ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 7 เทคนิคดูแล "ลูกสมาธิสั้น" อย่างสร้างสรรค์  (อ่าน 25375 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ ชื่อว่าเป็นพ่อแม่ของลูกสมาธิสั้น หรือสมาธิบกพร่อง คงต้องรับบทหนักกันหน่อย เพราะเด็กในกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องในการใส่ใจ การคงสมาธิ ทำให้วอกแวก อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น วู่วาม หรือทำอะไรโดยไม่ทันได้คิด จึงมักประสบอุบัติเหตุจากความซน และความไม่ระวังของตัวเองอยู่บ่อยครั้ง

           
       ในเรื่องนี้ พญ.อังคณา อัญญมณี จิตแพทย์ เด็ก และวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ บอกว่า การดูแลลูกที่เป็นสมาธิบกพร่อง พ่อแม่ต้องมีความรู้ และความเข้าใจ เพราะเด็กในกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเรียน การเล่น หรืออื่น ๆ ดังนั้น เด็กไม่ได้แกล้งซน แกล้งไม่เชื่อฟัง หรือขาดความรับผิดชอบ แต่มันเป็นอาการผิดปกติการทำงานของสมอง ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
       
       "ลูกที่มีสมาธิ บกพร่อง เป็นเด็กเลี้ยงยากที่พ่อแม่มักเกิดอารมณ์หงุดหงิดได้ง่าย บางครั้งจึงใช้วิธีตีลูก เพื่อให้ลูกทำในสิ่งต้องการ แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่ลูกเป็นว่าลูกไม่ได้แกล้งดื้อ หรือแกล้งซน เมื่อเป็นเช่นนี้จะยิ่งทำให้ลูกมีอาการของตัวโรคมากขึ้น นำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าว และใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา" จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นท่านนี้กล่าว
       
       ดังนั้น พ่อแม่ของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น หรือสมาธิบกพร่อง จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก ซึ่งการตี หรือการลงโทษทางร่างกาย เป็นวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ได้ผล และจะมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธ หรือแสดงพฤติกรรมดื้อต่อต้าน จนก้าวร้าวมากขึ้น

ที่มา
Fwd mail

       
       7 เทคนิคดูแลลูกสมาธิสั้นอย่างสร้างสรรค์
       
       1. ลดสิ่งเร้า
       
       สิ่งเร้าเป็นตัวสำคัญที่ทำให้สมาธิของลูกน้อยลง ดังนั้นการลดสิ่งเร้า สมองจะไม่ถูกกระตุ้นมากเกินไป ทำให้เด็กไม่จดจ่ออยู่กับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สำคัญ นำไปสู่การมีสมาธิกับสิ่งสำคัญได้มากขึ้น
       
       สำหรับวิธีลดสิ่งเร้านั้น คุณ หมอแนะนำว่า พ่อแม่ควรจัดบ้านให้เรียบง่าย และเรียบร้อย ไม่ควรมีลวดลายสีฉูดฉาด หรือของตกแต่งบ้านมากเกินไป พร้อมทั้งจัดของให้เป็นระเบียบ เก็บของในตู้ทึบแทนตู้กระจก
       
       - ควรจัดที่เงียบ ๆ ให้ลูกได้ทำงาน หรือทำการบ้าน ต้องไม่มีเสียงโทรทัศน์รบกวน ส่วนบนโต๊ะควรมีเฉพาะสมุด ดินสอ และยางลบ
       
       - มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างสงบ พูดกับเด็กด้วยเสียงเบา ไม่ตะโกน โวยวาย รวมทั้งพ่อแม่ไม่ควรทะเลาะ หรือใช้ความรุนแรงต่อหน้าลูก
       
