ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: [ชมภาพ] ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ที่ “วัดไร่ขิง”  (อ่าน 7276 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0







วัดไร่ขิง ได้จัดสร้างอาคารถาวรไว้หน้าวัด เพื่อให้ประชาชนได้ทำพิธีลอยเคราะห์ ตามราศีเกิด
วัดไร่ขิง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำนครชัยศรี) ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: [ชมภาพ] ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ที่ “วัดไร่ขิง”
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 07, 2015, 11:12:00 am »
0






บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: [ชมภาพ] ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ที่ “วัดไร่ขิง”
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 07, 2015, 11:38:04 am »
0

ประเพณี “ลอยเคราะห์” ของชาวมอญ
โดย...จำลอง บุญสอง

แม้ว่าผมจะแนบแน่นกับเมืองสังขละบุรี เพราะประวัติศาสตร์ชีวิตส่วนหนึ่งของผมผูกติดกับดินแดนแห่งนี้มาก่อน แต่ช่วงที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ก็ไม่เคยไปเที่ยวงานประเพณี “ลอยเคราะห์” ของชาวมอญ (ปัจจุบันเป็นคนไทยเชื้อสายมอญไปแล้ว) เลยสักครั้ง

ที่ไม่ได้ไปก็ต้องยอมรับว่าไม่รู้ว่าเขามีประเพณีนี้ แม้ระยะหลังจะได้ยินข่าวว่ามี แต่โอกาสที่ไปร่วมงานก็ไม่มี พอไปเห็นก็ไม่คิดว่างานจะยิ่งใหญ่จนสามารถบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของปฏิทินการท่องเที่ยว

งานนี้มีขึ้นใกล้ช่วงวันเพ็ญเดือน 10 หรือก่อนออกพรรษา 1 เดือน เริ่มด้วยชาวมอญในชุมชนวังก๊ะร่วมกันเอาไม้ไผ่ที่หาได้ในท้องถิ่นมาสร้างเรือที่ทำด้วยไม้ไผ่ขึ้น (ในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา) หลังจากทำเรือแล้วก็ประดับประดาตัวเรือไม้ไผ่ด้วยกระดาษสีสวย เรือนี้จะตั้งอยู่บนล้อเลื่อนเพื่อที่จะสามารถขับเคลื่อนจากหน้าเจดีย์พุทธคยาจำลอง อันเป็นที่ตั้งของเรือไปริมทะเลสาบเหนือเขื่อนเขาแหลมเพื่อลอยเรือในวันสุดท้าย (คือวันจันทร์) ได้

ระหว่างที่ช่างทำเรือประดิษฐ์เรือกันอยู่นั้น บรรดาผู้เฒ่าผู้แก่มอญทั้งในหมู่บ้านและพม่าผู้มาร่วมงานก็ใส่ผ้าถุงสีน้ำตาลเสื้อขาว พาดสไบสีน้ำตาลไปถือศีลและฟังพระเทศนาโดยไม่กินข้าวเย็น พวกเขานอนอยู่บนศาลาฉันเก่าแก่ที่ทำด้วยไม้ แต่วันนั้นมีคนไปถือศีลมากจนล้น บางคนจึงต้องไปนอนไปอยู่ใต้อาคารฐานเจดีย์พุทธคยาแทน




    ประมาณตี 5 ของวันเสาร์ ชาวมอญที่ไม่ได้ถือศีล 8 ที่ศาลาก็จะไปฟังเทศนาที่หน้าพระเจดีย์พร้อมกับถือศีล 5 หลังจากนั้นก็เอาข้าวสารอาหารแห้งใส่จานไปวางไว้ที่เรือ แต่เรือก็แคบเกินไปกรรมการจึงเอาไปวางไว้ที่ชั้นวางใกล้ๆ ที่ต้องใส่จานก็เพื่อจะได้ใช้ใส่ข้าวกินนั่นเอง ข้าวสารอาหารแห้งที่ใส่เรือเป็นเครื่องสะเดาะเคราะห์ เรือเป็นเสมือนพาหะในการนำข้าวของส่งไปยังเรือลำที่ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากศรีลังกามายังเมืองหงสาวดี (เมืองหลวงของมอญในสมัยนั้น) ที่เจอพายุอยู่กลางทะเลนั่นเอง

