« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2015, 07:05:28 am »
0

" อะจิรัง วะตะยัง กาโย กายนี้ ไม่เที่ยง หนอ "
วันนี้ปรารภธรรม ใน วันธรรมสวนะ ด้วยคุณธรรมของพระสกิทาคามี สำหรับ พระสกิทาคามีนั้น คุณธรรม และธรรมที่แล่นไปในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นไปเพื่อการทำลาย กิเลสสองประการ คือ ความขัดเคือง ไม่พอใจ ประการหนึ่ง ความหลง ยึดติด ในกายว่าสวยว่างาม นี้อีกประการหนึ่ง ดังนั้นคุณธรรมอ่อน ๆ ถึงแข็ง ของพระสกิทาคามี ก็คือ การที่มี ปฏิฆะ เบาบาง และ กามราคะ เบาบาง ในที่นี้คำว่า เบาบางนั้น จัดได้ว่า ยังมี ปฏิฆะอยู่ และ ยังมีการราคะ อยู่ นั่นเอง อันที่จริงคู่แห่ง บุรุษที่สองนั้นเป็นคุณธรรมระหว่าง พระโสดาบัน กับ พระอนาคามี คล้ายๆ กันกับ พระปีติ และ พระสุข
จะเปรียบแล้ว พระสกิทาคามี อยู่ท่ามกลาง ของ พระโสดาบัน แล พระอนาคามี
ส่วน พระยุคลธรรม นั้น ก็อยู่ระหว่าง พระธรรมปีติ และ พระสุขสมาธิ
คุณธรรมตรงนี้ จัดได้ว่า เป็น คู่ที่พิเศษ เพราะแตกต่างจากพระโสดาบัน ทั่วไป คือ พระโสดาบัน ยังมีสิทธิ์ เลือกได้ว่ จะ นิพพาน ในอีกกี่ชาติ ตามปรารถนา คือ 7 ชาติ บ้าง 3 ชาติ บ้าง 1 ชาติ บ้าง ซึ่ง มีนิพพาน ที่ยังไม่ชัดเจน แต่ มีคุณธรรม ของเทวดาที่ชัดเจน คือ หิริ และ โอตตัปปะ
ส่วนพระสกิทาคามีนั้น เป็นคู่ที่มีนิพพาน ชัดเจน มีจิตตรงต่อพระนิพพาน ไม่เกาะเกี่ยวความต้องการในภพชาติ ต่อไป พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ ในธชัคคสูตรไว้ว่า เป็นบุรุษที่สอง ชื่อ อุชุปฏิปันโน แปลว่า ผู้ปฏิบัติตรง คำว่า ตรงในที่นี้ ก็คือตรง ต่อพระนิพพาน คุณสมบัติเด่นของพระสกิทาคามี ที่ใช้องค์บริกรรมประจำ ๆ นั้น ก็คือ พระอุปสมานุสสติ คือ ระลึกถึงพระนิพพานประการหนึ่ง กายคตาสติ มีสติตามดูกายเป็นประจำ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งบาทแห่งการพิจารณกายว่า เป็นดั่งว่าธาตุ เมตตานุสสติกรรมฐาน ตั้งจิตรักปรารถนาให้ทุกชีวิตมุ่งสู่พระนิพพานประกอบด้วยความรักและสงสาร ต่อสัตว์ที่มีชีวิตในฐานเดียวกัน คือ รักและปรารถนาดี คุณธรรม 4 ประการนี้ นับว่า เป็นคุณธรรม และ พระกรรมฐานที่ สกิทาคามีใส่ใจอยู่จนกว่า จะเป็นพระอนาคามี นั่นเอง
เมื่อจิตของพระสกิทาคามี ละ ปฏิฆะสัญญา และ การราคะ สัญญาได้แล้ว ก็สำเร็จเป็น พระอนาคามี ชื่อว่า ผู้ไม่กลับมายังโลกนี้อีก เพราะว่า ปฏิฆะสัญญา และกามราคะ อาศัย รูปหยาบ เป็นที่เกิด แต่เมื่อจิตของพระสกิทาคามี ละความยึดถือ ต่อรูปหยาบแล้ว จิตจึงละการปรุงแต่งทางรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 5 ประการ คงเหลือ แต่ อารมณ์ ที่ยังยึดถือ กิเลสบาง ๆ อีกไม่กี่ตัว คือ รูปราคะ ( รูปฌาน ) อรูปราคะ ( อรูปฌาน ) มานะ อุทธัจจะ ( ความฟุ้งซ่านในการสร้างกุศล ) อวิชชา
ที่นี้มาพูดถึง วิธีการปฏิบัติ แบบ พระสกิทาคามี ทำอย่างไร ?
1. เมตตา ตั้งจิตภาวนา เมตตานุสสติกรรมฐาน กองเดียว เท่านั้น เพียงพอ ในกรรมฐาน ใช้การแผ่ ทิศาผรณา เท่านั้นไม่ใช่การแผ่ให้ตนเองอย่างเดียว แต่ต้องแผ่ถึง ขึ้น ออกทิศทั้ง 10 เป็น ทิศาผรณา
2. กายคตาสติ การตามดูกาย ทั้ง 32 เลือกส่วนใด ส่วนหนึ่ง สำหรับ พระอาจารย์ เองนั้นเลือก ตะโจ คือ หนัง กองกรรมฐาน กองนี้ เมื่อใช้แล้ว จะเห็นปฏฺิกูล มาก ๆ ก็ต้องเกลือกกลั้ว กับปฏฺิกูล นิสัย พระอาจารย์เป็นคนรักสะอาด อาบน้า โกนหนวด โกนผม ดูแลความสะอาดอย่างพิถีพิถัน แต่เมื่อเจริญกรรมฐานกองนี้ ครูท่านสั่งให้แบบสวนทาง คือ ไม่ให้อาบน้ำ ไม่ให้โกนหนวด ไม่ให้สระผม แค่วันเดียวเราก็อึดอัด แต่ คุณธรรมเพิ่ม ความอึดอัดที่เกิดนั้น เพราะว่า เรารังเกียจปฏฺิกูล เพราะเราคิดว่า ตัวเองนั้นไม่ใช่ ปฏฺิกูล นั่นเอง จึงหลงว่าตนเองหล่อ ตนเองสวย ตนเองงาม จึงพอใจในรูปที่ เสียงที่มี รสที่มี กลิ่นที่มี สัมผัสที่มี แต่เมื่อจิตมันรับทราบเพราะความอึดอัด และเห็นว่า กายนี้ก็เป็นปฏิกูล เช่นกัน จิตที่ชอบสะอาด กับ จิตที่ไม่ชอบความสกปรก มันก็คืออันเดียวกัน นั้่นก็คือ เพราะเราไม่เห็นความเป็นปฏฺิกูล นั่นเอง
( ที่จริงแล้วส่วนอธิบาย ได้เยาว มาก แต่เอาเท่านี้พอ )
3. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การหมั่นตั้งการพิจารณกาย ตามหลักมหาสติปัฏฐาน
3.1 การพิจารณากองลมหายใจเข้า หายใจออก
3.2 การตั้งสติไปในอิริยาบถใหญ่
3.3 การตั้งสัมปชัญญะ ไปในอิริยาบถย่อย
3.4 การพิจารณาความเป็นธาตุ
3.5 การพิจารณากายเป็นของปฏิกูล
3.6 การตั้งสติไว้ในกายภายใน การทำสติไปในกายในภายนอก
4. การตั้งจิตไปสู่ พระนิพพานเป็น อารมณ์ ( การเข้าผลสมาบัติ ) ของพระโสดาบัน เมื่อจิตของพระโสดาบันเข้าผลสมาบัติ คือ นิพพาน ในระดับในของพระโสดาบันแล้ว จิตจะรู้ความจริงว่า การปรุงแต่ง ทางจิตยังมีอยู่ ยังไม่ใช่ที่สุด นั่นเองจิตของพระโสดาบันที่เข้า สู่ผลสมาบัติ ก็จะรู้กิจที่ควรละ นั่นก็คือ ปฏิฆะ และ กามราคะ สองประการนี้ นั่นเอง
ดังนั้นการตั้งสติ ระลึกไปในกาย มองเห็นกายนี้ ไม่เที่ยง ไม่สะอาด เป็นเพียงสักว่าธาตุ ไม่มีธาตุอันสวย อันงาม เป็นเพียงธาตุแห่งความเปล่านั้น เป็นสภาวะจิต ของพระสกิทาคามี ผู้ใดปฏิบัติถึงตรงนี้ มองเห็นความจริงตามนี้ และ ยังคงเส้นคงวา ปฏิบัติคุณธรรม ส่วนนี้อยู่ขออนุโมทนา ด้วย กับความสำเร็จ
ส่วนผู้ใดปฏฺบัติยังไม่ถึงตรงนี้ แม้มีจิตชื่นชมแต่การละกิเลส ของพระโสดาบันที่พยายาม ละกิเลส อยู่นั้น ก็ขอให้ท่านได้มีดวงตาเห็นธรรม ถึงความรุ่งเรืองของพระสกิทาคามี ในอนาคตเทอญ
เจริญธรรม / เจริญพร