การตีความ
แต่เดิมนิกายสุขาวดีถือว่า สุขาวดีเป็นพุทธเกษตรที่ดำรงอยู่จริง ๆ ทางกายภาพ และมีลักษณะดังที่พระสูตรได้อธิบายไว้ ต่อมามีการผสมผสานความเชื่อของนิกายนี้เข้ากับนิกายเซน ทำให้แนวคิดสุขาวดีถูกอธิบายในเชิงธรรมาธิษฐานว่า แท้จริงแล้วสุขาวดีเป็นเพียงแดนที่ถูกสมมติขึ้น เพื่อเป็นอุบายให้พุทธศาสนิกชนใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจว่า การหลุดพ้นจากทุกข์ไม่ใช่เรื่องยากลำบากเกินไป
การระลึกถึงพระอมิตาภะและพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ในสุขาวดีก็เพื่อเป็นอุบายให้นักปฏิบัติปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตน พระอมิตาภะแท้จริงหมายถึง ธรรมชาติพุทธะที่มีอยู่ในตัวคนทุกคนอยู่แล้ว การระลึกถึงพระอมิตาภะก็เพื่อน้อมนำจิตของผู้นั้นให้กลับก้าวไปสู่ความเป็นพุทธะต่อไป และแดนบริสุทธิ์สุขาวดีถูกตีความใหม่เป็นภาวะที่จิตที่บริสุทธิ์ที่มีอยู่แล้วในจิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย การปฏิบัติต่าง ๆ จึงทำเพื่อน้อมจิตให้กลับไปสู่สภาพบริสุทธิ์ดั้งเดิม การสวดพระนามพระอมิตาภะกลายเป็นการปฏิบัติสมาธิรูปแบบหนึ่ง ซึ่งต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการรักษาศีลและศึกษาพระธรรม


การประดับผนังวิหารด้วยพระพุทธรูปจำนวนมาก โดยใช้คำว่า "หมื่นพุทธ" แทนพระพุทธเจ้าจำนวนดังกล่าว
เพื่อสื่อถึงคติของมหายานที่ว่า "พระพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นมีจำนวนมากมาย เหมือนดั่งเม็ดทรายที่อยู่ในคงคามหานที"
และยังกำหนดให้อาณาเขตของพระพุทธเจ้าจำนวนนับหมื่นนั้นเป็น "พุทธเกษร"
ลัทธิอนุตตรธรรมลัทธิอนุตตรธรรมมีความเชื่อเกี่ยวกับสุขาวดีต่างจากพระพุทธศาสนา ในพระโอวาทพระอนุตตรธรรมมารดาสิบบัญญัติ (จีน: 皇母訓子十誡) ซึ่งเป็นคัมภีร์เล่มหนึ่งของลัทธิอนุตตรธรรมระบุว่า สุขาวดีคือนิพพาน เรียกอีกอย่างว่าอนุตตรภูมิ (จีน: 理天 หลี่เทียน) เป็นที่ประทับของพระแม่องค์ธรรม พระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่ง และให้กำเนิดจิตจำนวน 9,600,000,000 ดวง สุขาวดีจึงเป็นต้นกำเนิดของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย
พระแม่และดวงจิตทั้งหมดได้เสวยสุขร่วมกันบนสุขาวดีเป็นเวลานาน จนเมื่อพระแม่สร้างโลกขึ้นจึงส่งดวงจิตทั้งหมดลงมาเกิดบนโลก เพื่อใหช่วยกันพัฒนาโลกให้เจริญขึ้น แต่สรรพสัตว์กลับหลงลืมธรรมชาติบริสุทธิ์ดั้งเดิมของตน จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปและไม่สามารถกลับสู่สุขาวดีได้ พระแม่องค์ธรรมจึงต้องส่งพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเซียนทั้งหลาย ลงมาชี้แนะมนุษย์และนำพาเวไนยสัตว์กลับสู่นิพพานคือสุขาวดีซึ่งเป็นบ้านเดิมต่อไปภาพประกอบชุดนี้ยังเป็นวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ
ภาพนี้ถ่ายจากวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ(ชั้น ๔) วิหารที่เห็นคือ พระอุโบสถ
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
th.wikipedia.org/wiki/สุขาวดี อ้างอิง
1. อมิตาพุทธสูตร, หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ แปล, พ.ศ. 2552
2. อมิตายุรัธยานสูตร, หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ แปล, พ.ศ. 2552
3. เสถียร โพธินันทะ, ปรัชญามหายาน, กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548, หน้า168-170
4. สุมาลี มหณรงค์ชัย, พุทธศาสนามหายาน, กรุงเทพฯ:ศยาม, 2546, หน้า 236-248
5. พระโอวาทพระอนุตตรธรรมมารดาสิบบัญญัติ : ข้อหนึ่ง
6. The Organization and Ideologies of the White Lotus Sects