หลังจากพิธีตอนเช้าแล้ว พระทั้งวัดก็ออกบิณฑบาตตามสายทางในหมู่บ้าน โดยมีเด็กวัดถือถุงคอยช่วยพระเณรเอาของออกจากบาตรมาด้วย คนใส่บาตรนอกจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่แต่งชุดถือศีลแล้ว สาวมอญก็จะใส่ชุดมอญสีสวยมาใส่บาตรด้วย สมัยก่อนคนมอญที่นี่เป็นเพียงผู้อาศัย ไม่สามารถทำงานทำการอะไรเลี้ยงชีพได้ แต่ตอนหลังพวกเขากลายเป็นคนไทย ทำมาหากินได้ทั้งที่นั่นและที่กรุงเทพฯ

หลายคนกลายเป็นแม่ค้าขายของฝากจากพม่า หลายคนขายของใส่บาตร หลายคนมีร้านค้าของตัวเอง ลูกๆ หลานๆ ของพวกเขาเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ มีชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ บางคนได้ไปอยู่อเมริกา อยู่สวิตเซอร์แลนด์ อยู่ออสเตรเลีย ในฐานะผู้ลี้ภัยและผู้ทำงานสิทธิมนุษยชนที่อเมริกาและตะวันตกเตรียมการเอาไว้ พวกเขาส่งเงินมาให้คนที่อยู่ข้างหลังเรื่อยๆ ในขณะที่การเตรียมการเปิดเออีซีก็ทำให้คนมอญในพม่าสามารถเข้าออกเมืองไทยได้มากขึ้นโดยไม่ถูกรีดไถ

 


ผมไปถ่ายภาพคนถือศีลในศาลาวัดมาให้ดูด้วย ช่วงเวลาเขาก้มกราบราบลงไปกับพื้น ทำให้ผมนึกถึงการละหมาดของคนที่นับถืออิสลามตามมัสยิดต่างๆ ทั่วโลก จากการเดินทางไปเยือนหินยานมาหลายประเทศ ผมเห็นว่าเมียนมาร์นี่แหละคือเมืองหลวงของหินยานจริงๆ

ตอนบ่ายจ่ายเงินค่าเข้าไปเมืองพญาตองซูให้ ตม.ไทยที่ตั้งป้อมเก็บเงินอยู่หน้าเจดีย์สามองค์โดยไม่ได้รับใบเสร็จ เข้าพม่าก็จ่ายเงินให้ด่านพม่าคนละ 30 บาท แล้วก็ไปเยือนวัดเสาร้อยต้น ซึ่งสร้างขึ้นโดยการอำนวยการของหลวงพ่ออุตตมะแห่งวัดวังก์วิเวการาม (แปลว่า วัดวังกะ หรือวัดปลา) ในสมัยสีหะตุระซิทหม่องผู้เข้ามายึดพญาตองซูไปจากมอญ

วัดเสาร้อยต้นก็มีพิธีดังกล่าวเช่นเดียวกับที่วัดหลวงพ่ออุตตมะและวัดเสด็จปากทางเข้าสังขละบุรี วัดมอญทั่วไปในเมียนมาร์ก็มีพิธีนี้ทุกวัด เจอเด็กน้อยสองสามคนแต่งชุดถือศีลมาอยู่กับย่าสยายในวัดด้วย ทั้งคู่พูดภาษาไทยปร๋อเพราะเกิดเมืองไทย โตเมืองไทย และรักเมืองไทย ภาษามอญของบรรพบุรุษฟังได้ แต่พูดได้ไม่คล่องแบบเดียวกับลูกจีนในไทย ในอเมริกา

ลึกเข้าไปเกือบถึงวัดลาวด้านทิศตะวันออกติดกับ 7,000 ไร่ ที่นั่นก็มีงานบุญเหมือนกัน แต่เป็นงานบุญของลาวพม่า พญาตองซูสมัยก่อนเล็กนิดเดียว แต่พญาตองซูสมัยนี้กว้างใหญ่จริงๆ

ไปตลาดขายของฝากที่กลางเมืองพญาตองซู วันนั้นตลาดปิดจึงดูเงียบเหงา จะเปิดก็มีเพียงบางร้านเท่านั้น ที่ปิดเพราะคนไปทำบุญที่วัดกันหมด ไม่ว่า ลาว พม่า มอญหรือพม่า ขากลับมาซื้อรองเท้าที่คนไทยไปผลิตอยู่ที่ชายแดนคนละคู่สองคู่ ผมซื้อเสื้อเชิ้ตที่คนญี่ปุ่นมาทำการผลิตที่เจดีย์สามองค์ฝั่งไทย ตัวหนึ่งราคา 600 บาท แพงกว่าที่ซื้อจากเขมรที่ราคาตัวละ 100 กว่าบาท




เจดีย์สามองค์ฝั่งไทยตอนเช้าๆ มีคนพม่าข้ามมาทำงานในโรงงานกันเป็นร้อยเป็นพันคน ทุกคนถือปิ่นโตกันมาด้วยเพื่อกินกลางวัน ภาพอย่างนี้อีกหน่อยหลังจากเปิดเออีซีแล้วก็คงกลายเป็นประวัติศาสตร์ไป เหมือนที่ผมเคยอยู่ตรงนี้ตอนที่พม่ายกทัพเข้ามายึดกองบัญชาการมอญที่บ่อญี่ปุ่น มันเป็นประวัติศาสตร์เฉพาะตัวที่ผมรับรู้มันอยู่คนเดียว เพราะทุกคนหนีพม่ากันไปหมดทั้งหมู่บ้าน

กลับมารอถ่ายภาพเรือและเจดีย์ตอนโพล้เพล้ แม้ว่าวันนั้นท้องฟ้าจะมืดเพราะมีเมฆมาก แต่ก็ได้ภาพสวยแปลกไปอีกอย่าง ถ่ายภาพแล้วก็กลับมานอนที่ป้อมปี่ ซึ่งเป็นที่พักรับรองของอุทยาน

ตอนเช้ารีบตื่นแต่เช้าเพราะเมื่อวานมัวแต่โอ้เอ้ จึงไม่ได้ภาพทำพิธีสะเดาะเคราะห์ วันนี้งานเขามีตอนสามโมงเช้า แต่ผมก็ตาลีตาเหลือกมาก่อนตั้งแต่ไก่โห่ เด็กๆ ในโรงเรียนแต่งชุดมอญกันมาร่วมงานทั้งโรงเรียน ครูสาวโรงเรียนอนุบาลจูงมือเด็กมาเป็นพวง เด็กๆ เหล่านั้นไม่รู้หรอกว่างานนั้นสำคัญอย่างไร เขาคงรู้ก็แต่เพียงว่าเช้านี้ไม่ต้องเรียน

บอลลูนยักษ์ถูกจุดขึ้นเพื่อลอยเคราะห์ไปสู่อากาศ ผู้คนต่างแย่งกันถือหางที่มีของผูกติดไปด้วย ทำนองขอมีส่วนร่วมในการสงเคราะห์นี้ บอลลูนยักษ์ทำด้วยกระดาษ บางลูกมีรอยรั่วต้องเอากระดาษมาปะชุน เวลาจุดเขาเอาน้ำมันมาชุบ หลังจากน้ำมันก็เอาแท่งเทียนที่ไม่ใช้แล้วผูกติดไปเพื่อเพิ่มอากาศร้อนให้ยาวขึ้น บอลลูนจะได้ไปไกลขึ้น




หลังจากจุดบอลลูนแล้วก็ทำพิธีแห่เรือลงไปในน้ำ คนเดินถือเชือกร่วมงานด้วยเป็นพันๆ คน กำลังที่สำคัญคือเด็กนักเรียนและคนวัยกลางคน คนแก่ก็ร่วมด้วยเพราะใช้เวลาไม่มาก ขบวนนำด้วยนางรำ ตามด้วยขบวนกลอง งานนี้ถ้าขาดวงดนตรีเสียแล้วงานก็คงเงียบและไม่มีชีวิตชีวา

ผมกระโดดขึ้นเรือลากเพื่อถ่ายเรือขณะถูกชักลากลงน้ำ ผู้คนมารอส่งกันมากมาย เจ้าหน้าที่ต้องลากเรือลงมาจากล้อลากโดยใช้เวลานานพอสมควร เรือใหญ่ที่ลากแม้จะมีกำลังมาก แต่เมื่อผิดมุมเรือลอยเคราะห์ก็ไม่เขยื้อน ระหว่างนั้นก็มีคนนำเรือเข้ามารอ นำแพยางมารอ รอกินอ้อยในลำเรือลอยเคราะห์ที่มีผู้คนใส่เอาไว้นั่นเอง

เรือถูกลากมากลางลำน้ำ ผู้คนที่ลอยเรือเข้ามาเทียบก็แย่งกันขึ้นไปเอาอ้อยมาแทะกินเหมือนประเพณีชิงเปรตของปักษ์ใต้ ผมสนุกกับการบรรเลงเพลงของกลองที่เด็กๆ บรรเลงระหว่างพิธี ซึ่งใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง เสียดายที่ผมไม่ได้ร่วมงานในสมัยที่บ้านนี้เมืองนี้ยังดิบๆ จึงไม่รู้อารมณ์เปรียบเทียบ

เออ.ถ้าเคราะห์ลอยกันได้จริงผมก็อยากจะลอยเคราะห์ของกรรมกร คนไทยผู้ด้อยโอกาสที่ถูกการเมืองแบบเผด็จการไทยเล่นงานจนย่ำแย่ไปกับ “สายน้ำ” กับเขาด้วย แต่ถ้าผมทำอย่างว่าก็จะไปสวนทางกับพุทธวัจนะที่ให้ “แก้ทุกข์” ด้วยการ “แก้เหตุแห่งทุกข์” ผมเชื่อพระพุทธเจ้าอย่างไม่มีข้อสงสัยใดๆ ผมจึงไม่ทำพิธี “ลอยเคราะห์” แต่จะลอย “เหตุแห่งทุกข์” แทน




ประเพณีการลอยเคราะห์นี้เกิดขึ้นในสมัยหลานของพระเจ้าราชาธิราชแห่งเมืองหงสาวดี ลูกสาวของราชาธิราชถูกยกให้กษัตริย์แห่งเมืองตองอูของพม่าด้วยความจำใจ มีพระ 2 รูปที่นางบวชให้ช่วยให้นางกลับมายังเมืองมอญได้ และนางยกลูกสาวให้คนหนึ่งเป็นภรรยา และให้ครองสมบัติเป็นกษัตริย์มอญชื่อธรรมะเจดีย์

ต่อมากษัตริย์ธรรมะเจดีย์ต้องการให้มีการฟื้นฟูศาสนา (แบบเดียวกับที่ไทยไปเอาลัทธิลังกาวีมา) มีการส่งพระธรรมทูตไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากลังกามายังหงสาวดี แต่เรือนั้นต้องพายุอยู่กลางทะเล คนที่อยู่ข้างหลังจึงทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ด้วยเอาข้าวสารอาหารแห้งไปลอย ลอยให้ไปเป็นอาหารของคนที่อยู่ในทะเล หรือเป็นการให้ทานแก่สิ่งที่มองไม่เห็น ให้สิ่งที่มองไม่เห็นนั้นเป็นสะพานในการนำอาหารไปให้คนที่ต้องพายุอยู่กลางทะเล แต่ท้ายที่สุดเรือนั้นก็กลับมาได้อย่างปลอดภัย (โดยไม่รู้ว่าโดนพายุหรือไม่ เพราะตำนานไม่ได้บอก)

การลอยเรือสะเดาะเคราะห์ของมอญคล้ายๆ กับการลอยเรือของชาวเลที่หมู่บ้านสังกาอู้ของชาวเลเมืองกระบี่ ที่นั่นเขาจัดลอยเรือ 2 ครั้ง ใน 1 ปี ระหว่าง 1415 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 11 หรือเดือน พ.ค. และ ต.ค.

    วัตถุประสงค์ของการจัดงานก็คือการลอยความเจ็บไข้ได้ป่วยออกไปจากหมู่บ้าน
    และส่งวิญญาณบรรพบุรุษไปดินแดนดั้งเดิม และส่งวิญญาณสัตว์ที่ถูกฆ่าคืนเจ้าของ
    ในเรือที่ทำด้วยไม้ระกำของชาวเลจะมีไม้แกะสลักตัวแทนสมาชิกของครอบครัว เครื่องใช้และเตา
    ลอยแล้วต้องวิ่งกลับโดยไม่หันมามอง เพราะเดี๋ยวเคราะห์ร้ายจะคืนกลับมาหา


พิธีไม่ว่ามอญหรือชาวเล ข้อดีอันหนึ่งคือการกระชับความสัมพันธ์ของชุมชนและครอบครัว เช่นเดียวกับประเพณีบุญเดือนสิบและสารทเขมร


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.posttoday.com/กิน-เที่ยว/เที่ยวทั่วไทย/180835/ลอยเคราะห์



หมายเหตุ : ภาพที่นำมาแสดงเป็นบรรยากาศภายในอาคารพิธีลอยเคราะห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 07, 2015, 12:40:20 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: [ชมภาพ] ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ที่ “วัดไร่ขิง”
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 07, 2015, 12:07:13 pm »
0
เรือจิตะนาคะ ภาพจาก https://www.facebook.com/notes/ong-bunjoon/

มอญลอยกระทง "เรือจิตะนาคะ" บูชาพระอุปคุต (มิได้ขอขมาพระแม่คงคา)

