ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การเมืองเรื่องพระพุทธรูป ยุคแรกสร้างกรุงเทพฯ  (อ่าน 4960 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) แหล่งรวบรวมพระพุทธรูปนับพันองค์ (ภาพจาก กรุงเทพฯ 2489-2539. กรมศิลปากร, 2539.)

การเมืองเรื่องพระพุทธรูป ยุคแรกสร้างกรุงเทพฯ
คอลัมน์ สุวรรณภูมิในอาเซียน โดย วิราวรรณ นฤปิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สรุปย่อจากบทความวิชาการในวารสารดำรงวิชาการ
ของ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ฉบับ 13/2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)


    การสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับเมืองหลวงใหม่ที่กรุงเทพฯ นอกจากพระอารามแล้ว (เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) สิ่งที่ขาดไม่ได้คือพระพุทธรูป จากหลักฐานพบว่าราชสำนักรัชกาลที่ 1 มีการเลือกเก็บรวบรวมพระพุทธรูป ทั้งจากกรุงเก่า และจากหัวเมืองทางเหนือ ลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ได้แก่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียง อาทิพระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศากยมุนี

    ราชสำนักรัชกาลที่ 1 ใช้วัตถุทางศาสนาเป็นเครื่องมือในการแสดงตัวตนของพระมหากษัตริย์ในอุดมคติ และทำให้เมืองหลวงที่สถาปนาขึ้นใหม่มีความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธ ควบคู่ไปกับอำนาจทางการเมือง


     :96: :96: :96: :96:

    ในอีกแง่มุมหนึ่งคือเป็นการสร้างความชอบธรรมของพระองค์ในทางอ้อม เนื่องด้วยปูมหลังการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับฐานอำนาจเดิมที่สืบเชื้อสายจากกษัตริย์อยุธยาอยู่เลย ดังนั้นการแสดงออกถึงการเป็นกษัตริย์ผู้มีบุญบารมีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

    การอัญเชิญพระพุทธรูปไม่ได้เพิ่งเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 หากแต่พบว่ามีความสำคัญ ทั้งจุดประสงค์ มิติเวลา และวิธีการ ที่หลักฐานจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นถึงวิธีคิดของคนในราชสำนักรัชกาลที่ 1 ว่ามีความแตกต่างไปจากเดิม นั่นคือการเก็บรวบรวมพระพุทธรูปนับพันองค์มายังวัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. 2337 ใช้เวลานาน และมีการจัดการที่เป็นระบบด้วยการ "ทำบัญชีตัวเลข" จดบันทึกขนาด และจำนวนพระพุทธรูปแต่ละองค์โดยละเอียด จากหลักฐานพบว่า รวบรวมพระพุทธรูปมามากกว่าสองพันองค์ และให้ความสำคัญกับการคัดเลือกขนาด เพื่อการจัดวางในระเบียงพระอุโบสถที่เพิ่งสร้างเพื่อการณ์นี้โดยเฉพาะ


 ask1 ans1 ask1 ans1 ask1 ans1

พระพุทธรูปนับพันๆ องค์

พระราชพงศาวดารและจารึกวัดพระเชตุพน กล่าวถึงการรวบรวมพระพุทธรูปเมื่อ พ.ศ. 2337 ว่าเป็นการกระทำเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป ด้วยการโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระพุทธรูปที่ปรักหักพังจากหัวเมืองเหนือ คือสุโขทัย พิจิตร สวรรคโลก ลพบุรี และอยุธยา ลงมาปฏิสังขรณ์

จากนั้นก็ให้ประดิษฐานไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ จำนวน 1,248 องค์ บางส่วนที่เหลือก็แจกจ่ายให้เชื้อพระวงศ์ หรือข้าราชการคนอื่นๆ นำไปบูชา ประดิษฐานไว้ตามพระอารามต่างๆ จึงชะลอ "พระศรีสรรเพชญ์" พระพุทธรูปยืน สูง 8 วา หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์หุ้มด้วยทองคำ เดิมอยู่ที่วิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงเก่า เข้ามาวางบนรากพระเจดีย์แล้วก่อปิดทับ จากนั้นเชิญพระพุทธรูปที่เตรียมไว้มาปฏิสังขรณ์ แล้วประดิษฐานในสถานที่ต่างๆ ที่เตรียมไว้


 :96: :96: :96: :96:

