ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 9 กลยุทธ์หยุดยั้งความคิดแง่ร้าย  (อ่าน 2984 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
9 กลยุทธ์หยุดยั้งความคิดแง่ร้าย
« เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2015, 08:51:59 am »
0


9 กลยุทธ์หยุดยั้งความคิดแง่ร้าย

เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทุกคนจะมีความคิดแง่ร้ายหรือความวิตกกังวลเกิดขึ้นในใจได้เสมอ บางคนอาจกังวลตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น อาหารการกิน เสื้อผ้าหน้าผม ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆในชีวิต เช่น เรื่องสุขภาพ เรื่องการเงิน การงาน ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้งเข้า ก็อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตได้เหมือนกัน
       
       แต่หากรู้จักวิธีที่จะจัดการหรือหยุดยั้งมิให้มันครอบงำจิตใจ ก็จะช่วยให้เรามีความสุขมากขึ้น ใครที่มีปัญหานี้แล้วยังแก้ไม่ตก ลองทำตาม 9 กลยุทธ์ต่อไปนี้ ที่เชื่อว่าจะช่วยหยุดยั้งความคิดร้ายๆให้สลายไปกับสายลม

        ask1 ans1 ask1 ans1

      1. วางแผนรับมือ
       การจัดการและควบคุมความคิดแง่ร้าย จะทำได้ง่ายขึ้นหากมีการวางแผนล่วงหน้า ว่าจะรับมือกับมันอย่างไร เมื่อมันผุดขึ้นในใจ และกลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือ “ถ้าความคิด X ผุดขึ้นในใจ ฉันจะทำ Y” เช่น ถ้ารู้สึกหงุดหงิดกับคนรอบข้าง ฉันจะพยายามยิ้มทุกครั้ง
       
       หรืออาจใช้วิธีง่ายๆ เช่น “ฉันจะไม่สนใจมัน” หรือแทนที่ความคิดร้ายด้วยความคิดดีๆ เช่น เมื่อรู้สึกกลัว ให้นึกถึงพระพุทธรูป หรือทุกครั้งที่ความคิดไม่ดีครอบงำจิตใจ ก็ลุกขึ้นมาออกกำลังกาย เป็นต้น

       
       2. สร้างโปรแกรมความคิดด้านดี
       การสร้างโปรแกรมความคิดดีนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะแค่คิดแต่เรื่องดีๆอยู่เสมอๆ มันก็จะกลายเป็นชุดความคิดด้านดีที่ส่งเข้าสู่สมอง เพื่อรอการเรียกใช้ และเมื่อใดที่คุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่ความคิดแง่ร้ายแวบเข้ามาโจมตีเหมือนไวรัส เช่น ถ้าคิดว่างานที่ได้รับมอบหมายนั้น “ฉันทำไม่ได้แน่ๆ” ก็อย่าลืมเอาโปรแกรมความคิดด้านดีออกมาฆ่าไวรัสซะ โดยคิดว่า “ไม่มีอะไรเกินความพยายามของฉันไปได้อย่างแน่นอน”

       
       3. เลื่อนความคิดร้ายออกไป
       แม้ว่าคุณอาจต้องเผชิญกับความคิดไม่ดีในเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ก็มิได้หมายความว่า จำเป็นต้องจัดการกับมันในทันที เพราะหากมันเกิดขึ้นขณะที่คุณกำลังทำภารกิจอื่นอยู่ ก็ไม่ต้องตกใจ ตั้งสติและบอกตัวเองว่า ไม่เป็นไร ค่อยจัดการทีหลัง
       
       ข้อสำคัญ อย่าผิดสัญญากับตัวเอง เพราะการหลบหนีความกังวล ยิ่งจะทำให้มันมีพลังมากขึ้น ควรหาวิธีจัดการเมื่อคุณมีเวลาและพลังใจมากพอ

       
       4. กำหนดช่วงเวลา
       หากคุณมัวแต่ใช้เวลาคิดวิตกกังวลเรื่องเดิมๆอยู่ทั้งวัน ชีวิตคงไม่เป็นสุขแน่ ทางที่ดีควรกำหนดช่วงเวลาที่จะจัดการกับเรื่องเลวร้ายเหล่านั้น แล้วเอาเวลาที่เหลือไปคิดทำอย่างอื่น
       
       ควรระวัง... อย่าใช้เวลาจัดการเรื่องวิตกกังวลในตอนเช้า เพราะคุณคงไม่ต้องการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยสิ่งไม่ดี ขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรกำหนดช่วงใกล้เวลาเข้านอน มิฉะนั้น คุณคงนอนไม่หลับแน่ๆ เพราะร่างกายต้องการผ่อนคลายอย่างน้อย 1 ชม. ก่อนเข้านอน เพื่อจะได้หลับสบายทั้งคืน