    ประเพณีลอยกระทงของมอญ มักเรียกรวมกันว่า “ประวัติพระอุปคุต” ซึ่งคนไทยเรียกว่า พระบัวเข็ม โดยเป็นที่รู้จักดีครั้งที่มอญถวายพระบัวเข็มแด่รัชกาลที่ ๔ (ขณะทรงผนวชเป็นพระภิกษุเจ้าฟ้าฯ) สมัยรัชกาลที่ ๓ ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ พระราชพิธี ๑๒ เดือน ของรัชกาลที่ ๕ แม้มอญมิได้ลอยกระทงเพื่อบูชาพระแม่คงคาอย่างไทย แต่ก็เป็นประเพณีที่สัมพันธ์กับสายน้ำดุจเดียวกัน

   วัฒนธรรมประเพณีมอญทั้งหลาย ส่วนหนึ่งรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ผนวกเข้ากับมีอยู่แต่เดิม รวมทั้งที่รับมาแล้วปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมให้สอดคล้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมของตน และไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามแต่ วัฒนธรรมประเพณีมอญล้วนผูกพันอยู่กับความเชื่อเรื่องผีบรรพชนและความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น เช่นเดียวกับประเพณีลอยกระทงที่แม้ดูจะไม่เกี่ยวข้องกับวัตรปฏิบัติในทางพุทธศาสนา แต่ยังคงผูกตำนานความเชื่อเข้ากับประวัติพระอุปคุตตเถระ พระอรหันต์รูปสำคัญที่ชาวมอญให้ความเคารพศรัทธา ดังจะเห็นว่า ในวัดมอญเกือบทุกชุมชนและตามบ้านเรือนชาวมอญมักมีรูปพระอุปคุตตเถระเพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาอยู่ด้วยเสมอ



พระอุปคุตตเถระ มีประวัติโดยย่อมีดังนี้ คือ ท่านเกิดภายหลังพุทธกาลราว ๒๐๐ ปี ในตระกูลพ่อค้า ณ เมืองมถุรา (เมืองหลวงของแคว้นสุรเสนะ) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา มีพี่น้องครรภ์มารดาเดียวกัน ๓ คน ท่านเป็นบุตรชายคนเล็ก มีพี่ชายอีก ๒ คน บิดามารดาของท่านเป็นพ่อค้าเครื่องหอมในเมืองมถุรา ก่อนที่ท่านจะออกบวชได้ช่วยพ่อแม่ค้าขายอยู่ในตลาด การค้าขายเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก

ต่อมาได้เข้าบวรเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนา มีความตั้งใจเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยลำดับ กระทั่งบรรลุพระอรหันต์มล สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอาจารย์สั่งสอนสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน มีลูกศิษย์มากถึง ๑๘,๐๐๐ รูป ซึ่งกล่าวกันว่า โดยวิสัยแล้ว ท่านชอบจำพรรษายังสะดือทะเลกลางมหาสมุทร



ชื่อเสียงความรู้ความสามารถของท่านนั้น แพร่สะพัดไปจนถึงพระกรรณของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้โปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพุทธวิหารขึ้นทั่วชมพูทวีป ๘๔,๐๐๐ องค์ (เท่ากับจำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) มหาวิหารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “อโศการาม” โดยมีความสูงประมาณครึ่งโยชน์ ประดับประดาด้วยเพชรนิลจินดา ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ในเขตแคว้นมคธ

เมื่อแล้วเสร็จพระองค์รับสั่งให้มีการเฉลิมฉลองเป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน แต่ติดขัดอยู่ที่พญามาร คือ พระยาวัสวดี คู่อริเก่าของพระพุทธเจ้าเมื่อคราวจะตรัสรู้ โดยพญามารตนนี้เข้ามาเพื่อจะทำการช่วงชิงพระรัตนบัลลังก์ จนพระพุทธองค์ต้องตรัสเรียกนางวสุนธรา  พระแม่ธรณี ให้มาเป็นพยาน โดยบีบมวยผมน้ำกรวด (ที่พระพุทธเจ้ากระทำทุกครั้งที่ทรงบำเพ็ญกุศล) ไหลออกมาเป็นทะเลหลวงท่วมทับเสนามารทั้งหลายให้จมวอดวาย กระแสน้ำได้ซัดช้างคีรีเมขล์ให้ถอยร่นไปติดขอบจักรวาล พญามารวัสวดีตกตะลึงเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงประนมหัตถ์ถวายนมัสการ ยอมปราชัยพ่ายแพ้บุญบารมีของพระพุทธองค์