การคัดเลือกพระพุทธรูปเพื่อการจัดวางในระเบียงพระอุโบสถนั้น จากหลักฐานชี้ให้เห็นว่าเน้นที่ขนาดพระพุทธรูปเป็นสำคัญ เนื่องจากพระพุทธรูปที่มาจาก หัวเมืองต่างๆ มีพุทธลักษณะที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสกุลช่างท้องถิ่น เมื่อมาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ จึงเห็นได้ว่ามีรูปแบบที่คละเคล้ากัน ที่ระเบียงพระมหาเจดีย์ทั้งสามด้านก็มีการประดิษฐานพระพุทธรูปยืน เป็นปางประทานอภัย และปางห้ามญาติ เน้นที่ขนาดเหมือนกับที่ระเบียงพระอุโบสถ


(ซ้าย) กระแสพระบรมราชโองการ รัชกาลที่ 1 ให้ไปรวบรวมพระพุทธรูปจากหัวเมืองเหนือ (ที่มา : หอสมุดแห่งชาติ)
(ขวาบน) พระพุทธรูปยืนที่จัดวางบนฐานเดียวกัน แต่มีพุทธลักษณะแตกต่างกัน ที่ระเบียงพระมหาเจดีย์ วัดพระเชตุพนฯ
(ขวาล่าง) พระพุทธรูปในระเบียงพระอุโบสถชั้นนอก วัดพระเชตุพนฯ มีพุทธลักษณะแตกต่างกั


เบื้องหลังการเก็บรวบรวมพระพุทธรูป

หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงเป็นกระแสพระราชโองการของรัชกาลที่1 ที่สั่งให้ไปรวบรวมพระพุทธรูปเมื่อ พ.ศ. 2337 ตามพระราชศรัทธา และพระราชกุศลในฐานะอัครศาสนูปถัมภก การรวบรวมพระพุทธรูปทั้งหลายนี้ ก็เพื่อทำนุบำรุง และปฏิสังขรณ์วัตถุที่ปรักหักพัง ทิ้งร้าง เกรงจะเกิดอันตรายแก่พระพุทธรูปเหล่านั้น จึงได้ให้ข้าราชการไปอัญเชิญพระพุทธรูปลงมายังวัดพระเชตุพนฯ

  แสดงให้เห็นวิธีคิดของชนชั้นสูงที่เปลี่ยนไปว่า "ไม่ได้เทียบองค์พระมหากษัตริย์เสมือนเป็นสมมุติเทพแล้ว หากแต่เป็นมนุษย์ธรรมดาที่ต้องการทำนุบำรุงศาสนาให้ยั่งยืนสืบไปเท่านั้น" ซ้ำยังไม่ได้อ้างถึงโชคลาง หรืออำนาจเหนือธรรมชาติแต่อย่างใด อย่างที่จารีตทางวรรณกรรมราชสำนักในอดีตเคยทำมา


    :25: :25: :25: :25:

   การอุปถัมภ์ศาสนาดังที่ปรากฏในข้อความจึงเน้นไปที่พระราชประสงค์ขององค์พระมหากษัตริย์เริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ตระหนักถึงอันตรายต่อพระพุทธรูปที่ผู้คนสร้างไว้แต่ก่อน ด้วยการแสดงว่าพระองค์ทรงมีจิตสำนึกที่จะสงเคราะห์เอาพระพุทธรูปที่หักพังนั้นมาไว้ในอุปถัมภ์ จากนั้นคือต้องการให้วัตถุทำหน้าที่สืบทอดศาสนาต่อไป

    ความคิดเรื่องพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีบุญบารมีสูงสุด เป็นอุดมคติที่สืบทอดกันมาในชนชั้นกษัตริย์ อย่างกษัตริย์สุโขทัย และกษัตริย์อยุธยาก็คือผู้ที่สั่งสมบุญบารมีเอาไว้มาก และจะสั่งสมบุญบารมีให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นไปอีกเพื่อเตรียมจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ด้วยการประพฤติธรรม สั่งสอนธรรม และบำรุงพระศาสนา อุดมคติแบบนี้ฝังรากลึกอยู่ในอาณาจักรที่ทำกิจกรรมทางการเมืองควบคู่ไปกับศาสนาเป็นสำคัญ รวมถึงสมัยสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นี้ด้วย

     st12 st12 st12 st12

    แม้ว่าจะมีอุดมการณ์แบบเดียวกัน แต่การแสดงออก หรือการสร้างภาพแสดงตัวตนของพระมหากษัตริย์แต่ละองค์ก็แตกต่างกันไป เช่น หลังจากที่พระเจ้าตากสินขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็สร้างภาพการเป็นพุทธราชา และอัครศาสนูปถัมภกด้วยเช่นกัน ดังที่ปรากฏในใบบอกในสมัยกรุงธนบุรี ว่ามีการเชิญพระแก้วมรกต และพระบางมาประดิษฐานไว้ที่กรุงธนบุรี ก่อนจะถูกย้ายไปยังพระราชวังหลวงใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1

    แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับที่ใช้อ้างอิงมากที่สุดอย่าง พันจันทานุมาศ (เจิม) ซึ่งถูกชำระขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ข้อความในพระราชพงศาวดารหลายครั้งอ้างว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้แสดงตนเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาด้วยการบริจาคทาน และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดจนเกินไปในช่วงท้ายรัชกาล

    ต่างจากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เน้นเรื่องการปฏิสังขรณ์พระอาราม หรือพระพุทธรูป รวมไปถึงการปฏิรูปสถาบันศาสนาด้วยการแต่งตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ ที่สนับสนุนพระองค์ แทนที่จะอธิบายสิทธิธรรมในการครองอำนาจด้วยเรื่องสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับราชวงศ์เดิมจากอยุธยา


บัญชีพระพุทธรูป (บางส่วน) ที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ไปอาราธนามาจากหัวเมืองเหนือ (ที่มา : หอสมุดแห่งชาติ)


ศาสนา-การเมือง ของกรุงเทพฯ กับกรุงอังวะ

ช่วงต้นรัชกาลที่ 1 ราชสำนักอยู่ในฐานะของผู้ปกครองที่พยายามจะสถาปนาอำนาจเหนือหัวเมืองที่เคยอยู่ใต้อำนาจของอยุธยาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นขณะเดียวกันก็รวมเอาล้านนา ล้านช้าง และกัมพูชาเข้ามาเป็นประเทศราชด้วยพร้อมทั้งพยายามจะรวมหัวเมืองมอญ ได้แก่ ทวาย มะริด ตะนาวศรี ผลก็คือก่อให้เกิดระบบการเมืองแบบจักรวรรดิขึ้น รัชกาลที่ 1 จึงต้องสร้างความชอบธรรมให้กับระบบการเมืองที่พระองค์สร้างขึ้นใหม่นี้

ผู้ปกครองเมืองในจักรวรรดิทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธดังนั้นการเอามาตรฐานทางศีลธรรม และราชธรรมมาสร้างความชอบธรรมแก่ระบบการเมืองที่มีศูนย์กลางที่กรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้ผลดีที่สุดในความคิดของคนในราชสำนัก สิ่งสำคัญคือการทำให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา และแสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีตามอุดมคติ ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในราชธานี หัวเมือง และเมืองประเทศราช เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ได้มีการโจมตีกษัตริย์อังวะว่าเป็นฝ่ายอธรรม ควบคู่กันไปกับการสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นศูนย์ความรุ่งเรืองของศาสนา


 st11 st11 st11 st11

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ชำระสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โจมตีกษัตริย์อังวะ ว่าเป็นผู้ทำลายเมืองอยุธยา และเน้นไปที่การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสิน แล้วจบลงที่หายนะตกแก่ราชวงศ์บุเรงนอง

การสร้างภาพให้รัชกาลที่ 1 อยู่เหนือกว่ากษัตริย์อังวะนั้น มีความหมายสำคัญต่อสถานะกษัตริย์รัตนโกสินทร์อย่างมากในสายตาเมืองประเทศราช จนกระทั่งปี พ.ศ. 2336 กรุงอังวะได้ขอเป็นไมตรีผ่านมาทางเจ้าเมืองเมาะตะมะ ใจความของศุภอักษรก็เน้นไปที่ความเมตตาของกษัตริย์ผู้มีบุญด้วยเช่นกัน


 ask1 ans1 ask1 ans1 ask1 ans1

พุทธจักร อาณาจักร

สรุปแล้วราชสำนักรัชกาลที่ 1 ประสบความสำเร็จในการสร้างภาพแสดงตัวตนของการเป็นผู้นำด้านพุทธจักร ควบคู่ไปกับอาณาจักร เพราะเมื่อพ้นสมัยรัชกาลที่ 1 แล้ว ไม่พบว่ามีการเก็บรวบรวมพระพุทธรูปจำนวนมากเท่าครั้งนี้อีกเลย ถือว่าความสำเร็จดังกล่าวส่งผลให้รัชกาลต่อมามีความรู้สึกมั่นคงมากเพียงพอ จึงไม่มีการกระทำที่เป็นการซ้ำรอยเดิมอีก จะมีก็แต่เน้นที่การซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัตถุที่ร่วงโรยไปตามเวลาเท่านั้น

ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424342539
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การเมืองเรื่องพระพุทธรูป ยุคแรกสร้างกรุงเทพฯ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2015, 01:47:53 am »
0

   สาธุ  สาธุ..ผู้นำเสนอ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การเมืองเรื่องพระพุทธรูป ยุคแรกสร้างกรุงเทพฯ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2015, 11:06:03 am »
0
เรื่องนี้ มีความหมาย หลายนัยยะด้วยกัน

 การที่ในหลวง ร.1 ทำการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยการโยกย้าย พระพุทธรูปที่ได้รักการชำรุด จากศึกสงครามเข้ามาซ่อมแซมและส่งกลับ ยกเว้นพระพุทธรูปที่ ไม่ควรส่งกลับเนื่องด้วย ส่งกลับไปก็จะรักษายังไม่ได้ ดังนั้นจึงมีพระพุทธรูป ที่คงเก็บไว้เป็นบางส่วนแต่ก็ไม่มาก 1248 องค์ เก็บไว้ไม่กี่องค์หรอก แต่ที่เก็บไว้เพราะว่า เป็นของคู่บ้านคู่เมือง

  การที่ในหลวงกระทำเช่นนั้นก็เพราะว่า การดูแลเยียวยาจิตใจของคนที่สูญเสีย ก็ต้องพุทธธรรมเท่านั้น เพราะครูอาจารย์ของพระองค์ แนะนำไว้อย่างนั้น ดังนั้นสิ่งที่เป็นสัญญลักษณ์ทางด้านจิตวิญญาณของคนไทย ที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นพวกใหญ่ นั้น ก็คือ พระพุทธรูป ในสมัยปลายศึกสิ้นอยุธยา ทางพม่า ได้ทำลายพระพุทธรูป เนื่องด้วยพระพุทธรูป ในสมัยนั้นนิยมหล่อด้วยทองคำกันเป็นส่วนใหญ่ การขนทองคำกลับไปนั้นเป็นสิ่งที่พม่าทำไว้ด้วย ถ้าไปดูที่ประเทศพม่านั้น บรรดาทองคำที่นำมาสร้างเจดีย์ทองคำสวย ๆ อย่าง เจดีย์ชเวดากอง เป็นต้นนั้น ลองย้อนประวัติศาสตร์ไปดูว่าใช้ทองคำจำนวนเท่าใดที่จะสร้าง ดังนั้นเมืองขึ้นทั้งหลาย จึงต้องบรรณาการทองคำไว้
   
   ทั้่ง ๆ ที่ประเทศพม่า ก็เป็นเมื่องที่นับถือพระพุทธศาสนาเช่นกัน แต่การฆ่าพระสงฆ์ในสมัยการศึกก็มีจำนวนมิใช่น้อย เลย ในขณะนั้น ไม่ใช่เป็นพระแล้วจะรอดจากสงคราม นะสมัยก่อนนั้นพระก็ถูกฆ่าด้วยเช่นกัน ดังนั้นแม้แต่ครูอาจารย์ อย่าง หลวงปู่สุก ก็ยังต้องหนีนะ อยู่ไม่ได้ มาพักพำนักรอการฟื้นคืนประเทศในสมัยนั้น ก็กลุ่มพระเจ้าตากนี่แหละพวกแรกที่ตียึดคืน ในสมัยนั้น

   ประวัติศาสตร์สอนอะไร ?
   
   เราก็จะเข้าใจ ได้ ด้วยประวัติศาสตร์ นั้นเอง

   เจริญพร


    ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การเมืองเรื่องพระพุทธรูป ยุคแรกสร้างกรุงเทพฯ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 05, 2015, 11:08:42 am »
0
เรื่องนี้ พึ่งรู้ นะเนี่ย ว่า มีการซ่อม พระพุทธรูปกันมากขนาดนั้นในสมัย ร. 1
 

  :49: thk56
บันทึกการเข้า