. อนุคนฺตฺวา อนมตา อคฺคา ยสฺส...ให้ความรู้สึกว่าไปตามหาในระยะ
เวลาช่วงสั้นๆ, อนุคจฺฉิยมานา ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่ายังไปตามหายังไม่เลิกรา
คำนี้ ผมจำได้ว่า แปลโดยพยัญชนะว่า มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลผู้ไปตามอยู่ รู้ไม่ได้แล้ว ก็คงต่างกันในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ

นายพระยา ฤทธิภักดี วจนานุกรมสมาสท้อง (พระเทพวราภรณ์)

อนมตคฺโค (สํสาโร) สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นแม้อันบุคคลไปตามรู้ไม่ได้แล้ว เป็น ณ ปัจจัย ตทัสสัตถิตัทธิต มี ปเรกโลปอสมาหารทวันทวสมาส เป็นท้อง วิ. ว่า
1. อคฺโค จ ปุพฺโพ จ อคฺคา ปเรก. อ. ทวัน.ฯ
2.(ไม่ปรากฏ)
3.อนุคนตฺวาปิ อมตา อญาตา อคฺคา อสฺส อตฺถีติ อนมตคฺโค (สํสาโร) ณ. ตทัส.

คีรีวัน มารัญชยะ อนมตคฺโค ควรสำเร็จด้วยสมาสวิเคราะห์มากกว่าตัทธิตวิเคราะห์ครับ ทีทำให้เราสับสนเพราะคำแปลในภาษาไทยว่า "มี" นั่นเอง คำแปลว่า "มี" ในตทัสสัตถิตัทธิตส่วนมากจะใช้แสดงคุณสมบัติของนามนามและมาโดดๆ เพียงลำพังเช่น เมธาวี, ยสสฺสี, ทณฺฑี, ปญฺญวา, สทฺโธ และสำเร็จด้วยตัทธิตวิเคราะห์โดยตรง ถ้าเป็นคำตัทธิตซ้อนสมาสก็ต้องผ่านตัทธิตวิเคราะห์มาก่อน เช่น มหาหตฺถี, หตฺถิโปตโก ทณฺฑิภาโว etc. แต่นีศัพท์ผ่านขั้นตอนสมาสมาแล้วเอาไปปรุงเป็นตัทธิตอีกดูเหมือนสมาสวิเคราะห์ไม่เป็นใหญ่แก่ตนเองเลย อย่าลืม ! สมาสนะมีตัทธิตเป็นท้องได้ แต่ตัทธิตมีสมาสเป็นท้องเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้างหรือไม่ (ไม่แน่ใจว่า ตัทธิตท้อง นิยมเรียกกันหรือเปล่า)
       เหมือนการแปล อตฺตมโน ว่า "ผู้มีใจอันเป็นของของตน" นั่นแล โดย วิ. ว่า :-
(ฉ.ตัป.) อตฺตโน สนฺตกํ - อตฺตสนฺตกํ (มนํ)
(วิ.บุพ.กัม). อตฺตสนฺตกํ มนํ - อตฺตมนํ.
(ณ ตทัส.) อตฺตมนํ อสฺส อตฺถีติ - อตฺตมโน (ชโน)
ที่จริงศัพท์นี้มีคำแปลว่า “ผู้มีใจเป็นของตน” ตามรูปวิเคราะห์ที่ท่านแสดงไว้ในโยชนาวินัยอรรถกถา (2/179) ว่า
อตฺตโน มโน ยสฺส โส - อตฺตมโน (ชโน) ใจของตนแห่งชนใดมีอยู่ ชนนั้นชื่อว่า อตฺตมน (ผู้มีใจเป็นของตน = พอใจ)
ที่เป็นดังนี้เพราะเราเข้าใจคำว่า “มี” และ “ของ” ในภาษาไทยผิดนั่นเอง ก็เลยตั้งวิเคราะห์เอาตามความรู้สึกนึกคิด และหนังสือเล่มนี้ก็ถูกพิมพ์เผยแพร่แล้วหลายพันเล่ม
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นครคีรีวัน..ต่อ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา