สมเด็จพระสังฆราช(ศุก/ศุข) พระสังฆราชองค์ที่ ๒
สมเด็จพระสังฆราช ญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) "มีศิษย์เป็นพระสังฆราชถึง ๕ พระองค์"
(พระมหาเถรที่ทรงมาปรึกษาและปรึกษา และมาเป็นศิษย์พระญาณสังวรเถร)
๑. พระสังฆราช(ศุก) วัดมหาธาตุ ทรงมาปรึกษา เป็นพระสังฆราช องค์ที่ ๒
๒. สมเด็จพระสังฆราช(มี) ทรงมาเป็นศิษย์ เป็นพระสังฆราช องค์ที่ ๓
๓. สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) ทรงมาเป็นศิษย์ เป็นพระสังฆราช องค์ที่ ๕
๔. สมเด็จพระสังฆราช(นาค) ทรงมาเป็นศิษย์ เป็นพระสังฆราช องค์ที่ ๖
๕. สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงมาป็นศิษย์ เป็นพระสังฆราชองค์ที่ ๗ สถิตวัดพระเชตุพนฯ
๖. พระพนรัต(ทองดี) วัดระฆังมาศ
๗. พระพุทโฆษาจารย์(ศรี) วัดโมลีโลก มาเป็นศิษย์ สถิตวัดราชสิทธาราม ต่อมาย้ายไปวัดโมลีโลก
๘. สมเด็จพระพุทโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลก มาเป็นศิษย์ สถิตวัดราชสิทธาราม ต่อมาย้ายตาม พระพุทธโฆษาจารย์ (ศรี) ไปอยู่วัดโมลีโลก เป็นพระอาจารย์ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงศึกษาอยู่วัดโมลีโลก เป็นพระอนุศาวนาจารย์ ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงผนวช อยู่ที่วัดราชสิทธาราม ๑ พรรษา
๙. สมเด็จพระพุทโฆษาจารย์(คง) วัดอรุณ มาเป็นศิษย์
๑๐. สมเด็จพระพุทธาจารย์(เป้า) วัดอินทาราม ต่อมาย้ายไปอยู่ วัดธรรมาวาส กรุงเก่ามาปรึกษา หลังสิ้นพระพุฒาจารย์(เป้า) แล้ว ตำแหน่งพระพุทธาจารย์ว่างลงถึง ๑๗ ปี ต่อมาจึงทรงตั้ง พระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศแทน เพราะเหตุว่าไม่มีใครมีคุณสมบัติเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระเหมาะสมกับตำแหน่ง
สมเด็จพระสังฆราช(มี) พระสังฆราชองค์ที่ ๓
๑๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์(สนธ์) วัดสระเกศ มาเป็นศิษย์ประมาณ พ.ศ.๒๓๔๑
ต้นรัชกาลที่ ๒ ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค
ถึงปลายรัชกาลที่ ๒ พระญาณวิริยะ(ทองดี)วัดระฆัง เลื่อนที่เป็นที่ธรรมอุดม พระมหาสนธ์ จึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น พระญาณวิริยะ แทน
ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระพรหมมุนี
พ.ศ.๒๓๘๖ ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นที่ พระพุฒาจารย์
พ.ศ. ๒๓๙๔ ต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เลื่อนเป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทรงตั้งพระราชาคณะเอาฤกษ์
ประมาณ พ.ศ. ๒๓๔๑ พระภิกษุสนธ์ อุปสมบทพรรษาแรก ขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับกับ พระญาณสังวรเถร (สุก) แจ้งพระกรรมฐานกับ พระปลัดชิตหรือเจ้าคุณหอไตร จนจบ ๓ ห้องแรก จึงหันไปศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ เป็นเปรียญ ๓ ประโยด ในต้นรัชกาลที่ ๒
ต่อมาจึงหันมาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับต่อกับ พระญาณสังวร (ด้วง) เมื่อพระญาณสังวรเถร (ด้วง)ถึงแก่มรณภาพแล้ว จึงมาศึกษาพระกรรมฐานต่อกับ พระญาณสังวร(บุญ) จนกระทั้งเจนจบ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ต่อเมื่อเป็นที่พระพุฒาจารย์แล้ว จึงได้สร้อยพระนาม เหมือนกับสมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) เพราะเหตุสืบทอดพระกรรมฐานของพระองค์ท่าน
สร้อยพระนามมีดังนี้ พระพุฒาจารย์ ญาณวรา สัตตวิสุทธิ์จริยาปรินายกติปิฏกธรา มหาอุดมศีลอนันต์ อรัญวาสี
แต่สร้อยพระนาม ของสมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) ตัวต้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร อดิศรสังฆเถรา นอกนั้นเหมือนกันสมเด็จพระพุฒาจารย์(สนธ์) มีพรรษายุกาลอ่อนกว่า พระญาณสังวร(บุญ) ผู้เป็นพระอาจารย์กัมมัฏฐานองค์ที่สาม ประมาณ ๓-๔ พรรษา
สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) พระสังฆราชองค์ที่ ๕
๑๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆัง มาเป็นศิษย์ เป็นพระธรรมกิติ เป็นพระเทพกวีเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในรัชกาลที่ ๔ (เปลี่ยนจาก พระพุทธาจารย์ เป็นพระพุฒาจารย์ ในรัชกาลที่ ๔)
๑๓. พระเทพโมลี(กลิ่น) วัดราชสิทธาราม เป็นศิษย์ เป็นพระมหากลิ่น ในรัชกาลที่ ๑ เป็นพระรัตนมุนี และเป็นพระเทพโมลี ในรัชกาลที่ ๒
๑๔. พระเทพมุนี(เรือง) วัดระฆัง มาศึกษา เป็นศิษย์
๑๕. พระญาณรักขิต(สา) วัดระฆัง มาศึกษา
๑๖. พระญาณไตรโลก(หลวงธรรมรักษา) วัดมหาธาตุ มาศึกษา
๑๗. พระญาณโพธิ์(โพ) วัดสังข์กระจาย ฯลฯ
กล่าวว่า ยุคที่พระญาณสังวรเถร ทรงพระชนมายุอยู่ ไม่มีพระสังฆเถรองค์ไหนที่จะไม่มาศึกษาพระกรรมฐานในสำนักพระญาณสังวรเถร(สุก) วัดพลับ มีน้อยองค์นักที่ไม่มาศึกษา กล่าวกันว่าที่ไม่มาเพราะถือตัวสมเด็จพระสังฆราช(นาค) พระสังฆราชองค์ที่ ๖
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส(พระองค์เจ้าวาสุกรี) พระสังฆราชองค์ที่ ๗
ขอบคุณภาพจาก :
http://www.jariyatam.com/ที่มา : พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) หน้าที่ ๒๙๖-๒๙๘
พระครูสังฆรักษ์ (วีระ ฐานวีโร) รวบรวม เรียบเรียง
http://www.somdechsuk.com