ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การลงโทษ "สงฆ์ผิดศีล" สมัยรัชกาลที่ 1  (อ่าน 3225 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การลงโทษ "สงฆ์ผิดศีล" สมัยรัชกาลที่ 1
« เมื่อ: มีนาคม 09, 2015, 08:42:50 pm »
0

การลงโทษ "สงฆ์ผิดศีล" สมัยรัชกาลที่ 1
โดย...สมาน สุดโต

ในสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนี้ ทรงตระหนักดีว่า คณะสงฆ์แม้ว่ามีสิกขาบทวินัยเป็นข้อบังคับ แต่เมื่อไม่มีใครว่ากล่าว ไม่มีการลงโทษอย่างรุนแรง ก็ทำให้ภิกษุสามเณรประพฤติหละหลวม ยิ่งไกลเมืองหลวงหรือไกลหูไกลตาพระเถระผู้ใหญ่แล้ว ก็ยิ่งปล่อยปละละเลยมากขึ้น ทั้งนี้เพราะว่าสภาพบ้านเมืองในเวลานั้นเพิ่งจะฟื้นตัวจากภัยสงคราม แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสิ้นสงครามเอาเสียทีเดียว ทางบ้านเมืองจะต้องเอาใจใส่กับข้าศึกศัตรูอยู่ไม่ว่างเว้น พระองค์ทรงเห็นว่าหากจะปล่อยให้พระสงฆ์เป็นอยู่อย่างเดิม การพระศาสนาก็จะเลวลง พระเกียรติยศของพระองค์ก็จะพลอยมัวหมอง จนถึงกับทรงกล่าวประณามภิกษุสามเณรเหล่านั้นว่า “มหาโจรทำลายพระศาสนา”

      :welcome: :welcome: :welcome: :welcome:

    ดังข้อความที่ปรากฏในพระราชปรารภว่า
     “...และทุกวันนี้ เป็นฝ่ายพุทธจักรวางมือเสีย ประการหนึ่งเข้าใจว่าศาสนาถึงเพียงนี้แล้ว (ไม่) เห็นจะบำรุงให้วัฒนาขึ้นได้ จึงมิได้ระวังระไวว่ากล่าวกัน ให้เกิดมหาโจรปล้นทำลายพระศาสนา ทั้งสมณะและสามเณรมิได้รักษาพระจตุปาริสุทธิศีลร่ำเรียนธุระทั้งสองประการ แลชวนกันเที่ยวเข้าตลาดแลดูสีกา มีอาการกิริยานุ่งห่มเดินเหินอย่างฆราวาส มิได้สำรวมรักษาอินทรีย์ มิได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ทายก
      ...ฝ่ายภิกษุสามเณรบาปลามก ครั้งคุ้นเคยกันเข้ากับสีกาแล้วก็เข้าบ้านนอนบ้านผิดเพลาราตรี พูดจาสีการูปชีก็มีความเสน่หารักใคร่ ทั้งสองฝ่ายสัมผัสกายกระทำเมถุนธรรมเป็นปาราชิก และลึงคเถรไถยสังวาสเป็นครุโทษ ห้ามบรรพชาอุปสมบทจะบวชมิได้เป็นภิกษุสามเณรเลย...”

    และอีกตอนหนึ่งว่า
    “บัดนี้ บัดนี้ให้พระราชาคณะ ฐานานุกรม สังฆการี ธรรมการ ราชบัณฑิตพร้อมกันชำระพระสงฆ์ซึ่งเป็นอลัชชีภิกษุ พิจารณารับเป็นสัตย์ให้พระราชทานผ้าขาวสึกออกเสียจากศาสนาเป็นคนร้อยยี่สิบแปดสักแขกเป็นไพร่หลวงใช้ราชการให้หนัก หวังมิให้ดูเยื่องอย่างกัน...”


     ans1 ans1 ans1 ans1

    ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2325 นั่นเอง พระองค์จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ออกกฎหมายเกี่ยวกับคณะสงฆ์เป็นครั้งแรกและได้โปรดเกล้าฯ ให้ออกต่อๆ กันมาหลายปีมีจำนวน 10 ฉบับ เพื่อเป็นการปกครองคณะสงฆ์ซึ่งไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยและกฎหมายของบ้านเมือง ตลอดจนถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ทั้งนี้เพื่อกวดขันความประพฤติของพระสงฆ์ ชำระพระศาสนาให้บริสุทธิ์และเป็นมาตรการในการเข้ามาควบคุมหรือลงโทษแก่ภิกษุสงฆ์ที่ชอบประพฤติก้าวล่วงพระธรรมวินัยเป็นประจำ

    :96: :96: :96: :96:

กฎหมายพระสงฆ์ที่โปรดเกล้าฯ ให้ตราไว้มีอยู่ 10 ฉบับ (ออกมาต่างปีกัน) นั้นเป็นลักษณะการประพฤติของพระสงฆ์เองที่ไม่เหมาะสม และรัชกาลที่ 1 ทรงตรากฎหมายออกมาบังคับใช้ หากพิจารณาดูความผิดอะไรบ้างที่พระสงฆ์สามเณรในครั้งนั้นกระทำกันตามที่มีปรากฏในกฎพระสงฆ์ ก็อาจสรุปได้ดังนี้
     1. เมถุนปาราชิก
     2. อทินนาทานปาราชิก
     3. เกี้ยวพานสีกา
     4. จับต้องกายหญิง
     5. นอนให้สีกาพัดวี
     6. เป็นทูตให้ฆราวาสใช้สอย
     7. เป็นหมอนวด หมอยา
     8. สงเคราะห์ฆราวาส
     9. ดูลักษณะ ดูเคราะห์
   10. เรียนรู้อิทธิฤทธิ์
   11. เที่ยวร้านตลาดดูสีกา
   12. นุ่งห่มเดินเหินกระด้างอย่างฆราวาส
   13. เที่ยวดูโขน หนัง ละคร ฟ้อนรำ
   14. เล่นหมากรุก สกา
   15. คบคฤหัสถ์ชายหญิงเล่นเบี้ย
   16. ผูกพันเรียกฆราวาสชายหญิงเป็นพ่อเป็นแม่ เคารพนอบอย่างทาส
   17. ให้มงคลด้วยมงคลสูตรเป็นต้นแก่ฆราวาสเพื่อลาภ
   18. เข้าบ้านนอนบ้านผิดเพลาราตรี...


 :41: :41: :41: :41:

ซึ่งลักษณะโทษบางอย่างที่เกิดขึ้นก็เป็นโทษที่ผิดหลักวินัยร้ายแรง เช่น อาบัติปาราชิก 2 ข้อต้นจัดว่าเป็นโทษที่ร้ายแรงขาดจากความเป็นพระภิกษุเมื่อต้องละเมิดไป แต่ในข้อหาอื่นๆ ปรากฏว่าบางข้อเป็นอาบัติเล็กน้อยสำหรับพระภิกษุ เช่น การเป็นหมอนวด หมอยา หรือแม้กระทั่งการเล่นหมากรุกสกา เหล่านี้เป็นอาบัติเล็กน้อย แต่ในฐานะทางสังคมแล้วรัชกาลที่ 1 ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างยิ่งและไม่สมควรที่พระภิกษุจะประพฤติปฏิบัติตนเช่นนั้น

แม้ธรรมวินัยได้ระบุโทษไว้น้อยทำให้พระภิกษุในขณะนั้นกล้าล่วงละเมิด จึงจำเป็นที่รัชกาลที่ 1 อาศัยกฎหมายของบ้านเมืองออกเป็นกฎข้อบังคับใช้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงเอาภาระธุระในการศาสนาเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายที่ใช้สำหรับพระสงฆ์นี้ถือว่ามีบทลงโทษที่ไม่เฉพาะตัวผู้กระทำผิดเท่านั้น แต่ยังให้ลงโทษผู้ที่เป็นบิดามารดาของพระภิกษุที่กระทำผิดนั้นด้วย ดังกล่าวตามที่ปรากฏในกฎพระสงฆ์สรุปได้ดังนี้


    1. พระสงฆ์สามเณรใดไม่ประพฤติตามกฎหมายนี้ พระสงฆ์สามเณรนั้นพร้อมทั้งญาติโยมจะต้องเป็นโทษตามโทษานุโทษ
     2. พระราชาคณะ เจ้าอธิการ ภิกษุสามเณร ฆราวาส สังฆการี ธรรมการใดไม่ทำตามกฎหมายนี้และละเลยไม่กำชับว่ากล่าวกัน ฝ่ายพระราชาคณะ ภิกษุสามเณรจะเอาญาติโยมเป็นโทษ ฝ่ายฆราวาสทั้งปวง จะต้องลงพระราชอาญาเฆี่ยนตามโทษานุโทษ
     3. บิดามารดาคณาญาติของภิกษุสามเณรที่ทำผิด รู้แล้วปกปิดความผิดลูกหลานของตัวจะเอาเป็นโทษด้วย
     4. พระราชาคณะและพระสงฆ์สามเณรทั้งปวง ผู้ใดมิได้ระวังระไวตรวจตราว่ากล่าวกันเป็นโทษเสมอด้วยสมคบพระสงฆ์สามเณรที่กระทำความผิดนั้น
     5. ภิกษุสามเณรใดเป็นปาราชิก ให้สึกเสียแล้วให้สักหน้าหมายไว้อย่าให้ปลอมบวชชีต่อไป
     6. ผู้เป็นปาราชิกแล้วปกปิดไว้ร่วมทำสังฆกรรมกับสงฆ์ ถ้าพิจารณาได้เป็นสัตย์ เป็นโทษถึงสิ้นชีวิตแล้วให้ริบราชบาทขับเฆี่ยนตีโบยญาติโยมจงหนัก
     7. พระสงฆ์ใดเป็นปาราชิกแล้วปริวัติออกเสีย ทรงพระกรุณาหาเอาโทษไม่ ถ้าพระสงฆ์ปาราชิกแล้วปกปิดไว้ ร่วมทำสังฆกรรมกับสงฆ์ พิจารณารับเป็นสัตย์ จะเอาตัวเป็นโทษถึง 7 ชั่วโคตร แล้วให้ลงพระราชอาญาญาติโยม พระราชาคณะฐานานุกรม เจ้าอธิการ อันดับ ซึ่งกระทำความผิดและละเมิดเสียมิได้ระวังตรวจตรากัน


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับบทลงโทษตามกฎสงฆ์นี้ คือ ผู้ที่จะต้องรับโทษในการทำผิดในกรณีนั้นๆ มิใช่เฉพาะตัวพระสงฆ์สามเณรผู้กระทำผิดเท่านั้น แต่ว่าบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดจะต้องโทษด้วยกล่าวคือ ถ้าเป็นผู้ปกครองหรือผู้บังคับบัญชา ก็ต้องมีโทษด้วย ฐานละเลยไม่ระวังว่ากล่าวตักเตือนถ้าเป็นญาติพี่น้องหรือผู้ร่วมสถานะเดียวกัน ก็ต้องมีโทษด้วย ฐานไม่ระวังระไวว่ากล่าวกัน ทั้งนี้คงถือว่าทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในความเสื่อมความเจริญของพระศาสนาด้วย


ขอบคุณบทความและภาพจาก
www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/351803/การลงโทษสงฆ์ผิดศีลสมัยรัชกาลที่-1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2015, 08:44:26 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การลงโทษ "สงฆ์ผิดศีล" สมัยรัชกาลที่ 1
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2015, 01:46:20 am »
0

     บทลงโทษในอดีต
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา