สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
เมื่อรัชกาลที่ ๒. ถาม สมเด็จพระสังฆราช(มี) ว่า
บุญใดที่มีอานิสงส์ยิ่งกว่า ทาน ศีล ภาวนา.?
พระเถระต้องเมถุนปาราชิก ๓ รูปเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงประทับอยู่ที่ ณ พระตำหนัก วัดมหาธาตุมาด้วยดี จนกระทั่งมาในปลายปีนั้นเอง ได้เกิดเหตุการณ์ต้องอธิกรณ์ครั้งใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ ดังในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 2 ได้บันทึกไว้ว่า
"ในเดือน 12 ปีชวด อัฐศกนั้น มีโจทย์ฟ้องว่า
พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุรูป 1
พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลางรูป 1
พระมงคลเทพมุนี(จีน) วัดหน้าพระเมรุกรุงเก่ารูป 1
ทั้ง 3 รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิกมาช้านานจนถึงมีบุตรหลายคน
โปรดฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ กับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาทรงขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3) ทรงพิจารณาได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึงมีรับสั่งเอาตัวผู้ผิดไปจำไว้ ณ คุก"
เป็นคดีเกรียวกราวสนั่นเมืองที่แทบไม่ต่างจากคดีสมีต้องปาราชิกในยุคนี้นัก เรียกว่ามีมาแทบทุกยุคสมัยก็ว่าได้ เพียงแต่พุทธศาสนิกชนต้องตั้งสติแยกแยะให้ดี การทุ่มเทความศรัทธาให้กับตัวบุคคลมากๆ เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น ก็ผิดหวังจนแทบสูญสิ้นศรัทธากันไปเลย ฉะนั้นต้องแยกแยะให้ได้ระหว่างตัวบุคคลกับสถาบันพระศาสนา เกิดเหตุหมองมัวเนื่องจากตัวบุคคล แต่พระธรรมคำสอนอันเป็นหัวใจหลักแห่งพระศาสนาของพระศาสดานั้นบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
“พระศรีสรรเพชญ์” พระพุทธรูปปางมารวิชัยพระประธานภายในอุโบสถ วัดมหาธาตุฯ
รัชกาลที่ ๒. ทรงเสียพระทัย พระเถระองค์ที่ทรงโปรด ต้องปาราชิกเหตุการณ์ครั้งนี้นำความสลดพระทัยมาสู่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทรงโปรดปรานและไว้วางพระทัยในพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) ยิ่งนัก ว่ากันว่ามีโอกาสจะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่สมเด็จพระวันรัต อันเสมือนว่าที่สมเด็จพระสังฆราชเสียด้วย แต่เมื่อมาต้องอธิกรณ์ลงเสียแล้ว มิหนำซ้ำยังมีอีก 2 คดี ของพระเถระผู้ใหญ่อีก 2 รูปอีกเล่า ก็ทำให้ทรงโทมนัสในพระทัยเป็นที่ยิ่ง
ต่อมามีการสืบสวนหาความจนได้ความเป็นสัตย์ จำเลยยอมรับสารภาพ ภิกษุอลัชชีทั้ง 3 จึงถูกถอดออกจากสมณศักดิ์ ถูกจับสึก ถูกโบยตี แล้วนำตัวไปเข้าคุก และภายหลังจากมีการชำระความและลงพระอาญาไปแล้ว จึงโปรดฯให้มีการดูแลจัดระเบียบคณะสงฆ์กันใหม่ โปรดฯให้สมเด็จพระสังฆราช (มี) และสมเด็จพระพนรัตน(อาจ) วัดสระเกศ แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนี แสดงข้อวัตรปฏิบัติอันควรแก่สมณะ แจกจ่ายกันไปทั่วทั้งมณฑลให้พระอุปัชฌาย์และพระเถราจารย์ทั้งหลายเอาใจใส่อบรมภิกษุสามเณรให้อยู่ในบริสุทธิ์ศีลเป็นอย่างดี และปฏิบัติให้ถูกต้อง
พระเถระผู้แต่งข้อวัตรปฏิบัติอันควรแก่สมณะ ละเมิดข้อวัตรเสียเองอย่างไรก็ตามหลังเหตุการณ์นี้ผ่านไปราว 3 ปี ก็มาเกิดเรื่องเศร้าสลดใจอย่างยิ่ง เมื่อมีเหตุในทำนองเดียวกันขึ้นอีก เพียงแต่ว่าหนนี้เกิดเหตุกับภิกษุผู้แต่ง โอวาทานุสาสนี ขึ้นเสียเอง ด้วย สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกศ ต้องอธิกรณ์ในข้อหา ประพฤติต่อศิษย์ผิดสมณสารูป จึงถูกถอดออกจากสมณศักดิ์ และไล่ออกจากวัดมหาธาตุให้ไปอยู่วัดไทรทอง ซึ่งก็คือ บริเวณที่สร้างวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน รูปหล่อของ สมเด็จพระสังฆราช(สุก ญาณสังวร) อยู่ในอุโบสถของวัดมหาธาตุฯ
ท่านเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานของ สมเด็จพระสังฆราช(มี)
ปุจฉาของรัชกาลที่ ๒. ต่อ สมเด็จพระสังฆราช (มี)มาในปี 2360 ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชปุจฉากับสมเด็จพระสังฆราช (มี) ว่า
"จะบำเพ็ญกุศลอันใด ให้ได้ผลบุญอันยิ่งใหญ่ มากกว่า การรักษาศีล ภาวนา บริจาคทาน ที่ได้ทำอยู่แล้วเป็นประจำตลอดมา.?"
ทรงตั้งพระทัยที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลให้ยิ่งไปกว่าที่ทรงบริจาคทานและรักษาศีลภาวนาดังที่ได้ทรงบำเพ็ญมาเป็นประจำ
สมเด็จพระสังฆราช(มี) จึงได้ถวายพระพร ให้ทรงกระทำการสักการบูชาพระรัตนตรัยในวันวิสาขบูชา อันตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของสมเด็จพระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า "อันเป็นพิธีบูชาสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่อดีตพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ก่อนๆ ได้ทรงกระทำมา แต่มาเลิกราไปเสีย หากสมเด็จพระบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าจะทรงฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ก็จะทรงได้รับผลานิสงส์มาก ขอถวายพระพร"
ดังนั้น จึงเกิดมีพิธีวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ในปีนั้น และยังมีการประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัยเนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชาสืบต่อมาทุกปีจนถึงทุกวันนี้ นับว่าเป็นการริเริ่มขึ้นโดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) พระองค์นี้นั่นเอง
คัดลอกบางส่วนมาจากบทความ
19 รัตนสังฆราชา แห่งสังฆมณฑลไทย
ตอนที่ 5 สมเด็จพระสังฆราชมี รัตนสังฆราชาพระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สดุดี 100 พระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
http://yingthai-mag.com/magazine/reader/8525