       - หัดให้ลูกอยู่ในบรรยากาศที่สงบ หรือทำกิจกรรมเงียบ ๆ เช่น หัดให้นั่งเล่นในสนามหญ้าเงียบ ๆ ลดการเที่ยวศูนย์การค้า ไม่ซื้อของเล่นให้มากเกินไป อีกทั้งจำกัดเวลาดูโทรทัศน์ เล่นเกม และคอมพิวเตอร์
       
       ด้านสภาพแวดล้อมที่โรงเรียน ควรจัดให้เด็กมานั่งใกล้ ๆ ครู ไม่ควรให้นั่งใกล้ประตูหน้าต่าง หรือเพื่อนที่ชอบเล่น ชอบคุย

       2. เฝ้ากระตุ้น
       
       - จำเป็นต้องมีผู้ใหญ่คอยติดตาม และตักเตือนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กเล็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ตลอดเวลา แม้จะรู้ และเข้าใจว่าควรทำสิ่งใดก็ตาม
       
       - เด็กต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่ และครูตลอดเวลา
       
       - ทำบันทึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่ และครู
       
       วิธีการกระตุ้น
       
       - เตือนเด็กเมื่อถึงเวลาทำงาน หรือเตือนเมื่อหมดเวลาเล่น
       
       - โน้ตข้อความสำคัญในที่ที่เด็กเห็นได้ง่าย เช่น กล่องดินสอ โต๊ะเรียน ผนังห้อง หรือกระดาน
       
       - ตั้งนาฬิกา หรือเครื่องจับเวลาให้เด็กเห็นชัด ๆ ขณะทำงาน เพื่อให้เด็กกะเวลาได้ดีขึ้น และตั้งใจทำงานให้เสร็จทันเวลาที่กำหนด
       
       - แบ่งงานให้สั้นลง โดยให้เด็กได้พักเป็นช่วง ๆ
       
       - แนะเคล็ดวิธีช่วยจำให้ลูก เช่น การย่อ ทำสัญลักษณ์ ผูกเป็นโคลง
       
       - ให้เด็กอ่านออกเสียง หัดขีดเส้นใต้ขณะเรียน
       
       3. หนุนจิตใจ
       
       - เด็กมักทำสิ่งต่างๆ ไม่สำเร็จ เพราะได้รับแต่คำตำหนิติเตียน หมดความมั่นใจ เด็กจึงต้องการกำลังใจอย่างมากจากพ่อแม่ และคุณครู
       
       - ระวังที่จะไม่เข้มงวด จับผิด แต่ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิด
       
       - ช่วยเด็กหาวิธีแก้ไขจุดอ่อน เช่น ขี้ลืม
       
       - หาเรื่องตลกขำขันมาคุยกับเด็ก เล่นกับเด็กอย่างสนุกสนาน หรือพาเด็กออกกำลังกายบ้าง
       
       - ชมเด็กบ่อย ๆ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี หรือมีความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ
       
       - บอกสิ่งที่สังเกตได้ในทางบวก เช่น เหนื่อยไหม แม่เห็นลูกทำมานานแล้ว วันนี้ลูกคิดได้เร็วกว่าเมื่อวานเยอะเลยนะ หรือ ทำมาได้ตั้ง 3 ข้อแล้ว เอ้าเหลืออีก 2 ข้อเองคนเก่งของพ่อ

 

 4. ให้รางวัล
       
       เด็กที่สมาธิบกพร่อง มักจะเบื่อ และขาดความอดทน แต่หากมีรางวัลตามมา เด็กจะรู้สึกท้าทาย และมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น โดยการให้รางวัล ควรให้ง่ายๆ บ่อยๆ มากกว่าที่ให้เด็กทั่วไป และต้องให้ในทันที
       
       นอกจากนี้ควรเปลี่ยนรางวัลบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้สนุก และสนใจ อาจให้เด็กได้ลองคิดรางวัลเองบ้าง หรือให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็กเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการให้แต้ม/รางวัลแก่เด็กตลอดเวลา
       
       สำหรับการให้รางวัล ถือเป็นแรงจูงใจที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กได้ โดยมีขั้นตอนการให้รางวัลง่ายๆ คือ
       
       - ระบุพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นทดแทนพฤติกรรมปัญหา (เลือกให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่มีผลต่อเด็กในระยะยาวก่อน)
       
       - ให้รางวัลกับพฤติกรรมใหม่ทุกครั้งที่เห็น
       
       - หลังจากฝึกได้ 1-2 สัปดาห์ เริ่มใช้การลงโทษแบบไม่รุนแรง เช่น Time out ตัดสิทธิ์ อดรางวัล เมื่อเกิดพฤติกรรมปัญหา
       
       - ใช้วิธีการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
       
       5. การพูดกับเด็ก
       
       - ไม่พูดมาก ไม่เหน็บแนม ประชดประชัน ไม่ติเตียน
       
       - บอกกับเด็กสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าต้องการให้ทำอะไรในตอนนี้
       
       - หากไม่แน่ใจว่าเด็กฟังอยู่ เข้าใจ พ่อแม่ควรให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่สั่ง หรือพูดไปคืออะไรบ้าง
       
       อย่างไรก็ดี หากเด็กไม่ทำตามคำสั่ง พ่อแม่ควรใช้วิธีเดินเข้าไปหา จับมือ แขน หรือบ่า สบตาเด็ก พูดสั้น ๆ จากนั้นให้เด็กพูดทวน หากเด็กไม่ทำ ให้พาไปทำด้วยกัน หลีกเลี่ยงการบังคับ หรือออกคำสั่งตรงๆ แต่ใช้วิธีบอกกับเด็กว่าเขามีทางเลือกอะไรบ้าง เช่น หากต้องการให้เด็กเริ่มต้นทำการบ้าน แทนที่จะสั่งให้เด็กทำการบ้านตรงๆ อาจพูดว่า “เอาล่ะได้เวลาทำการบ้านแล้ว...หนูจะเริ่มทำภาษาไทยก่อน หรือจะทำเลขก่อนดีจ้ะ” เป็นต้น
       
       6. นับสิ่งดี
       
       - หาเวลาหยุดพักสั้น ๆ ในแต่ละวัน
       
       - เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า เด็กไม่ได้ตั้งใจทำตัวให้มีปัญหา แต่เด็กมีความผิดปกติในการทำงานของสมอง ทำให้คุมตัวลำบาก หยุดตัวเองได้ยาก และไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้
       
       - ให้อภัยแก่เด็ก ตัวเราเอง และทุกคนที่อาจไม่เข้าใจในพฤติกรรมของลูก
       
       - คิดถึงความน่ารัก และความดีในตัวเด็ก และตัวเรา (พ่อแม่) เอง
       
       7. มีขอบเขต
       
       - มีตารางเวลา หรือรายการสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้เด็กรับรู้ขีดจำกัด และช่วยควบคุมให้เด็กทำตามง่ายขึ้น
       
       - เรียงลำดับกิจกรรมง่าย ๆ ให้ชัดเจน และแน่นอน เช่น เวลาตื่น เวลานอน เวลาทำการบ้าน อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมอื่นๆ
       
       - ไม่ปล่อยปละละเลย หรือตามใจมากเกินไป เพื่อไม่ให้เด็กสับสนและผัดผ่อนต่อรองบ่อย ๆ
       
       การ ดูแลลูกสมาธิสั้น สำคัญที่สุด พ่อแม่ต้องมีทัศนคติต่อเด็กในทางบวก ซึ่งพ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าลูกไม่ได้แกล้งซน แกล้งดื้อ จากนั้นใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมที่ไม่ทำลายความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองของ เด็กให้ลดลงตามวิธีที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อรู้จักลูกของเราแล้ว เรามาเลี้ยงเขาอย่างสร้างสรรค์กันดีกว่า
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

