ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวลำลูกกาล่องเรือทอดกฐินทางน้ำ สานต่อวิถีริมคลองจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน  (อ่าน 1116 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ชาวลำลูกกาล่องเรือทอดกฐินทางน้ำ สานต่อวิถีริมคลองจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน
       
จังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและมีลำคลองต่างๆ มากมาย ซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านอาศัยลำคลองเหล่านี้เป็นเส้นทางสัญจรผ่านไปมา พร้อมทั้งการเดินเรือค้าขาย การดำเนินชีวิต จำเป็นต้องอาศัยแม่น้ำลำคลองทั้งสิ้น จนปัจจุบันถนนหนทางถูกสร้างขึ้นอย่างมากมายและทั่วถึงทุกที แม่น้ำและลำคลองต่างๆ จึงลดบทบาทลงแต่ก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ ถึงจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการสัญจรเดินทางเหมือนสมัยก่อนก็ตาม ชาวบ้านจึงมีความผูกพันธ์ต่อแม่น้ำจึงเกิดประเพณีวัฒนธรรมที่มีสายน้ำมาเกี่ยวข้องอยู่มากมาย การทอดกฐินทางน้ำก็เป็นประเพณีหนึ่งที่ชาวบ้านถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
         
ทอดกฐินเป็นทั้งประเพณีและวิถีชีวิตแบบไทยในงานบุญที่ชาวบ้านมักถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน ชาวพุทธทุกคนต่างยึดกระทำจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะต้องทอดกฐินหลังจากเทศกาลออกพรรษา ซึ่งอาจจะทอดกฐินทางบกหรือทางน้ำ ก็สุดแต่สถานที่ของวัดที่ชาวบ้านจะนำกฐินไปให้วัดไหน หากวัดอยู่ติดแม่น้ำลำคลอง ชาวบ้านก็จะแห่กองกฐินมาทางเรือเป็นขบวน พร้อมร้องรำทำเพลงเพื่อเป็นสีสันสร้างความสนุกสนานเป็นอย่างยิ่ง

         
 :25: :25: :25: :25: :25:

ประเพณีทำบุญทอดกฐิน นอกจากจะได้ทำบุญสร้างกุศลด้วยการแสดงออกซึ่งความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจประกอบกิจพิธีทางศาสนาแล้วยังเป็นโอกาสที่จะได้เดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่างถิ่น หรือต่างบ้านต่างเมือง ได้ร่วมเฉลิมฉลองในการสมโภชองค์กฐิน ทั้งได้รับความสนุกสนานจากการเที่ยวชมมหรสพต่างๆ และที่สำคัญเป็นโอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พบปะกัน ซึ่งอาจจะนำพาไปสู่การแต่งงานในอนาคต
       
การทอดกฐินทางน้ำจะเห็นได้ว่าในอดีตคนไทยใช้ชีวิตติดริมคลอง พึ่งพาสายน้ำลำคลองเป็นที่สัญจรเดินทาง  จะทำบุญตักบาตรก็ต้องอาศัยเรือเป็นพาหนะ  กฐินทางน้ำ  เป็นการทอดผ้ากฐินเหมือนทั่วๆ ไป แต่หากวิธีการนั้นต่างกันตรงที่ใช้การเดินทางทางน้ำ ใช้การล่องเรือแทนการนั่งรถ พร้อมกลองยาว แตรวง และนางรำสร้างบรรยากาศและสีสันงานบุญสนุกสนานยิ่งขึ้น

       

โดยเฉพาะอำเภอลำลูกกานี้ ตามประวัติบอกว่า แต่เดิมนั้นในท้องที่อำเภอนี้มีลำธารไหลผ่านมาบรรจบเป็นรูปตีนกา และปรากฏว่ามีนกมาอาศัยทำรังอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะที่รวมของลำธารนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง ปลา อาหารของสัตว์นานาชนิด ประชาชนจึงเรียกบึงนี้ว่าบึงลำลูกกา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นใกล้กับบึงนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2447 จึงขนานนามว่า อำเภอลำลูกกา เป็นต้นมา
   
การทอดกฐินของอำเภอลำลูกกาเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งจะทอดหลังออกพรรษา การทอดกฐินทางน้ำนั้นเป็นประเพณีที่ชาวตำบลลำลูกกาสืบทอดมากว่า 40 ปี ซึ่งเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงาม ทั้งนี้ชาวบ้านได้เตรียมเรือพร้อมตกแต่งเรือให้สวยงามด้วยดอกไม้ โดยเริ่มจากหน้าที่ว่าการอำเภอลำลูกกา ล่องเรือไปตามคลอง 7 เป็นระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร จนถึงหน้าวัดประชุมราษฎร์ ตลอดการล่องเรือมามีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองคอยกวักมือเรียกเพื่อที่จะบริจาคเงินแก่กองกฐินที่ได้แห่ตามลำคลองในครั้งนี้เป็นอย่างมาก จากนั้นนำผ้ากฐินแห่รอบโบสถ์ 3 รอบ แล้วนำไปถวายแก่พระสงฆ์เป็นอันเสร็จพิธี

   

ในวันเดียวกันหลังจากที่ชาวบ้านได้ถวายกองกฐินแก่พระสงฆ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะร่วมกันจัดการแข่งเรือซึ่งเป็นกีฬาพื้นบ้านเก่าแก่ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาโดยตลอด มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นการทำบุญ ทำกุศล คือ ชาวบ้านจะเล่นกันในเทศกาลทอดกฐิน ซึ่งจะอยู่ในเดือน 10 ถึงเดือน 12 ซึ่งระยะนี้จะเป็นช่วงฤดูน้ำมาก ชาวบ้านที่อยู่ตามที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำจะใช้เรือเป็นพาหนะ เมื่อมีงานพิธีทำบุญจะมีการแห่แหนกันทางน้ำ เพื่อนำองค์กฐิน ไปยังวัดเมื่อเสร็จพิธีการทางศาสนาแล้ว ก็จะมีการเล่นแข่งเรือกัน ซึ่งถือกันว่าผู้ที่ร่วมแข่งขันจะได้บุญทางหนึ่งด้วย
         
ด้านนายยงยุทธ มั่นบุปผชาติ นายกเทศมนตรีตำบลลำลูกกา กล่าวว่า เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงามและสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ทุกๆ ปี จึงได้มีการสนับสนุนให้ชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกิจกรรมงานบุญทอดกฐินทางเรือ และการจัดแข่งขันพายเรือพื้นบ้าน โดยให้แต่ละชุมชนร่วมมือร่วมใจกันฝึกซ้อมแสดงถึงความสามัคคีของคนในชุมชน ทั้งนี้เป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี ให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมประเพณีวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์ เมื่อนักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจก็จะมีการบอกต่อ และในปีหน้าก็จะพากันมาอีก กลายเป็นรายได้เข้ามาในชุมชนได้เป็นอย่างดี

 
พงศธรรศ รุจิพุฒธันยพัต -วีระศักดิ์ อุ้มญาติ /ปทุมธานี
http://www.banmuang.co.th/news/region/30887
ขอบคุณภาพจาก
http://resource.nationtv.tv/
http://www.rangsitcity.com/
http://www.innnews.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

           ชีวิตชาวน้ำ ใช้คูคลองสัญจร ดำรงชีพ  ดงก๋วยเตี๋ยวเรือมีมากเลยครับ

             คลองก็มีมาก เริ่มตั้งแต่คลอง1 -15  ว่ากันเริ่มตั้งแต่ ฟิวเจอร์พาครังสิต

          ยาวจนถึง องครักษ์นครนายก

              คลอง1 เริ่มนับกันที่ออกจาก ฟิวเจอร์ไป


           คลองเหล่านี้เป็นคลองพระราชดำริ

            ในหลวงต้นกรุง เอาไว้ระบายน้ำลงทะเล ไม่ให้น้ำเข้ากรุงเทพ

              แต่ตอนนี้สิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำรวมทั้งการถมที่ดินปลูกสร้างเต็มไปหมดแล้ว


          ..........น้ำ นั้นก็เลยเลี้ยวเข้ากรุงตามถนน เพราะถนนต่ำกว่า ครับ และไหลได้สะดวกกว่า


                         ยุคนี้อะไรมันก็เปลี่ยนไป
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา