ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "อยากลืมกลับจำ" สัญญาเป็นยาขม เบื้องต้นต้องกล้ำกลืน  (อ่าน 2496 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

อุบายสอนใจ : ธรรมะ-ยูเทิร์น โดยอิทธิโชโต

คราวที่แล้ว กล่าวถึงสัญญาทำให้เป็นทุกข์ก็ได้ เป็นสุขก็ได้ ดังนั้น ถ้าเราเห็นว่า สัญญาไม่เที่ยง สัญญาไม่มีตัวตนที่เราจะไปยึด เราก็จะปล่อยวางสัญญาได้ เมื่อมันผ่านเข้ามาในใจ ก็ปล่อยให้มันผ่านไป อย่าเก็บเรื่องราวที่ผ่านไปแล้วมาปรุงต่อให้ทุกข์

แต่จะทำได้เช่นนั้น เราต้องมีปัญญา จนเห็นสัญญาว่า ไม่ใช่ตัวเรา  แต่การจะมีปัญญาได้ ก็ต้องมาเริ่มต้นที่การฝึกฝน “สติ” อยู่ดี จนกระทั่งมีสมาธิ และความสงบนี่เอง จะทำให้เราเห็นสิ่งที่จรเข้ามาในจิตใจของเรา

     ไม่งั้นจะเรียกว่า “ความสงบ สยบทุกอย่าง” หรือ.?

เมื่อเรามีความสงบ ต่อให้สัญญามันขนทุกสิ่งทุกอย่างมาจ่อที่ใจเรา มันก็ทำอะไรใจเราไม่ได้


 :96: :96: :96: :96:

คำชมหรือ คำตำหนิหรือ ความไม่ดีจากคนนั้นคนนี้หรือ ก็เป็นเรื่องข้างนอกทั้งสิ้น เราต้องหาอุบายสอนจิตใจเจ้าของไม่ให้ไปติดบ่วงสิ่งเหล่านี้

“กองทัพ” คือ กำแพงป้องกันเมืองอย่างไร “สติ” ก็เป็นกำแพงอย่างดี ในการป้องกันข้าศึกที่จู่โจมใจเราเช่นกัน ถ้าเรามีสติ อะไรมาร้องอยู่ เห่อยู่ ก็ทำอะไรใจเราไม่ได้ ยกเว้นเสียแต่ว่า เราไปเปิดประตูใจให้ข้าศึกเข้ามาเอง หรือไม่ก็เจ้าของพังกำแพงเสียเอง คือ “ขาดสติ” เมื่อขาดสติ อะไรก็ถาโถมเข้ามาในใจเราได้หมด

“สัญญา” ก็เป็นนิวรณ์อย่างหนึ่ง เป็นความฟุ้งซ่านรำคาญ สำหรับนักปฏิบัติ ถ้ามันเกิดขึ้น ก็ให้มันผ่านเลยไป บางคนเมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้วก็เอามาคิดทั้งวันทั้งคืน ไม่รู้ว่า “สัญญา” มันก็ทำหน้าที่ของมันคือ ต้องออกหากิน และมันก็เป็นอาหารของจิตที่่ยังไม่มีกำลัง


 :41: :41: :41: :41:

สำหรับผู้ปฏิบัติเบื้องต้นที่ยังเผลออยู่ ก็ปล่อยให้สัญญาครอบคลุมจิตใจ จิตก็วิ่งไปชิมเรื่องนั้น ไปชิมเรื่องนี้ ไม่รู้จบ รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็ม สัญญาอันไหนล่ะ จิตมันก็ไปกินทั้งวัน ภาษานักปฏิบัติจึงเรียกว่า สัญญาเป็นอาหารของจิต มันชอบไปกิน กินแล้วก็เป็นทุกข์

ก็เหมือนกับหนุ่มสาวเขาจีบกัน ใหม่ๆ ชอบไหม ชอบ เป็นสุข ดีใจไหม ดีใจ ลืมความทุกข์ไปเลย แต่วันหนึ่งไม่พอใจขึ้นมา พอใจไหม ไม่พอใจ ทุกข์ไหม ทุกข์


 ans1 ans1 ans1 ans1

สรุปก็คือ ถึงที่สุดก็ทุกข์ทั้งนั้น พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า สุขเพื่อทุกข์ สุขเหมือนกินน้ำตาล กินน้ำหวาน สุขชั่วประเดี๋ยวประด๋าว ไม่ใช่สุขจริงๆ สุขเหมือนฉาบทาเอาไว้ แต่ข้างในเป็นยาพิษ  เมื่อรู้ว่ากินของมีพิษ ก็ต้องมารักษา มากินยารสขม

ยารสขมเมื่อกินเข้าไป เราไม่ติดใจอยากกินอีก เพราะมันไม่อร่อย มันขม แต่รสหวาน มันทำให้อยากกินต่อ มันก็เลยฝังอยู่ในใจคน เมื่อรู้แล้ว ไม่อยากเป็นทุกข์ จะไปใส่ใจมันทำไม กับความหวานที่ฉาบทา ก็คือ สัญญาพวกนั้น ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเก่า หรือสัญญาใหม่ก็แล้วแต่


 st12 st12 st12 st12

พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ใน ธัมมจักกัปวัตตนสูตร ว่า กามตัณหา (ความพอใจรักใคร่อันหาที่สุดมิได้) ภวตัณหา (ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่) และ วิภวตัณหา (ความไม่ยินดี ไม่พอใจกับสิ่งที่ที่ประสบ) สามอย่างนี้ไม่ใช่หรือ ที่ผูกดวงจิตของคนให้เวียนว่ายอยู่ในโลกนี้ไม่ไปไหน และทั้งหมดคือ สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ จริงหรือไม่ เราก็น้อมมาพิจารณา

เมื่อเห็นทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ พระพุทธเจ้าก็บอกหนทางในการดับทุกข์ไว้ให้หมดแล้วเช่นกัน ก็คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางไปถึงนิโรธ คือความดับทุกข์


   เราเริ่มต้นแล้วหรือยัง


ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20150912/213259.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2015, 10:58:08 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