รีบอร์น

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 81
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
วิธีบำบัดอาการเด็กสมาธิสั้น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2010, 01:40:13 pm »
0
วิธีบำบัดอาการเด็กสมาธิสั้น

วิธีบำบัดอาการเด็กสมาธิสั้น ขอแนะเคล็ดลับวิธีการบำบัดเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ ความรักความเข้าใจในการดูแลอย่างใกล้ชิด ปรับสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู ดูแลเอาใจใส่ให้มากขึ้น

เริ่มจาก อย่าเปิดทีวีเสียงดังจนเกินไป หรือสภาพแวดล้อมในบ้านต้องไม่วุ่นวาย

-หามุมสงบสำหรับเด็ก เพื่อให้เกิดสมาธิในการทำการบ้าน

-มีการสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน หากไม่แน่ใจให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่บอกไป เพราะเด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยมีความอดทนในการฟัง

-อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย

-จัดสภาพแวดล้อมให้เกิดความเป็นระเบียบ ไม่ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง

-ส่งเสริมจุดเด่นในตัวเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกดีและเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง

-ไม่ควรจับกลุ่มให้เด็กสมาธิสั้นอยู่ใกล้ชิดกับเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะจะทำให้กลายเป็นเด็กเกเรและก้าวร้าว

-จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้ได้ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ เช่น ออกกำลังกาย เล่นดนตรี หรือสิ่งที่เด็กสนใจ

เด็กสมาธิสั้นดูแลไม่ยาก เพียงพ่อแม่มีเวลาให้.
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
องค์การอาหารและยาสหรัฐเตรียมประกาศห้าม ใช้ "ยาสมาธิสั้น"รักษาเด็กที่มีอาการซนผิดปกติให้มีสมาธิหรือนิ่งอาจส่งผลทำ ให้"ตายเฉียบพลัน" ไม่ทราบสาเหตุ อย.ควบคุมปริมาณการสั่งนำเข้ามาจำหน่ายในไทย

วารสารทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา เผยผลการศึกษา พบว่า การใช้ "ยาสมาธิสั้น" อาจสัมพันธ์กับสาเหตุของการ "ตายอย่างเฉียบพลัน"  ไม่ทราบสาเหตุในเด็ก  องค์การอาหารและยาสหรัฐ (US FDA)  เตรียมจะประกาศผลการศึกษา รวมถึงผลสรุปว่าจะห้ามใช้ยานี้หรือไม่ภายในเดือนธันวาคมปีนี้  ล่าสุดคาดว่าจะเลื่อนการรายงานไปเป็น สิงหาคม2553 ขณะที่สำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา(อย.) ติดตามเฝ้าระวังการใช้ยาอย่างใกล้ชิด  เฉพาะควบคุมปริมาณการสั่งนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ไม่ให้เพิ่มในอัตราที่เกินความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าอย.ทำให้ยาขาดแคลน จึงขอความร่วมมือสถานพยาบาลทุกแห่งให้เบิกยาแค่พอใช้หากมีการประกาศห้ามใช้ จะได้ไม่ต้องสูญเสียยามากเกินไป


นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคณะร่วมกันแถลงว่า  "ยาสมาธิสั้น" ที่ใช้รักษาเด็กที่มีอาการซนผิดปกติให้มีสมาธิหรือนิ่งมากขึ้น และ มีข่าว ว่า ขาดแคลน อย. สั่งยาเข้ามาในประเทศจำนวนน้อย  เนื่องมาจาก อย.ได้ติดตามรายงานจากวารสารทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมิถุนายน 2552  ซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐ ได้ให้มหาวิทยาลัยโคลัมเบียศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของความชุกจากผลข้างเคียงที่ เกิดขึ้นมากมายกับเด็ก โดยใช้เวลาศึกษานานพอสมควร และพบว่า


"การใช้ยาสมาธิสั้นมีความสัมพันธ์กับการเสีย ชีวิตอย่างเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐ มีความวิตกกังวลกับเรื่องนี้มาก ถึงขั้นอาจห้ามใช้ยานี้ แต่อย่างไรก็ตาม ได้ให้มีการศึกษาทบทวนอีกครั้งทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ ซึ่งเดิมจะประกาศผลการศึกษา รวมถึงผลสรุปว่าจะห้ามใช้ยานี้หรือไม่ ภายในเดือนธันวาคมปีนี้"


ล่าสุดมีรายงานเพิ่มเติมจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ คาดว่าจะเลื่อนการรายงานออกไป คาด ว่าจะทราบผลในเดือนสิงหาคม 2553 ส่วนในผู้ใหญ่จะทราบผลในเดือนตุลาคม 2553 โดยผลสรุปดังกล่าวจะทำให้ทราบว่าจะประกาศห้ามใช้ยานี้หรือไม่ ในส่วนของ อย. เอง เมื่อทราบข่าวนี้ได้เชิญราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และกรมสุขภาพจิต เพื่อปรึกษาหารือ ซึ่งผู้แทนแพทย์ทุกคนต่างแจ้งว่าสามารถควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวในไทย


อย่างไรก็ตาม อย. ต้องติดตามและควบคุมการใช้ยาสมาธิสั้น โดยเจาะจงให้แพทย์ที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น รวมทั้งให้แพทย์เพิ่มความระมัดระวังการใช้ และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของผู้ป่วยที่รับประทานยานี้ นอกจากนี้ อย.จะไม่สั่งยานี้เข้ามาเพิ่มมากจนเกินความเหมาะสมหรือผิดปกติ เพราะนอกจากจะเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคแล้ว ยังป้องกันการสั่งเข้ามาโดยเสียประโยชน์ หากมีการประกาศยกเลิกการใช้


นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการ ฯ (อย.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในไทยมียาสมาธิสั้นอยู่ 4 ตัว คือ ยา Ritalin ขนาด 10 mg. ต่อเม็ด, ยา Rubifen ขนาด 10 mg. ต่อเม็ด, ยา Concerta ขนาด 18 mg. ต่อเม็ด และยา Concerta ขนาด 36 mg. ต่อเม็ด ยาประเภทนี้กินแล้วติดได้ จึงจัดเป็นวัตถุเสพติด ในปีนี้ อย.ได้ปรับระบบการจัดซื้อยา ให้มีการแข่งขันจากบริษัทชั้นนำ เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพดีและราคาถูกซึ่งผลปรากฏว่าได้ยาจากบริษัทเดิมของ ประเทศเยอรมนี และสเปน ทั้งนี้ ทำให้ราคายาลดลงจากราคาเดิม 35 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติมีการสั่งซื้อยาดังกล่าวจาก อย.จำนวนไม่เกิน 6 แสนเม็ดต่อเดือน ในวันนี้ ( 30 พ.ย. 52 ) มียาสมาธิสั้นเข้ามาที่ อย. จำนวน 140,000 เม็ด และในช่วงสัปดาห์ถัดไป จะมียาสมาธิสั้นเข้ามาอีก 1,500,000 เม็ด ซึ่งจะเพียงพอใช้ประมาณ 2 เดือนเศษ แต่ถ้ามีการประกาศห้ามใช้จริง อย.ยังมีการเตรียมการโดยมียาตัวอื่นที่ได้รับอนุญาตทะเบียนตำรับยาและผ่าน การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแล้ว ใช้ทดแทนได้ แต่อาจมีราคาแพงขึ้น ในขณะเดียวกัน หากไม่มีการห้ามใช้ยาดังกล่าว อย.ได้มีการเตรียมนำเข้ายานี้อีก 5,400,000 เม็ด โดยจะทยอยนำเข้าให้เหมาะสม ไม่ให้มากจนเกินไป

ที่มา
http://www.rssthai.com/reader.php?r=15882&t=health
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี