ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อาจารย์ ม.รามฯ ยืนยัน เศียรใหญ่ในพช. เป็น’พระศรีสรรเพชญ์’ วังหลวงกรุงศรีอยุธยา  (อ่าน 4136 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อาจารย์ ม.รามฯ ยืนยัน เศียรใหญ่ในพช. เป็น’พระศรีสรรเพชญ์’ วังหลวงกรุงศรีอยุธยา

นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ยืนยันจากหลักฐานสำคัญหลายชิ้น ชี้ชัด เศียรพระใหญ่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เป็นเศียร’พระศรีสรรเพชญ์-อยุธยา’

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง เปิดเผยว่า ได้ศึกษาเรื่องราวของเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (พช.) พระนคร เนื่องจากเกิดความสงสัยว่าเศียรดังกล่าวเคยเป็นเศียรของพระพุทธรูปสำคัญองค์ใดในประเทศไทย เพราะแม้ว่าในทะเบียนโบราณวัตถุจะระบุว่าพบที่พระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา แต่ยังไม่เคยมีงานวิชาการที่ศึกษาอย่างจริงจังว่าแท้จริงแล้ว เศียรพระพุทธรูปองค์นี้ คือเศียรของพระศรีสรรเพชญ์หรือไม่ จากการศึกษาทั้งด้านรูปแบบศิลปะและเอกสารต่างๆ เช่น ทะเบียนโบราณวัตถุ ราชกิจจานุเบกษา คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ์ รวมถึงพระราชปุจฉาสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นต้น ทำให้มั่นใจว่าเศียรพระพุทธรูปดังกล่าวคือเศียรพระศรีสรรเพชญ์ พระพุทธรูปสำคัญของกรุงศรีอยุธยาอย่างแน่นอน

“ช่วงปลายปี พ.ศ.2558 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ได้มีการปรับปรุงการจัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ซึ่งที่กึ่งกลางพระที่นั่งได้จัดแสดงเศียรพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ พระศอมีร่องรอยของหมุด เป็นหมุดที่ใช้ยึดติดกับส่วนที่เป็นพระวรกาย ส่วนพระเศียรด้านซ้ายชำรุดและส่วนที่เป็นเกตุมาลาหักหายไป เศียรพระพุทธรูปชิ้นนี้มีความสูงราว 173 เซนติเมตร ถ้ามีสภาพสมบูรณ์ เศียรพระพุทธรูปชิ้นนี้จะต้องมีความสูงไม่ต่ำกว่า 200 เซนติเมตร และถ้ารวมพระรัศมีจะต้องมีความสูงไม่ต่ำ 250 เซนติเมตร ตามประวัติที่ปรากฎในทะเบียนโบราณวัตถุระบุว่าพบในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา ขนย้ายมาไว้ที่ พช.พระนคร ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2470 ทั้งนี้ เพราะมีปรากฏในประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องแจ้งความราชบัณฑิตยสภา ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2470 แต่น่าประหลาดใจว่ายังไม่มีงานวิชาการที่กล่าวถึงเศียรพระพุทธรูปองค์นี้ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าเป็นเศียรพระพุทธรูปองค์ไหน เนื่องจากภายในวัดพระศรีสรรเพชญ์มีพระพุทธรูปจำนวนมาก เพราะมีทั้งอุโบสถและวิหารอีก 2 แห่ง คือ วิหารพระโลกนาถ และวิหารพระป่าเลไลยก์ ยังไม่นับวิหารรายรอบพระมหาสถูป” ผศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าว


วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา สถานที่พบพระเศียรขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงในพช.พระนคร
แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังว่า เป็นเศียรของพระพุทธรูปสำคัญองค์ใด (ภาพจากหนังสือ ‘อยุธยาที่ไม่คุ้ยเคย’ โดยสำนักพิมพ์ มติชน)

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวอีกว่า สาเหตุที่สันนิษฐานว่าเศียรดังกล่าวคือเศียรพระศรีสรรเพชญ์ ด้วยเหตุผลหลายประการ เริ่มจากเรื่องของขนาดเศียรที่มีขนาดใหญ่มาก จึงตัดประเด็นที่ว่าเป็นเศียรของพระพุทธรูปในศาลารายรอบมหาสถูปออก เนื่องจากพื้นที่ประดิษฐานไม่เพียงพอ ส่วนวิหารพระโลกนาถก็เป็นไปไม่ได้ เพราะพระโลกนาถเป็นพระพุทธรูปประธานก็ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระเชตุพน ท่าเตียน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เช่นเดียวกับพระพุทธรูปในอุโบสถ และวิหารป่าเลไลยก์ นอกจากนี้ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ยังกล่าวการหล่อพระศรีสรรเพชญ์ ในจุลศักราช 862 ตรงกับ พ.ศ.2043 ระบุถึงขนาดพระวรกายและข้อมูลอื่นๆ ไว้ค่อนข้างละเอียด จากการศึกษาลักษณะพระพักตร์ และขนาดของพระพุทธรูปที่ พช.พระนคร พบว่ามีความสอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ที่ทำให้ทราบว่า พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวัดพระศรีสรรเพชญ์ คือ พระศรีสรรเพชญ์ สอดคล้องกับขนาดของเศียรพระพุทธรูปที่ พช.พระนคร

“เศียรพระพุทธรูปองค์นี้มีพระพักตร์เป็นรูปไข่พระหนุค่อนข้างเสี้ยม กึ่งกลางพระนลาฏมีพระอุณาโลม พระขนงโก่ง มีไรพระศกเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เม็ดพระศกขนาดค่อนข้างเล็ก แม้ว่าส่วนที่เป็นพระเกตุมาลาจะหักหายไปแต่ก็น่าที่จะเชื่อได้ว่าแต่เดิมมีเปลวพระรัศมี ถ้าพิจารณาจากพุทธศิลปะพบว่ามีความใกล้เคียงกับพระพุทธรูปอยุธยาตอนกลาง จึงยิ่งมั่นใจว่า นี่คือเศียรพระศรีสรรเพชญ์” นายรุ่งโรจน์กล่าว และว่า สำหรับสาเหตุการชำรุดจนเกินกว่าจะปฏิสังขรณ์ ส่วนหนึ่งมาจากการถูกสุมไฟเผา พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาระบุว่า “พม่าเอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำ ซึ่งหุ้มองค์พระพุทธรูปยืนใหญ่ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชดารามนั้น ขนเอาทองคำไปทั้งสิ้น”


พระศรีสรรเพชญ์

ด้านศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร กล่าวว่า เศียรพระพุทธรูปดังกล่าว เป็นหลักฐานสำคัญ เนื่องจากเป็นตัวอย่างเศียรพระพุทธรูปกลุ่มที่มีขนาดใหญ่มาก พบเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น เทียบเท่าหลวงพ่อวัดธรรมิกราช เป็นงานสมัยอยุธยาตอนกลางที่ชัดเจนมากองค์หนึ่ง ทั้งลักษณะพระโอษฐ์ พระเนตร พระขนง เป็นไปได้ว่าสร้างในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เศียรขนาดใหญ่เช่นนี้ ต้องมีบุญบารมีจริงๆ จึงสร้างได้ หากข้อสันนิษฐานของนายรุ่งโรจน์เป็นจริง นับเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามบางข้อควรหาคำตอบและหลักฐานให้ชัดเจนกว่านี้ เช่น หากเป็นเศียรพระศรีสรรเพชญ์จริง เหตุใดรัชกาลที่ 1 มีการอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากสุโขทัยและอยุธยามาปฏิสังขรณ์ จึงไม่อัญเชิญพระเศียรดังกล่าวมาปฏิสังขรณ์ด้วย

“ถ้าพิจารณาจากรูปแบบถือว่ามีความเป็นไปได้ แต่ถามว่าทำไมรัชกาลที่ 1 ไม่อัญเชิญเศียรมาปฏิสังขรณ์ด้วย นอกนั้นไม่มีหลักฐานอะไรที่บอกได้ ข้อเสนอนี้อาจจะจริงก็ได้ แต่น่าจะหาหลักฐานที่ชัดเจนกว่านี้ และถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริง ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากตั้งแต่ชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์นั้น ก็ตั้งตามชื่อพระพุทธรูปกล่าวคือ มีการหล่อพระศรีสรรเพชญ์ก่อน แล้วจึงตั้งชื่อวัด และยังมีความสำคัญด้านหลักฐานศิลปกรรมด้วย” ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัยกล่าว


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/57243
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่.? ‘เศียรพระศรีสรรเพชญ์’ หลากมุมมองต้องฟัง

กรณี ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง เสนอว่าเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (พช.) พระนคร คือเศียรพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังหลวง พระนครศรีอยุธยา โดยการศึกษาจากหลักฐานด้านเอกสารและรูปแบบศิลปะที่สอดคล้องกัน เช่น สถานที่พบ, ขนาด, ลักษณะพระพักตร์ เป็นต้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงแนวคิดดังกล่าวผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งผู้สนับสนุนและตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ เช่น นายสายัณห์ ไพรชาญจิตร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กว่า ในด้านแนวคิด ตนเห็นว่ามีความเป็นไปได้มาก แต่นายรุ่งโรจน์ต้องเพิ่มของหลักฐาน เหตุผล และภาพสันนิษฐานให้ชัดเจนมากกว่านี้ โดยชื่นชมที่มีความกล้าที่จะนำเสนอ ทั้งยังมีการค้นคว้าได้ดีพอสมควร ขอให้ทำต่อไป

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ตนเคยนำเสนอแนวคิดเดียวกันนี้มาแล้ว แต่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องตลก

 st12 st12 st12 st12

ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปยัง นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเรื่องของมุมมองทางวิชาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลและหลักฐาน หากมองความเป็นไปได้ในเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะนั้นเศียรพระพุทธรูปดังกล่าวกับพระศรีสรรเพชญ์ อยู่ร่วมสมัยกัน อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่นายรุ่งโรจน์ต้องต้องสอบเพิ่มเติม เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญตามหัวเมืองต่างๆ รวมถึงแกนพระพุทธรูปที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ลงไปปฏิสังขรณ์ แล้วเหตุใด จึงไม่อัญเชิญเศียรลงไปด้วย นอกจากนี้ ต้องคำนวณว่าหากอยู่ในสภาพสมบูรณ์ทั้งองค์ จะประดิษฐานในวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ์ได้หรือไม่ เพราะเป็นพระพุทธรูปประทับยืน

“ตอนนี้มีความเป็นไปได้ในเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ แต่ถ้าจะฟันธงว่าก็ยังเป็นเรื่องที่จะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้น โดยมีประเด็นที่ยังต้องตรวจสอบ เพราะรัชกาลที่1 โปรดให้อัญเชิญแกนพระพุทธรูปตามหัวเมืองต่างๆ รวมถึงที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งมีการอัญเชิญแกนพระพุทธรูปลงไปเพื่อจะซ่อม แต่สุดท้ายไม่ซ่อมเพราะชำรุดมาก คำถามก็คือ ทำไมท่านไม่เอาเศียรลงไป หรือทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปคงต้องนึกถึงพระเศียรส่วนสำคัญที่สุด อีกประเด็นหนึ่งคือสัดส่วนซึ่งก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยพระพุทธรูปดังกล่าวเป็นประพุทธรูปประทับยืน ต้องคำนวณว่าหากเต็มองค์ จะสามารถอยู่ในวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ์ได้หรือไม่” นายประทีปกล่า

 :25: :25: :25: :25:

สำหรับประเด็นรัชกาลที่ 1 ไม่อัญเชิญเศียรพระพุทธรูปลงมาปฏิสังขรณ์นั้น นายรุ่งโรจน์กล่าวว่า ตนเชื่อว่า รัชกาลที่ 1 ไม่ทรงทอดพระเนตรเห็น เช่นเดียวกับสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเคยเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังโบราณ ก็ไม่เคยทรงกล่าวถึงเศียรดังกล่าวในเอกสารต่างๆเลย ตนจึงเชื่อว่า เศียรดังกล่าว ถูกฝังดินเพื่อทำลายขวัญของเมือง เหมือนในกรณีเมืองนครหลวงของกัมพูชา เมื่อครั้งมีการเปลี่ยนแปลงศาสนาครั้งใหญ่ พระประธานของปราสาทบายน คือ พระชัยนาทพุทธมหานาถ ก็ถูกนำไปทิ้งในบ่อน้ำ

นายปติสร เพ็ญสุต อาจารย์ประจำสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ก่อนอื่นอาจต้องตรวจสอบว่าทะเบียนโบราณวัตถุที่บันทึกไว้มีความแม่นยำเพียงใด เศียรพระพุทธรูปดังกล่าวพบที่วัดพระศรีสรรเพชญ์จริงหรือไม่ ส่วนประเด็นที่ว่า เหตุใด เหตุใดรัชกาลที่ 1 ไม่ทรงอัญเชิญพระเศียรลงมา ก็เป็นที่น่าสงสัย อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่า ขื่อคาและกระเบื้องของวิหารพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งมีจำนวนมหาศาลอาจทับอยู่ จึงมองไม่เห็น คงเหลือแต่ส่วนพระวรกาย เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วเมื่อพระพุทธรูปถูกทำลายโดยการสุมไฟลอกทองอย่างกรณีพระศรีสรรเพชญ์ ส่วนพระเศียรย่อมหลุดออกก่อน


 st12 st12 st12 st12

“การทำทะเบียนสมัยโบราณมันไม่เป็นระบบ ซึ่งต้องตรวจสอบว่ามาจากวิหารนี้จริงๆหรือมาจากวัดอื่น ส่วนประเด็นที่ว่าทำไม รัชกาลที่1ไม่อัญเชิญพระเศียรลงมานั้น ไม่รู้ว่าถ้ามีการเผาลอกทองจนเกิดการถล่ม จะสามารถคุ้ยซากที่เหลือออกมาได้มากน้อยแค่ไหน เพราะกระเบื้องหลังคาต้องมหาศาล และพระเสียรอาจโดนขื่อทับ กลายเป็นการฝังพระเศียรลงไปหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะถ้าไปดูโบราณสถานต่างๆที่พังลงมา จะพบว่ากองกระเบื้องสูงมาก” นายปติสรณ์กล่าว


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/58050
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ชมชัดๆ ภาพสันนิษฐาน ‘พระศรีสรรเพชญ์’ หลังอาจารย์ ม.ราม ชี้คือเศียรในพช.พระนคร

หลังเป็นที่ฮือฮาในแวดวงวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่ ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง เสนอว่าเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (พช.) พระนคร คือเศียรพระศรีสรรเพชญ์ ในพระราชวังหลวง พระนครศรีอยุธยา โดยการศึกษาจากหลักฐานด้านเอกสารและรูปแบบศิลปะที่สอดคล้องกัน เช่น สถานที่พบ, ขนาด, ลักษณะพระพักตร์ เป็นต้น

นายสิทธิศักดิ์ สาครสินธุ์ กราฟฟิคดีไซเนอร์มืออาชีพ ผู้สนใจในศิลปะอยุธยา ก็ได้บรรจงสร้างภาพสันนิษฐานขององค์พระศรีสรรเพชญ์ เมื่อครั้งประดิษฐานภายในวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ์ ณ พระราชวังหลวง พระนครศรีอยุธยา โดยใช้ภาพเศียรพระพุทธรูปดังกล่าวมาสร้างสรรค์เป็นภาพที่งดงามเกินบรรยาย เปิดเผยครั้งแรกใน ‘มติชนออนไลน์’

นับเป็นอีกหนึ่งข้อเสนอใหม่ที่ทำให้ผู้สนใจด้านประวัติศาสตร์ศิลปะตื่นตัว อีกครั้ง  ส่วนแนวคิดนี้จะได้รับการยอมรับหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/58045
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เศียรพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ จัดแสดงอยู่ในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม. รามคำแหง ตรวจสอบหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีแล้วพบว่าเป็นเศียรพระศรีสรรเพชญ์ ในวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา ที่เหลือรอดจากถูกไฟไหม้ในสงครามเสียกรุง


พระศรีสรรเพชญ์ จากอยุธยา เหลือพระเศียรอยู่ที่กรุงเทพฯ
โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

ร.1 หลังสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนแล้ว ให้อัญเชิญพระศรีสรรเพชญ์ (พร้อมด้วยพระโลกนาถ) จากอยุธยาลงไปกรุงเทพฯ พระศรีสรรเพชญ์ชำรุดมาก มีพระราชดำริจะหล่อใหม่ แต่พระราชาคณะผู้ใหญ่ถวายพระพรว่าไม่สมควรนำรูปพระพุทธเจ้าเข้าหลอมในไฟอีก

จึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ขึ้น บรรจุพระศรีสรรเพชญ์ แล้วพระราชทานนามเจดีย์ว่าพระเจดีย์ศรีสรรเพชญ์ดาญาณ ขณะนี้มีผู้พบว่ายังเหลือพระเศียรอยู่ในพิพิธภัณฑ์

พระศรีสรรเพชญ์ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด หุ้มทองคำ มากกว่า 500 ปีมาแล้ว ราวหลัง พ.ศ. 2042 ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ 2) ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ [พระศรีสรรเพชญ์ หมายถึงพระพุทธเจ้า แปลว่า ความเป็นผู้มีญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง หรือผู้รู้ทั่ว]


 :25: :25: :25: :25:

วัดพระศรีสรรเพชญ์ (ได้ชื่อตามพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสำริด) เป็นวัดในวังหลวง อยุธยา ต้นแบบให้มีวัดพระแก้วในกรุงเทพฯ

เมื่อกองทัพจากรัฐอังวะ (ในพม่า) ตีอยุธยา พ.ศ. 2310 มีผู้เอาไฟเผาวิหารหลวงไหม้ถึงองค์พระศรีสรรเพชญ์ ทองคำลอกละลายไป เหลือแต่ซากทองสำริดซึ่งเป็นแกนข้างใน [รายละเอียด มีในหนังสือโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม 1 กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2551 หน้า 243-244]


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/57953
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

    เป็นบุญตาบุญใจ

      ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :welcome:
    เป็นบุญตาบุญใจ

      ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11

    น่าไปขอบารมีท่านนะ ท่านเป็นพระเก่าแก่


        เรื่องบารมีคงไม่ธรรมดา  ในภาพยนต์...ศึกอยุธยา ทั้งหลาย


          ต้องกล่าวถึงท่านบ่อยๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์