       
       5. จดบันทึก
       บางครั้งการเขียนความรู้สึกนึกคิดด้านลบลงบนกระดาษ จะช่วยให้คุณเห็นปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และยังเป็นการนำความคิดไม่ดีออกจากสมองของคุณด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผ่อนคลายลง แต่หากมันยังคงตามหลอกหลอนอยู่อีกละก็ จับมันมาขังไว้ในไดอารี่ทุกวัน แล้วคุณจะประหลาดใจว่า มันไม่สามารถคุกคามคุณได้อีกต่อไป

       

       6. อยู่ท่ามกลางคนคิดบวก
       การอยู่ท่ามกลางคนขี้บ่นและมองโลกในแง่ร้าย คุณก็มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเช่นนั้นด้วย ทางที่ดีควรออกห่างคนเหล่านั้น และใช้เวลาอยู่กับกลุ่มคนที่จะทำให้คุณรู้สึกดีๆในชีวิต
       
       เพราะการอยู่ในแวดวงคนที่มองโลกในแง่ดีนั้น สิ่งที่คนเหล่านี้พูด คิด ทำ ทางด้านบวก จะส่งผลต่อพฤติกรรมของคุณให้เป็นบวกตามไปด้วย และเมื่อการพบปะสนทนาไม่มีเนื้อหาด้านลบมาเกี่ยวข้อง คุณก็จะไม่ติดนิสัยคิดแต่เรื่องที่เลวร้าย

       
      7. มองผลลัพธ์ในด้านดี
       บ่อยครั้งที่เราไม่สามารถหยุดยั้งความวิตกกังวลได้ แต่แทนที่จะพยายามไม่นึกถึงมัน ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเครียดตลอดเวลา ขอแนะนำให้ทำตรงกันข้าม คือ ลองมโนถึงผลลัพธ์ดีๆที่อาจเกิดขึ้นต่อจากนั้น ว่ามันจะจบลงด้วยดี เช่น หมอนัดตรวจเลือด แล้วคุณกังวลว่า ไขมันในเลือดจะสูงเกินไป ควรคิดใหม่ว่า ถ้าไขมันสูงก็เป็นโอกาสดีที่จะหันมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น แล้วก็ใช้เวลานี้มาวางแผนว่าคุณจะทำอะไรบ้าง เช่น ปรับเปลี่ยนอาหาร ออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยคลายเรื่องกังวลลงได้บ้าง

       
       8. ปล่อยให้มันเป็นไป
       งานวิจัยเผยว่า บางครั้งยิ่งพยายามไม่คิดถึงเรื่องเลวร้ายมากเท่าไหร่ ใจของเราจะยิ่งจดจ่อกับมันมากเท่านั้น จนกลายเป็นคนย้ำคิดแต่เรื่องร้ายแรงมากขึ้น ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ฟังดนตรีเพื่อกลบเกลื่อนความคิดร้าย ในที่สุดก็จะฟังดนตรีอย่างไม่มีรสชาติ
       
       เพราะฉะนั้น ทุกครั้งเมื่อความวิตกกังวลหรือความคิดแง่ร้ายผุดขึ้นในใจ อย่าพยายามหลบหลีก แต่ปล่อยให้มันเป็นไป และสุดท้าย ใจของคุณก็จะหันเหไปหาสิ่งอื่นที่ทำให้ทุกข์น้อยกว่าได้เอง

       
       9. ฝึกทำสมาธิ
       การทำสมาธิถือเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการทำจิตให้ว่าง หลุดพ้นจากความคิดทั้งหลาย ไม่ว่าจะดีหรือเลว แม้ว่าการทำสมาธิครั้งแรก คุณอาจจะยังไปไม่ถึงจุดนั้น แต่เมื่อได้ฝึกฝนอย่างถูกต้องเป็นประจำ การทำสมาธิจะเป็นหนทางช่วยหยุดยั้งความคิดแง่ร้ายที่ส่งผลเสียต่อตัวเองได้
       
       ดังนั้น คราใดที่ความคิดไม่ดีผุดขึ้นในใจ ลองหาที่เงียบสงบ นั่งในท่าที่สบาย หลับตาทำสมาธิ เฝ้าดูอารมณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น โดยไม่รู้สึกร่วมไปกับอารมณ์นั้นด้วย จนมันจางหายไป

       
จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 178 ตุลาคม 2558 โดย ประกายรุ้ง
http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9580000110548
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 9 กลยุทธ์หยุดยั้งความคิดแง่ร้าย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2015, 09:54:40 am »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 9 กลยุทธ์หยุดยั้งความคิดแง่ร้าย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2015, 08:32:55 pm »
0

       ต้องฝึกสติ-สมาธิ ให้มากครับ จะได้ทันกิเลส และเห็นกิเลส
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา