สัทธา เป็น สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ ใจแช่มชื่น ให้มีเป้าหมาย ให้มีความผูกพัน ให้มีความรู้สึกว่า มีคุณค่า
( ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อ )
ศีล เป็น สิ่งที่จำเป็นต่อการมีชีวิต ของ สังคม ถ้าเราอยู่คนเดียวได้ในโลก ก็ไม่จำเป็นต้องมีศีล แต่ศีล จำเป็นต้องมีเพราะศีล ยุติการเบียดเบียน ซึ่งกันและกัน ศีลจึงเป็นธรรมอันแรก ของความเป็น มนุษย์
พาหุสัจจะ เป็น ดังวัฒนธรรม เมื่อ สัทธา กับ ศีล รวมกัน จะเกิดวัฒนธรรม ขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบ พาหุสัจจะ นั้นก็คือ ความจริงที่มีผลมาก ต่อการดำเนินชีวิต นั่นหมายถึง วัฒนธรรม แนวทาง การศึกษา ระบบ วิวัฒนาการ
วิริยารัมภะ หมายถึง ความคงเส้นคงวา การกระทำที่เสมอต้น เสมอปลาย การสร้างค่านิยม ที่ไปแนวเดียวกัน วิริยารัมภะ จึงหมายถึง อารยธรรม
ปัญญา หมายถึง การเห็นคุณประโยชน์ ของสิ่งที่ทำอยู่ คุณประโยชน์ ในโลกมีสองอย่างคือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ส่วนรวม แต่ ปัญญาจึงจำแนก ประโยชน์ที่ตน ที่ส่วนรวม กระทำได้สองแบบ คุณประโยชน์ กับจิตใจ โดยตรง กับคุณประโยชน์ทางกาย
เช่น เราประดิษฐ์ สิ่งของอำนวยความสะดวก นี้เรียกว่าปัญญา ไม่ใช่ ความรอบรู้ ( พาหุสัจจะ )
ทั้งหมดอธิบาย ในแนวทาง ที่ไม่เกี่ยว พุทธศาสนา แต่เป็นแบบ วิถีแห่งมนุษย์ นะ
เดี๋ยวตอนต่อไป จะอธิบาย ในเชิงกรรมฐาน