ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รื้อฟื้นภิกษุณีสงฆ์ (1) : คำถามต่อศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก.?  (อ่าน 2777 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


รื้อฟื้นภิกษุณีสงฆ์ (1) : คำถามต่อศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก.?
คอลัมน์ ธรรมนัว โดย วิจักขณ์ พานิช

     In order to become a force for social change, Buddhism needs to rid itself of enduring ills-the barring of female ordination first among them. / Ajahn Brahm"


 ask1 ans1 ask1 ans1

ช่วงไม่ถึงสิบปีมานี้ เราจะได้ยินคำกล่าวโฆษณาทำนองว่า "ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก" อยู่บ่อยครั้ง โดยที่คำประกาศตนดังกล่าวไม่เคยสื่ออย่างชัดเจนว่าการทำตัวเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของคณะสงฆ์ไทยจะเป็นประโยชน์อันใดต่อชาวโลกบ้าง เมื่อสำนึกทางการเมืองยังรวมศูนย์อยู่ที่อำนาจสถาบันหลักอย่างขัดฝืนต่อการเปลี่ยนแปลงและตัดขาดกับชุมชนและประชาชน การเมืองในสถาบันศาสนาก็สะท้อนถึงภาวะแปลกแยกนั้นไม่ต่างกัน ในนามของการเผยแผ่ศาสนา พุทธศาสนาไทยกำลังคำนึงถึงอำนาจ ผลประโยชน์ และความอยู่รอดทางการเมือง (และทางเศรษฐกิจ) ในฐานะสถาบันหลักของชาติ หรือพร้อมที่จะปรับตัวต่อโลกสมัยใหม่เพื่อยังประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์อย่างแท้จริงกันแน่?

หากพูดกันโดยทั่วไป พุทธศาสนาเถรวาทแบบสถาบันมีแนวโน้มที่จะเป็นอนุรักษนิยมสูงมาก ชาวเถรวาทมักอ้างว่าตนคือผู้ปกปักพิทักษ์รักษา "พุทธศาสนาแบบดั้งเดิม" หรือ "ของแท้" และคอยตรวจสอบว่าคำสอนในพุทธศาสนานั้นถูกต้องตามพุทธวจนะหรือพระไตรปิฎกหรือไม่ ทว่ากลับไม่เคยตั้งคำถามว่าความดั้งเดิมดังกล่าวหน้าตาเป็นเช่นไร และมีใครเป็นผู้กำหนด โดยเฉพาะในบริบทสังคมสมัยใหม่ที่ไม่มีอะไรเหมือนในอดีต และ "พุทธะ" ในฐานะตัวบุคคลได้ปรินิพพานไปนานถึง 2,600 ปีแล้ว


 :96: :96: :96: :96:

บ่อยครั้งศาสนาแห่งปัญญาจึงถูกทำให้กลายเป็นศาสนาแห่งความเชื่อ พุทธะกลายเป็นพระผู้เป็นเจ้า และถูกยกไว้บนหิ้งเอาไว้โหนราวกับเป็นความดีสูงสุด ความจริงสูงสุด และการยึดมั่นสูงสุด ที่ตั้งคำถามไม่ได้ วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ หรือแม้แต่ตีความต่างออกไปก็ไม่ได้ การยึดมั่นในตัวพระพุทธเจ้าค่อยๆ กลายเป็นการยึดมั่นถือมั่นอันเป็นข้อยกเว้นหนึ่งเดียวที่ใช้อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างในนามศาสนา แง่มุมความศักดิ์สิทธิ์ของประสบการณ์ความเป็นมนุษย์ค่อยๆ เลือนไป กลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์อันไปพ้นและเหนือความเป็นมนุษย์ พุทธภาวะที่มีอยู่ในคนทุกคนถูกมองข้ามหรือไม่ก็ไม่เชื่อว่ามีอยู่จริงเอาเสียเลย

เมื่อจิตสิกขากลายเป็นเรื่องบูชากราบไหว้ พุทธศาสนาเถรวาทก็กลายเป็นศาสนาแบบไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ซึ่งมีอำนาจค้ำจุนสถาบันศาสนาแบบอำนาจนิยมที่ขัดฝืนต่อการเปลี่ยนแปลง และไม่เชื่อมั่นในการมีส่วนร่วมของประชาชนคนธรรมดาไปได้อย่างน่าเศร้า

 :91: :91: :91: :91:

เมื่อการยึดมั่นในอดีตคือเป้าหมาย ไม่สนใจที่จะเรียนรู้ปัจจุบันและมองอนาคต จึงมีแนวโน้มที่พุทธศาสนาเถรวาทจะยึดมั่นเปลือกนอกของรูปแบบมากกว่าการทำความเข้าใจจิตวิญญาณภายใต้รูปแบบนั้น เช่น ธรรมวินัยแบบเถรวาทที่เคยแสดงออกถึงจิตวิญญาณความเรียบง่าย เส้นทางการฝึกตน การอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน และเสรีภาพแห่ง "ป่า" กลับถูกตัดทอนเหลือแค่การยึดมั่นในกฎระเบียบข้อบังคับราวกับเป็นกฎหมายโดยไม่ต้องอาศัยการตีความอย่างคำนึงถึงบริบทอย่างรอบด้าน เมื่อป่าไม่มี เสรีภาพก็ควรมีอย่างจำกัด ศีลกลายเป็นศีลพตปรามาส และวินัยกลายเป็นความเคร่งครัดขรึมขลังอย่างวินัยทหาร

ในส่วนที่เห็นชัดว่าล้าสมัยใช้การไม่ได้ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่สำเนียกว่ารูปแบบดั้งเดิมที่ตนยึดถือนั้นก็อยู่ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มียกเว้น ไม่ว่าจะเป็นการนุ่งห่มจีวร วัตรปฏิบัติ การฉัน การเทศนา พิธีกรรม อัฐบริขาร หรือแม้แต่คำสอน ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะคงสภาพเหมือนเดิมได้อย่างในสมัยพุทธกาล


 :signspamani: :signspamani: :signspamani: :signspamani:

เมื่อเพิกเฉยไม่ตระหนักถึงความจริงข้อนี้และเอาแต่โหยหาความดีงามดั้งเดิมอย่างในอดีตเพียงท่าเดียว แนวคิดอนุรักษนิยมเพียงเปลือกนอกก็นำไปสู่ภาวะหลอกตัวเองและความหลงทะนงตนของสถาบันสงฆ์อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

ในยุคสมัยของเผด็จการ หากลองสังเกตให้ดี จะเห็นลักษณะคล้ายคลึงบางประการในแนวคิดทางการเมืองของพระ ทหาร และชนชั้นสูงของไทย โดยเฉพาะการฝักใฝ่อำนาจนิยมอันฝังรากลึก จากการที่พวกเขาถูกปลูกฝังมาให้ยึดมั่นอำนาจแห่งชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยิ่งกว่าการเคารพสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน

"การศึกษาของผู้กดขี่" ส่งเสริมภาวะแยกขาดจากโลกความเป็นจริง มุ่งฝึกคนให้เป็น (อริย) เจ้าคนนายคน (พัดยศ) ผู้ใฝ่หาในยศถาบรรดาศักดิ์ (สมณศักดิ์) และมองเสรีภาพทางความคิดเป็นสิ่งอันตราย เพราะลึกๆ พวกเขารู้ดีว่าโครงสร้างทางสังคมแบบอำนาจนิยมแนวดิ่งที่พวกเขาหยัดยืนอยู่จะพังครืนลงมาในทันที หากเปิดให้แก่การมีส่วนร่วม

     พุทธศาสนาแบบสถาบันอันแข็งทื่อตายตัวเช่นนี้ล่ะ หรือที่จะเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก.?

      :32: :32: :32: :32:   

      "เพื่อที่จะกลายเป็นแรงสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พุทธศาสนาจำเป็นต้องทอนตัวเองออกจากความป่วยไข้เรื้อรัง ซึ่งการห้ามผู้หญิงบวชถือเป็นหนึ่งในความป่วยไข้ที่ว่านั้น" / อาจารย์พรหม

5 ปีที่แล้ว...พระอาจารย์พรหมวังโส หรือ อาจารย์พรหม (Ajahn Brahm) ถูกมติขับออกจากคณะสาขาวัดหนองป่าพง ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 จากการจัดพิธีอุปสมบทภิกษุณี 4 รูปที่วัดของท่านในประเทศออสเตรเลีย พระอาจารย์พรหมเป็นพระภิกษุชาวต่างประเทศที่เชื่อมั่นในความเท่าเทียมกันของชายหญิง โดยท่านเห็นว่า การห้ามไม่ให้ผู้หญิงบวชในพุทธศาสนาไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ในธรรมวินัย และไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่จะรื้อฟื้นประเพณีการบวชภิกษุณีกลับมาใหม่อีกครั้ง


     :32: :32: :32: :32:

  ความกล้าหาญในครั้งนั้นของพระพรหมวังโสได้รับผลตอบแทนเป็นก้อนหินจากคณะสงฆ์วัดหนองป่าพง และคณะสงฆ์แห่งรัฐไทยที่ระดมปามาจากทุกทิศทุกทาง

   แค่การรื้อฟื้นหัวใจอันเคยมีมาแต่สมัยพุทธกาล ทว่าขาดช่วงไป อันได้แก่ หนึ่งในพุทธบริษัทสี่ อย่างภิกษุณีสงฆ์ ไฉนจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ของคณะสงฆ์ไทย ซึ่งในฐานะ "ศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก?" ไม่อาจยินยอมให้เกิดขึ้นได้ และไม่อาจเปิดรับความเห็นต่างได้ในทุกกรณี.?


(อ่านต่อตอนที่ 2)


ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 8 ก.พ.2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1423377778
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 10, 2015, 12:10:30 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

noobmany

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 79
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่จริง ในสมัย ปัจจุบันนี้ ได้ยินว่า นักบวช ผู้ชาย ก็น้อยลงทุกปี แล้ว นี่ครับ  นี่ กำลังมารณรงค์ นักบวชหญิง เพื่อมาช่วยเพิ่มจำนวนที่น้อยลงไปหรือครับ ?

  ส่วนตัว ก็ยินดี ที่ยังมีนักบวชอยู่ นะครับ
  แต่ได้ยินมาว่า การมีอยู่ของ นักบวชหญิง จะทำให้ พุทธศาสนา อายุน้อยลง จริงหรือไม่ ? Zzzz

   :34: :25: สองอารมณ์ เลยนะเรื่องนี้

  :bedtime2: :96:

บันทึกการเข้า