พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า 366-367 อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
----------------------------------------------------------------------------------
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
สรุปความ
ด้วยลำดับคำมีประมาณเพียงเท่านี้ กัมมัฏฐาน ๒๑ คือ อานาปานบรรพ ๑ จตุอิริยาบถบรรพ ๑
จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ จตุธาตุววัฏฐานะ ๑ สีวถิกา ๙ เวทนานุปัสสนา ๑ จิตตานุปัสสนา ๑
นีวรณปริคคหะ ๑ ขันธปริคคหะ ๑ อายตนปริคคหะ ๑ โพชฌงค์ปริคคหะ ๑ สัจจะปริคคหะ ๑
บรรดากัมมัฏฐาน ๒๑ นั้น กัมมัฏฐาน ๑๑ คือ อานาปาน ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ วีสถิกา ๙ เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน
( กัมมัฏฐานที่ทำให้เกิดอัปปนาสมาธิ หรือ ฌานได้ ) ที่เหลือเป็น อุปจารกัมมัฏฐาน ( กัมมัฏฐานที่ทำให้เกิด
ได้แค่ อุปจารสมาธิ คือไม่ถึงฌาน ) และ ความตั้งมั่น ( เอกัคคตาเจตสิก คือสมาธิ ) ย่อมเกิดในกัมมัฏฐานทั้งหมด
อานิสงส์
คำว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ผู้หนึ่ง ไม่ว่า ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ( ที่เป็น ภัพพาคมนบุคคล ) คำว่า เอวํ ภาเวยฺย ความว่า พึงเจริญตามลำดับภาวนาที่กล่าวมา
แล้วตั้งแต่ต้น คำว่า ปาฏิกงฺขํ ความว่า พึงหวังได้ พึงปราถนาได้ เป็นแน่แท้ คำว่า อญฺญา หมายถึง พระอรหัต
คำว่า สติ วา อุปาทิเสเสความว่า อุปาทิเสสวิบากขันธ์ ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้าไปยึดไว้เหลืออยู่ ยังไม่สิ้นไป
คำว่า อนาคามิตา แปลว่าความเป็นพระอนาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่สั่งสอนเป็นธรรมนำ
ผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์โดย๗ ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงเวลา ( ปฏิบัติ ) ที่น้อยไปกว่านั้นอีก จึงตรัสว่า ติฏฺฐนฺตุ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปี จงยกไว้ดังนี้เป็นต้น ก็คำนั้นแม้ทั้งหมด ตรัสโดยเวไนยบุคคลปานกลาง
แต่ที่ตรัสว่าบุคคลรับคำสั่งสอนเวลาเช้า บรรลุคุณวิเศษเวลาเย็น รับคำสั่งสอนเวลาเย็น บรรลุคุณวิเศษเวลาเช้า ดังนี้
ทรงหมายถึง บุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คำสั่งสอนของเรานำผู้ปฏิบัติออกจาก
ทุกข์อย่างนี้แล้วเมื่อจะทรงยังเทศนาที่ทรงแสดง ด้วยธรรมอันเป็นยอด คือพระอรหัตให้จบลงในฐานะ ๒๑ ประการ
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางดำเนินอันเอก เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ
และปริเทวะเพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน นี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการ
ฉะนี้ คำอันใด อันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ คำนั้นเราอาศัยทางอันเอกนี้กล่าวแล้ว
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุสามหมื่นรูป ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล.
จบ อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า 366-367 อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
----------------------------------------------------------------------------------
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
สรุปความ
ด้วยลำดับคำมีประมาณเพียงเท่านี้ กัมมัฏฐาน ๒๑ คือ อานาปานบรรพ ๑ จตุอิริยาบถบรรพ ๑
จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ จตุธาตุววัฏฐานะ ๑ สีวถิกา ๙ เวทนานุปัสสนา ๑ จิตตานุปัสสนา ๑
นีวรณปริคคหะ ๑ ขันธปริคคหะ ๑ อายตนปริคคหะ ๑ โพชฌงค์ปริคคหะ ๑ สัจจะปริคคหะ ๑
บรรดากัมมัฏฐาน ๒๑ นั้น กัมมัฏฐาน ๑๑ คือ อานาปาน ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ วีสถิกา ๙ เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน
( กัมมัฏฐานที่ทำให้เกิดอัปปนาสมาธิ หรือ ฌานได้ ) ที่เหลือเป็น อุปจารกัมมัฏฐาน ( กัมมัฏฐานที่ทำให้เกิด
ได้แค่ อุปจารสมาธิ คือไม่ถึงฌาน ) และ ความตั้งมั่น ( เอกัคคตาเจตสิก คือสมาธิ ) ย่อมเกิดในกัมมัฏฐานทั้งหมด
อานิสงส์
คำว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ผู้หนึ่ง ไม่ว่า ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ( ที่เป็น ภัพพาคมนบุคคล ) คำว่า เอวํ ภาเวยฺย ความว่า พึงเจริญตามลำดับภาวนาที่กล่าวมา
แล้วตั้งแต่ต้น คำว่า ปาฏิกงฺขํ ความว่า พึงหวังได้ พึงปราถนาได้ เป็นแน่แท้ คำว่า อญฺญา หมายถึง พระอรหัต
คำว่า สติ วา อุปาทิเสเสความว่า อุปาทิเสสวิบากขันธ์ ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้าไปยึดไว้เหลืออยู่ ยังไม่สิ้นไป
คำว่า อนาคามิตา แปลว่าความเป็นพระอนาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่สั่งสอนเป็นธรรมนำ
ผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์โดย๗ ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงเวลา ( ปฏิบัติ ) ที่น้อยไปกว่านั้นอีก จึงตรัสว่า ติฏฺฐนฺตุ
ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปี จงยกไว้ดังนี้เป็นต้น ก็คำนั้นแม้ทั้งหมด ตรัสโดยเวไนยบุคคลปานกลาง
แต่ที่ตรัสว่าบุคคลรับคำสั่งสอนเวลาเช้า บรรลุคุณวิเศษเวลาเย็น รับคำสั่งสอนเวลาเย็น บรรลุคุณวิเศษเวลาเช้า ดังนี้
ทรงหมายถึง บุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คำสั่งสอนของเรานำผู้ปฏิบัติออกจาก
ทุกข์อย่างนี้แล้วเมื่อจะทรงยังเทศนาที่ทรงแสดง ด้วยธรรมอันเป็นยอด คือพระอรหัตให้จบลงในฐานะ ๒๑ ประการ
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางดำเนินอันเอก เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ
และปริเทวะเพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน นี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการ
ฉะนี้ คำอันใด อันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ คำนั้นเราอาศัยทางอันเอกนี้กล่าวแล้ว
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุสามหมื่นรูป ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล.
จบ อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร