ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดปูม‘พุทธมณฑลปัตตานี’ รัฐถอย-กระแสต้านในพื้นที่  (อ่าน 1021 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




เปิดปูม‘พุทธมณฑลปัตตานี’ รัฐถอย-กระแสต้านในพื้นที่

พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังมีกระแสในโซเชียลมีเดียคัดค้านโครงการจัดสร้าง “พุทธมณฑลประจำจังหวัดปัตตานี” ซึ่งผลักดันโดยหน่วยงานรัฐหลายหน่วยในพื้นที่บนที่ดินงอกปากอ่าวปัตตานี เนื้อที่ราว 100 ไร่ โดยพื้นที่เตรียมใช้จัดสร้างอยู่ด้านหลังสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ปัตตานี ซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ประจำเมือง ติดริมทะเลบริเวณอ่าวปัตตานี ปัจจุบันเป็นที่ดินเปล่าขนาดใหญ่จากการงอกของแผ่นดิน ตั้งอยู่หมู่ 6 ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี


 ans1 ans1 ans1 ans1

โครงการเก่า-คิดมานาน 14 ปี

โครงการนี้มีดำริมาตั้งแต่ปี 2545 แต่มีอุปสรรคปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะด้านงบประมาณและการคมนาคม จึงไม่ได้เริ่มก่อสร้าง แต่เดิมกำหนดพื้นที่ไว้ที่บ้านมะพร้าวต้นเดียว อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นที่ดินติดทะเลเช่นกัน แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเตรียมใช้พื้นที่ดังกล่าวแทน

แนวคิดนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เมื่อคณะทำงานได้จัดประชุมกันเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมวัดตานีนรสโมสร พระอารามหลวง อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยมี “ภาณุ อุทัยรัตน์” เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธาน และมีหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเข้าร่วมประชุม รวมทั้ง พระสิริจริยาลังการ เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี ที่ประชุมได้หารือกันถึงการกำหนดพื้นที่จัดสร้าง, การพิจารณาร่างคำสั่งแต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ รวมทั้งพิจารณารูปแบบการจัดสร้างที่คาดว่าจะมีลักษณะสังเวชนียสถาน 4 ตำบล, รูปแบบของพระประธาน, ฐานองค์พระประธาน และรูปแบบการระดมทุน

เจ้าหน้าที่ระดับสูงซึ่งรับผิดชอบโครงการนี้ เปิดเผยว่า การระดมทุนได้รับความร่วมมือจากบริษัทไปรษณีย์ไทย เพื่อออกไปรษณียบัตรจำหน่ายใบละ 20 บาท จำนวน 10 ล้านบาท ให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญ โดยตอบกลับไปรษณียบัตรถึงเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี เมื่อหักค่าใช้จ่ายของไปรษณียบัตรและอื่นๆ แล้ว คาดว่าจะได้เงินประมาณ 160-170 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้สร้างพุทธมณฑลประจำจังหวัดปัตตานี โดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากรัฐ


 :25: :25: :25: :25:

เตือนกระทบพัฒนา-คุยสันติสุข

อย่างไรก็ตาม แนวคิดสร้างพุทธมณฑลประจำจังหวัดปัตตานี ถูกคัดค้านจากหลายฝ่าย ทั้งในโซเชียลมีเดีย ที่จัดทำแบนเนอร์ “เราไม่เห็นด้วยกับการจัดสร้างพุทธมณฑล จ.ปัตตานี” และนักวิชาการมุสลิม ตลอดจนผู้นำศาสนา

“วรวิทย์ บารู” อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี และอดีตผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า ถ้าคิดว่ามีอำนาจอยู่ในมือก็คงสร้างได้ แต่ถ้าดูความเหมาะสมแล้วคิดว่าไม่น่าจะเหมาะสม เพราะทุกคนแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านก็รู้ว่าพื้นที่นี้มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ที่นี่เคยเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมุสลิมมากที่สุดและเข้มแข็งที่สุดของประเทศไทยจนกลายเป็นความเชื่อมั่นของมุสลิมทั่วโลก รัฐบาลในอดีตและปัจจุบันจึงใช้โอกาสนี้สร้างเป็นแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อการส่งออก

ฉะนั้นหากมาสร้างอะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นสัญลักษณ์เปลี่ยนไปจากเดิม อาจสุ่มเสี่ยงต่ออนาคตการพัฒนาพื้นที่ รวมทั้งเวทีการพูดคุยเพื่อสันติสุขกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐที่กำลังเริ่มต้นด้วย เหตุนี้จึงอยากให้มีการทบทวนหรือกลับไปถามประชาชนในพื้นที่ก่อนว่าคิดอย่างไร และขอฝากถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องว่า จะสร้างพุทธมณฑลไปเพื่ออะไร มีความสำคัญต่อพี่น้องที่นับถือศาสนาพุทธอย่างไร เพราะยังมีกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพุทธศาสนาได้อีกหลายทาง แทนที่จะมุ่งสร้างสัญลักษณ์ของความเป็นพุทธศาสนาในพื้นที่จนอาจกลายเป็นปมของความขัดแย้ง


 :96: :96: :96: :96: :96:

ผู้นำศาสนายันมุสลิมรับไม่ได้

ขณะที่ “แวดือราแม มะมิงจิ” ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี และประธานเครือข่ายคณะกรรมการอิสลาม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า อยากให้ทำความเข้าใจและสอบถามความเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนจะจัดสร้าง ส่วนความรู้สึกของคนมุสลิม การสร้างพระพุทธรูปในพื้นที่ถือเป็นเรื่องใหญ่ มุสลิมคงรับไม่ได้ที่จะมีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่ผ่านมาใน ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ก็มีการสร้างวัดขึ้นมาใหม่หลายแห่ง มุสลิมก็ไม่ได้ต่อต้าน ถือว่าเป็นสิทธิความเชื่อของแต่ละศาสนา เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน แต่การสร้างพุทธมณฑลถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะโดยรอบเป็นชุมชนมุสลิมส่วนใหญ่ จึงไม่ควรทำให้เกิคความรู้สึกที่ไม่ดีระหว่างพี่น้องพุทธกับมุสลิม

“ยังมีอะไรที่จะต้องร่วมกันพัฒนาพื้นที่อีกมาก เพื่อนำความเจริญและความสุขมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงอยากให้หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องคิดทบทวนเพื่อความสงบสุขของคนในพื้นที่” แวดือราแม ระบุ


ภาครัฐยอมถอย-เปลี่ยนชื่อ

หลังเกิดกระแสต่อต้านค่อนข้างรุนแรง เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่รับผิดชอบโครงการบอกว่า ยอมรับว่าชื่อ “พุทธมณฑลประจำจังหวัดปัตตานี” ฟังดูยิ่งใหญ่มาก ถ้าประชาชนรู้สึกไม่สบายใจทางจังหวัดได้พูดคุยกันแล้วก็พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นอย่างอื่น เช่น เจดีย์รวมใจคนทั้งชาติ ขณะนี้โครงการยังไม่ได้เริ่ม ยังอยู่ในขั้นตอนการพูดคุยเท่านั้น และจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนของคนที่ต้องการความสงบ

ด้านตัวแทนชาวไทยพุทธในพื้นที่ กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปยังไม่รู้ตื้นลึกหนาบางของโครงการนี้มากเท่าไหร่ว่าจะสร้างอะไรบ้าง ทำกันขนาดไหนแล้ว และทำขึ้นเพื่ออะไร เพื่อใคร เรื่องนี้จึงต้องคิดต่อและต้องตอบคนสวนใหญ่ให้ได้ด้วย

“ไม่รู้ว่าทำขึ้นมาเพื่อตอบสนองทางการเมืองหรือเปล่า มันน่ากลัวนะถ้าเป็นแบบนั้น เพราะคนที่หาเช้ากินค่ำจะเดือดร้อน จะต้องลำบาก คิดว่าสภาพพื้นที่เป็นแบบที่เป็นอยู่ก็ดีแล้ว ไม่รู้จะทำให้เป็นปัญหาทำไม ไม่เข้าใจ” ตัวแทนไทยพุทธในพื้นที่ชายแดนใต้ ระบุ


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20160121/220947.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