พญามารคงเล็งเห็นว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วถึง ๒๑๘ ปี คงไม่มีใครขัดขวางได้ จึงเข้ามาเพื่อทำลายพิธีเฉลิมฉลองของพระเจ้าอโศกมหาราชดังกล่าว ฝ่ายพระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้กราบอาราธนาพระอุปคุตตเถระขึ้นจากสะดืดทะเลมาปราบ พระอุปคุตเนรมิตสุนัขเน่ามีกลิ่นเหม็นคลุ้งเต็มไปด้วยหมู่หนอนยั้วเยี้ยน่าขยะแขยง เอาไปผูกไว้ที่คอของพญามาร ซึ่งแก้อย่างไรก็ไม่ออก ต้องเหาะไปหาเทพดา พระอินทร์ ท้าวจตุโลกบาลมหาราช ตลอดจนพระพรหม ก็ไม่อาจแก้พันธนาการนี้ออกได้

ในที่สุด พญามารก็ต้องจำใจกลับมาหาพระอุปคุตตเถระ กราบสารภาพผิด แต่ก่อนจะแก้เอาสุนัขเน่าออกให้ พระอุปคุตตเถระเห็นว่าควรจะมัดพญามารไว้ก่อน โดยมัดติดกับภูเขา จนกว่าพิธีการของพระเจ้าอโศกมหาราชจะเสร็จสิ้น เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้พญามารถึงกับรำพึงว่า
    “ตัวเรานี้ผจญกับพระพุทธเจ้ามานักต่อนัก ไม่เคยมีเลยว่าพระพุทธเจ้าจะทำกับเราอย่างนี้ พระอุปคุตตเถระเป็นเพียงพุทธสาวกกลับทำกับเราถึงเพียงนี้”



    พระอุปคุตตเถระจึงกล่าวว่า 
    “ดูก่อน พญามาร อาตมากับท่านเป็นคู่ทรมานกัน เพราะเหตุนี้จึงไม่มีกรุณา การกระทำโทษแก่ท่านครั้งนี้เพื่อจะยังให้ท่านมีจิตยินดีปรารถนาพุทธภูมิ และพระพุทธเจ้าได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า พระอุปคุตตเถระจะได้ทรมานพระยาวัสวดีมาร ให้ละพยศหมดความอหังการ สิ้นความร้ายกาจในอนาคต พญามารนั้นปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าในภายหน้า ขอท่านจงตั้งใจละจิตบาปเสีย อย่าได้กระทำกรรมบาปต่อไปอีกเลย”

ด้วยเหตุนี้ ชาวมอญจึงทำการสร้างรูปพระอุปคุตบูชาด้วยเลื่อมใสศรัทธาตลอดมา พระภิกษุมอญรุ่นเก่าจึงมักตั้งบูชาพระอุปคุตตเถระหรือพระบัวเข็มไว้ในถาด โดยหล่อน้ำไว้ตลอดเวลา เป็นเสมือนจำลองบรรยากาศสถานที่จำศีลภาวนาของท่าน ณ สะดือกลางมหาสมุทร คติโบราณของชาวมอญนั้นเชื่อกันว่า หากมีการจัดงานพิธีสำคัญทุกครั้ง จะต้องกราบอาราธนาพระอุปคุตตเถระออกมาตั้งบูชาด้วย เพื่อขอไม่ให้มีอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้นระหว่างการจัดงาน



การที่จะเกิดมีรูปพระอุปคุตขึ้นบูชาในโลกนี้ ตำนานของมอญกล่าวไว้ว่า ในสมัยพระเจ้านรปติ กษัตริย์แห่งเมืองหงสาวดีของมอญ เป็นผู้ชำนาญทางด้านอิทธิฤทธิ์ สามารถแสดงปาฏิหาริย์ได้ เนื่องจากเป็นผู้มีบุญญาบารมีมาก พระองค์มียานวิเศษคู่บุญบารมีอยู่ลำหนึ่ง สามารถลอยเคลื่อนที่ไปในอากาศได้ ยานวิเศษลำนี้ชาวมอญเรียกว่า “เรือจิตะนาคะ”

อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้านรปติแห่งเมืองหงสาวดีทรงนึกสนุก จึงนำ “เรือจิตะนาคะ” เหาะเหินไปมาอยู่กลางอากาศด้วยความเพลิดเพลิน กระทั่งเหาะมาถึงชายป่า ได้ประสบพระภิกษุรูปหนึ่งกำลังลุยน้ำลุยโคลนตามหนองน้ำแห้งขอด บนศีรษะมีใบบัวปกคลุมอยู่ ขณะเดียวกันยังเอาใบบัวอีกใบมาเป็นภาชนะ เที่ยวเก็บกุ้งหอยปูปลาที่เกยตื้นอยู่ตามขอบหนองน้ำ เพื่อจะนำไปปล่อยยังแหล่งน้ำใหญ่แห่งอื่น



ฝ่ายพระเจ้านรปติ เมื่อประสบเหตุดังกล่าว ทรงนึกตำหนิในใจว่า พระภิกษุรูปนี้ช่างทำกิจที่ไม่น่าดูเลย เพียงแค่นึกชั่วแวบเดียวเท่านั้น ปรากฏว่า ยานเหาะของพระองค์ถึงกับหยุดแล่นและตกลงมายังพื้นดินทันที ทำให้พระเจ้านรปติทรงทราบโดยพลันว่า พระองค์ได้ประสบเข้ากับพระอรหันต์เป็นแน่แล้ว จึงตั้งใจจะไปกราบขอขมาที่ทรงล่วงเกินท่านทางมโนธรรม แต่ปรากฏว่าพระภิกษุรูปนั้นได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย

พระเจ้านรปติจึงได้สละยานวิเศษ เพื่อแกะสลักเป็นพระพุทธรูปขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องจากขณะที่ประสบเหตุนั้นยังไม่ทันได้สังเกตรูปลักษณะหน้าตาพระภิกษุสงฆ์รูปดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร ทำให้พระพุทธรูปองค์ที่สร้างขึ้นนี้ มีเพียงใบหน้าไม่มีนัยน์ตา จมูก และปาก และยังประดับแก้วศักดิ์สิทธิ์ ๙ เม็ด โดยประดับไว้ที่หัวไหล่ ๒ เม็ด เข่า ๒ เม็ด หลัง ๒ เม็ด หน้าผาก ๑ เม็ด หน้าอก ๑ เม็ด และท้ายทอย ๑ เม็ด กล่าวกันว่าแก้ววิเศษนี้เป็นของกายสิทธิ์ที่บันดาลให้ยานวิเศษเหาะเหินไปมาในอากาศได้ ดังนั้นหากผู้ใดนำไปอมไว้ในปากก็จะสามารถบินได้อย่างนกเช่นกัน



ชาวมอญยึดถือชัยชนะแห่งการปราบพญามารของพระอุปคุตตเถระในครั้งนั้น กับทั้งการสร้างรูปเคารพของพระอุปคุตตเถระโดยพระเจ้านรปติ กษัตริย์มอญแห่งกรุงหงสาวดี เป็นนิมิตหมายในการบูชาพระมหาเถระอุปคุตตเถระ โดยในแต่ละหมู่บ้านจะร่วมกันสร้างเรือขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการจำลอง “เรือจิตะนาคะ” ของพระเจ้านรปติ ประดับประดาด้วยธงทิว แพรพรรณ ข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน บ้างตัดปอยผมบนศีรษะอันเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดของร่างกาย จบขึ้นเหนือเกล้าใส่เรือลงไปด้วย ลากเรือลอยน้ำบ่ายหน้าสู่สะดือทะเลกลางมหาสมุทร ยังสถานที่พระอุปคุตเถระจำศีลภาวนาอยู่นั้น ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จนตกทอดเป็นประเพณีลอยกระทงสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้
     
ในขณะที่ชาวไทยภาคกลางเชื่อเรื่องการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา ตลอดจนประเพณีการจองเปรียง หรือตำนานนางพระยากาเผือก อันเป็นการผสมผสานระหว่างคติของพราหมณ์ฮินดูกับพุทธศาสนา ชาวมอญ (รวมทั้งชาวพม่าและล้านนา) ล้วนสืบสานประเพณีลอยกระทงที่ผูกพันอยู่กับพระอุปคุตเถระ ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ปราบมารอันเป็นอริราชศัตรูของพระพุทธเจ้าก่อนบรรลุโสดาบัน



ที่มา https://www.facebook.com/notes/ong-bunjoon/มอญลอยกระทง-เรือจิตะนาคะ-บูชาพระอุปคุต-มิได้ขอขมาพระแม่คงคา/424727710926514



หมายเหตุ : ภาพที่นำมาแสดงเป็นบรรยากาศภายในอาคารพิธีลอยเคราะห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 07, 2015, 12:41:16 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: [ชมภาพ] ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ที่ “วัดไร่ขิง”
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 07, 2015, 12:31:43 pm »
0

สวนหย่อม ภายในวัดไร่ขิง

วัดไร่ขิง

วัดไร่ขิง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือเรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย "สมเด็จพระพุทธฒาจารย์(พุก )" มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ ระหว่างวันขึ้น13คำ ถึงแรม 3คำ เดือน5 และช่วงเทศการตรุษจีนทุกปี จะมีงานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงประจำปี ซึ่งเป็นงานใหญ่ของชาวนครปฐม เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533


สวนหย่อม ภายในวัดไร่ขิง อยากบอกว่า ที่นี่ติดพัดลมไอน้ำ เย็นชื่นใจครับ

วัดไร่ขิง หรือ วัดมงคลจินดาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพรานห่างจากกรุงเทพฯ 32 กม. มีทางเข้า 3 ทาง คือ ทางแยกหน้าสถานี ตำรวจโพธิ์แก้ว ทางแยกหน้าสวนสามพราน และทางแยกพุทธมณฑลสาย 5 วัดไร่ขิง เป็นวัดราษฎร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2334 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เรียกชื่อวัดตามชื่อตำบล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนา และล้านช้าง ตามตำนาน เล่าว่าลอยน้ำมา และอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดศาลาปูน


วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชทานนามให้ว่า วัดมงคลจินดาราม(ไร่ขิง) แต่ชาวบ้านเรียกกันเต็ม ๆ ว่า วัดมงคลจินดารามไร่ขิง จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อวัดไร่ขิงไปในที่สุด วัดไร่ขิง เป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันดี นิยมเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงกันอยู่เสมอ ทุกวันอาทิตย์จะมีตลาดนัดอาหารและผลไม้จำหน่ายหน้าวัด และที่บริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์จะมีชาวสวนพายเรือนำผลไม้มาขาย


และบริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์นี้เป็นเขตอภัยทาน ร่มรื่น มีปลาสวายตัวโตนับพันอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวสามารถซื้อขนมปังเลี้ยงปลาได้ และยังมีก๋วยเตี๋ยวเรือ (หมู) รสเลิศขายทุกวัน นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า รวบรวมของเก่าเช่นถ้วยชาม หนังสือเก่า ซึ่งชาวบ้านนำมาถวายวัดจัดแสดงไว้ ในระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี ทางวัดไร่ขิงจะจัดงานนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้น มีการออกร้านและมหรสพมากมาย


ท่าน้ำของวัดไร่ขิง เป็นเขตอภัยทาน

ประวัติ

คนรุ่นเก่าได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี (ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาสมศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)) ในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ท่านได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและวัดดอนหวาย ซึ่งเป็นบ้านโยมบิดาและมารดาของท่าน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) มรณภาพเมื่อปี วอก พ.ศ. 2427 รวมสิริอายุ 91 ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 10 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา พ.ศ. 2428 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุพิเศษวัดศาลาปูน



ดังนั้น งานทุกอย่างจึงตกเป็นภาระของพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ซึ่งเป็นหลานชายของท่าน”  แต่ไม่ทราบว่าท่านกลับมาปฏิสังขรณ์วัดเมื่อใดหรือท่านอาจจะมาในปี พ.ศ. 2453 ตอนที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุ 75 ปี และเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนรูปที่ 6 ต่อจากสมเด็จพุฒาจารย์ (พุก) อย่างไรก็ตาม ในการปฏิสังขรณ์วัดไร่ขิงในสมัยท่านอยู่ประมาณปี พ.ศ. 2427 หรือ 2453 เป็นต้นมา



สำหรับชื่อวัดนั้น มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่วัดในอดีตมีชาวจีนปลูกบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมากและนิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า “ไร่ขิง” ต่อมา เมื่อมีชุมชนหนาแน่นมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้น วัดจึงได้ชื่อตามชื่อของหมู่บ้านหรือชุมชนว่า “วัดไร่ขิง”

ในราวปี พ.ศ. 2446 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน สมเด็จฯ ได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิง และทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดมงคลจินดาราม” ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น “วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)” เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานและคงเป็นเพราะความกร่อนของภาษาจีนทำให้วงเล็บหายไป คงเหลือเพียงคำว่า “ไร่ขิง” ต่อท้ายคำว่า “มงคลจินดาราม” จึงต้องเขียนว่า “วัดมงคลจินดาราม-ไร่ขิง” แต่ในทางราชการยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงว่า “วัดไร่ขิง” สืบมาจนทุกวันนี้



ลุงเอี่ยม คนดังของวัดไร่ขิง ถวายเงินให้วัดไร่ขิงเป็นแสน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
th.wikipedia.org/wiki/วัดไร่ขิง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: [ชมภาพ] ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ที่ “วัดไร่ขิง”
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 07, 2015, 08:59:46 pm »
0
 :c017: เนื้อหาสาระ อัดแน่น เช่นเคย

  st12
บันทึกการเข้า