อุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์หรือวัดนิพพานาราม กทม. ตามระเบียบแล้ว พระสังฆราชทุกองค์ต้องมาสถิตย์ที่นี่
พระสังฆราชาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
"ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระศาสนา
ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี"
พระราชปณิธาณ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ หลังสิ้นสมัยกรุงธนบุรีพระองค์ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น องค์ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นนักรบและตรากตรำการสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ตลอดสมัยกรุงธนบุรี และในรัชสมัยของพระองค์เอง ทรงมีพระราชดำริว่าในการปกครองดูแลบ้านเมืองนั้น เสาหลักทั้งสอง คือ ฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรต้องเป็นหลักอันมั่นคงของบ้านเมือง ดังทรงมีพระราชปณิธาณแน่วแน่มาแต่แรก
ดังนั้น ตลอดรัชกาล พระองค์จึงทรงทำทุกวิถีทางเพื่อฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองและพระศาสนาให้กลับคืนสู่ความรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้จงได้ และไม่เพียงแต่พระองค์เองเท่านั้น ทว่าพระราชปณิธานนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรีทรงยึดมั่นและสละพระองค์เพื่อทำนุบำรุงบ้านเมือง ประชาชน ตลอดจนพระพุทธศาสนาให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาตลอด 200 กว่าปีที่ผ่านมาพระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชสุก(ญาณสังวร) สังฆราชองค์ที่ ๔ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กทม.
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งปวงให้ประชุมกันทำสังคายนาพระไตรปิฎก แล้วเสร็จในเวลา 5 เดือน กระทำที่วัดนิพพานาราม หรือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ ในปัจจุบัน สมัยนี้ยังโปรดฯให้มีการตรากฎหมายคณะสงฆ์ หรือเรียก กฎพระสงฆ์ ขึ้น 10 ฉบับ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายตราสามดวง ของกรุงรัตนโกสินทร์ และยังเป็นกฎหมายสงฆ์ชุดแรกที่มีหลักฐานมาถึงปัจจุบัน สำหรับสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชยังคงเป็นไปตามแบบอยุธยาเป็นราชธานี
มาในรัชกาลที่ 2 มีการสถาปนา สมเด็จพระพนรัตน(มี) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช และพระราชทานนามใหม่ว่า สมเด็จพระอริยวงศญาณปริยัติวราสังฆราชาธิบดี และสมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมาทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จทุกพระองค์
สมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้รวมพระอารามหลวงและพระอารามราษฎร์เข้าด้วยกันเรียกว่า คณะกลาง จึงมี 4 คณ คือ คณะเหนือ ใต้ กลาง อรัญวาสี และยังมีคณะที่เกิดใหม่อีก 1 คณะ คือ คณะธรรมยุต ที่แต่แรกยังมีจำนวนน้อยจึงรวมอยู่กับคณะกลาง
มาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงทรงปรับปรุงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชใหม่เป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ในรัชกาลนี้คณะธรรมยุตเข้มแข็งขึ้นมาก จึงแยกออกมาเป็นคณะใหม่ ส่วนคณะอรัญวาสีที่เคยมีอยู่เดิมกลับค่อยๆหายไป
รัชกาลที่ 5 มีคณะอยู่ 4 คณะ คือ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะธรรมยุต ต่อมามีการออก พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ.121) พ.ศ. 2445 กำหนดให้มีกรรมการมหาเถรสมาคม ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร โดยมี สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน และเป็นผู้บัญชาเด็ดขาด
จนมาถึงรัชกาลที่ 8 สภาผู้แทนราษฎรได้ออกกฎหมายสงฆ์เรียกว่า พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ที่มีรายละเอียด 60 มาตรา แต่ยังให้อำนาจสูงสุดอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช
ในรัชกาลปัจจุบัน การปกครองดูแลคณะสงฆ์ มี สมเด็จพระสังฆราช เป็นประมุขของมหาเถรสมาคม แบ่งการปกครองตาม พรบ. คณะสงฆ์ 2505 ออกเป็น 5 ส่วน คือ หนเหนือ หนใต้ หนกลาง หนตะวันออก และคณะธรรมยุต แยกการปกครองออกเป็น ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล และเจ้าอาวาสพระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชสุก(ญาณสังวร) สังฆราชองค์ที่ ๔ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กทม.
สำหรับสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- กรณีเป็นเชื้อพระวงศ์ และกรณีเป็นสามัญชน หากเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นเชื้อพระวงศ์ ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปโปรดให้ใช้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ชั้นรองลงมาทรงพระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- แต่หากเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มิได้ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ทุกพระองค์
แต่สำหรับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบัน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโณ) พระองค์ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร หมายถึง สมเด็จพระผู้มีสังวรธรรมมีธรรมเป็นเครื่องระวัง ราชทินนามของพระองค์ยังเคยเป็นราชทินนามของสมเด็จพระสังฆราช ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธายิ่ง ด้วยทรงเป็นพระอภิบาลหรือพระพี่เลี้ยง และพระอาจารย์รูปหนึ่งของภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารพระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชสุก(ญาณสังวร)สังฆราชองค์ที่ ๔ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กทม.
ทั้งนี้เป็นไปดังธรรมเนียมแต่โบราณกาลที่มีมาว่า ในการแต่งตั้งพระภิกษุขึ้นเป็นสมเด็จสังฆราชนั้นเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย และโดยมากมักเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมาในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ช่วงเวลานั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะโปรดฯพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใด ก็จะทรงปรึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก่อนทุกครั้ง จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงให้พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมพิจารณาเสนอความคิดเห็นได้
ทุกวันนี้เป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ ที่จะถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ด้วยการเสนอนามพระเถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูปเพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย ดังเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียวป้ายใต้ฐานพระรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชสุก(ญาณสังวร) สังฆราชองค์ที่ ๔ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กทม.
รายพระนาม 19 รัตนสังฆราชา แห่งรัตนโกสินทร์
1. สมเด็จพระสังฆราชศรี วัดระฆังโฆสิตาราม พ.ศ.2325-2337
2. สมเด็จพระสังฆราชสุก วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ.2337-2359
3. สมเด็จพระสังฆราชมี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พ.ศ.2359-2362
4. สมเด็จพระสังฆราชสุก (ญาณสังวร) วัดราชสิทธาราม พ.ศ.2363-2365
5. สมเด็จพระสังฆราชด่อน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ พ.ศ.2365-2385
6. สมเด็จพระสังฆราชนาค วัดราชบูรณะราชวรมหาวิหาร พ.ศ.2386-2392
7. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พ.ศ.2394-2396
8. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2434-2435
9. สมเด็จพระสังฆราชสา วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม พ.ศ.2436-2442
10. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2453-2464
11. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ.2464-2480
12. สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์เทพวราราม พ.ศ.2481-2487
13. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พ.ศ.2488-2501
14. สมเด็จพระสังฆราชปลด วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พ.ศ.2503-2505
15. สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พ.ศ.2506-2508
16. สมเด็จพระสังฆราชจวน วัดมกุฎกษัตริยาราม พ.ศ.2508-2514
17. สมเด็จพระสังฆราชปุ่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พ.ศ.2515-2516
18. สมเด็จพระสังฆราชวาสน์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. 2517-2531
19. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเจริญ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2532-ปัจจุบันหมายเหตุ : ป้ายข้างบน เขียนว่า วัน ๔ ๑๕ ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๖ ปีมะโรง ฉอศก พระบาทสมเด็จบรมนาถบรมพิท พระพุทธิจ้าวอยู่หัว ผู้ทรงคุณธรรมมหาประเสริฐ ทรงพระราชศรัทธา มีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สั่งให้หลวงเทพรจนา เจ้ากรมช่างปั้นซ้าย ปั้นหล่อพระรูป ***สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก ติปิ์ฎกธราจารย์ สฤษดิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร ทักษิณาสฤษดิสังฆะรามะ คามวาสีอรัญวาสี เป็นประธานแก่นาถาทุกคณานิกร จตุรพิธบรรพสัช สถิตย์ ณ พระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อารามหลวง***
***ข้อความที่มีเครื่องหมายดอกจัน จากข้อมูลของเว็บ http://www.dharma-gateway.com/ พิมพ์ว่า "สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร วรทักษิณาสฤทธิสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหารพระอารามหลวง" ใครผิดใครถูกอย่างไร จนด้วยเกล้าขอรับ ไม่ทราบจริงๆ
“วัน ๔ ๑๕ ๙ ค่ำ” อ่านว่า วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙19 รัตนสังฆราชา แห่งสังฆมณฑลไทย
สดุดี 100 พระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
http://yingthai-mag.com/magazine/reader/8456#sthash.Z1HzO8XK.dpuf