เกี่ยวกับเรื่องชื่อ ธาตุ นั้น ถ้าไม่เปลี่ยนได้จะเป็นดี แต่ให้ไปทำความเข้าใจก่อน ให้รู้จักก่อน จะดีมาก
เมื่อก่อนพระอาจารย์ นั่งภาวนา พุทโธ ภาวนาเป็นภาษาไทย คือ หายใจเข้า ก็ผู้รู้ หายใจออก ก็ ผู้ตื่น หายใจเข้า
ผู้เบิกบาน ทำอย่างนี้เป็นเวลา 15 ปี แต่สุดท้ายวันหนึ่งครูอาจารย์ ของพระอาจารย์ ท่านได้สอนให้พระอาจารย์
ดำเนินจิต ด้วยการเขียน คำว่า พุทโธ ลงในสมุด ฟูลสแกรป จำนวน 7 เล่ม โดยไม่ต้องคำนึงถึงความหมาย
เพราะเรารู้ความหมายแล้ว ก็ภาวนาในใจที่รู้ก็เพียงพอ ครูอา่จารย์ ของพระอาจารย์ท่านแนะนำไว้ ให้ภาวนา
พุทโธ เหมือน ชื่อ น้ำ ตอนนั้นก็ยังไม่เข้าใจ ไปเข้าใจเล่มที่ 2 ผ่านไป 3 เดือนจึงเข้าใจ ว่าทำไมเราจะต้อง
แปลซ้ำซาก ในเมื่อเราก็รู้อยู่แล้ว ว่า พุทโธ ก็คือ พุทโธ น้ำ ก็คือ น้ำ ไม่เห็นจะต้องไปบอกว่า น้ำ คือ ของ
เหลว เป็นต้น
อธิบายอย่างนี้ จะเข้าใจไหม ? พระอาจารย์กว่าจะเข้าใจ ต้องนั่งเขียน พุทโธ ถึง 7 เล่ม เธอลองคิดเล่น ๆ
1 หน้ากระดาษฟูลสแกรป พระอาจารย์เขียน พุทโธ ได้ 520 พุทโธ ต่อหนึ่งหน้า 8 พุทโธเท่ากับ 1 นาที
1 เล่มมี 250 หน้า
520 พุทโธ x 250 = 130,000 พุทโธ
130,000 / 8 พุทโธ ต่อ 1 นาที = 16,250 นาที
16,250 นาที / 60 นาที = 271 ชม.
271 ชม. / 24 = 12 วัน ( เขียนติดต่อแบบไม่พัก )
แต่วันหนึ่ง ฉันมีเวลาให้ ประัมาณ 3 ชม. = 271 / 3 = 90 วัน
90 วัน /30 วัน = 3 เดือน
สรุป เล่มแรกที่พระอาจารย์เขียนใช้เวลาเต็มพิกัดในการเขียน พุทโธ ลงสมุด ถึง 3 เดือนด้วยกัน
คำสั่ง คูรอาจารย์ ของพระอาจารย์ให้เขียน 7 เล่ม ( ลองนึกเอาสิจ๊ะ ) ใช้เวลามากน้อยเท่าใด
สำหรับสมุดที่เขียน ก็ต้องมาดูได้ที่ัวัด นะจ๊ะ ว่าเขียนจริง หรือ ป่าว ?
แต่ผลจากการฝึกครั้งนั้น ทำให้จิตเป็นสมาธิ ในเบื้องต้นระดับที่น่าพอใจมาก ๆ
นี่เล่าความเพียร ในการเขียน พุทโธ ให้ฟังนะ.....
ดังนั้น ไม่ต้องไปแปลระหว่าง สัมปยุต จะดีที่สุด แต่ให้ทำความเข้าใจ ว่าแปลว่า อะไร ?
แต่โดยปกติ พระอาจารย์ นำศิษย์สัมปยุต แบบแปลเป็นเบื้องต้น เพราะบางท่านยังไม่คุ้นเคยกับภาษาบาลี
เจริญพร