ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เผยโฉมรอยพระพุทธบาทไม้ โบราณอายุกว่า 670 ปี  (อ่าน 1036 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29345
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เผยโฉมรอยพระพุทธบาทไม้ โบราณอายุกว่า 670 ปี

วัดเทวราชฯ อัญเชิญรอยพระพุทธบาทไม้โบราณ อายุกว่า 670 ปี ให้พุทธศาสนิกชนศึกษาแนวพุทธศิลป์เป็นครั้งแรก ด้าน “พระเทพคุณาภรณ์” เผย รอยพระพุทธบาทแกะสลักจากไม้อยู่คู่กับวัดมาตั้งแต่ต้น เตรียมเปิดมณฑปให้พุทศาสนิกชนเข้าชมอย่างเป็นทางการ 1 ก.พ.นี้

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร กล่าวว่า ตามที่สนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้เข้ามาดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ มณฑปจตุรมุขวัดเทวราชฯจนแล้วเสร็จ ทางวัดจึงมีแนวคิดที่จะนำศาสนวัตถุโบราณทางพระพุทธศาสนาของทางวัดที่มีการเก็บไว้ตั้งแต่การสร้างวัด และไม่เคยนำาออกมาแสดงมาก่อน มาจัดแสดงที่มณฑปเพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชมได้มีโอกาสศึกษาในเรื่องพุทธศิลป์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มาประดิษฐานเป็นการถาวรที่มณฑปด้วย ศาสนวัตถุดังกล่าวคือ รอยพระพุทธบาทโบราณที่แกะสลักจากไม้

ซึ่งไม่พบหลักฐานว่าสร้างขึ้นโดยผู้ใด แต่ได้รับการสันนิษฐานจากกรมศิลปากรแล้วว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่อยู่คู่กับวัดนี้ มีการสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวพ.ศ.1893-1991  หรือประมาณกว่า 670 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการสร้างวัดเทวราชฯขึ้นด้วย โดยเดิมวัดเทวราชฯ มีชื่อว่าวัดสมอแครง ต่อมาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่แล้ว เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงบูรณะต่อ จากนั้นกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ทรงอุปถัมภ์จนสิ้นพระชนม์ และพระองค์เจ้าสิงหนาทราชตุรงคฤทธิ์ ทรงอุปถัมภ์ต่อ หลังจากนั้นเจ้านายในสกุลกุญชรให้ความอุปถัมภ์โดยลำดับ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามว่า วัดเทวราชกุญชร



พระเทพคุณาภรณ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับรอยพระพุทธบาทดังกล่าวนั้นมีความสูง 50 เซนติเมตร ยาว 2 เมตร กว้าง 1.20 เมตร โดยทั่วไปแล้วจะไม่ค่อยพบการสร้างรอยพระพุทธบาทจากไม้ ซึ่งตามความเชื่อของการจัดสร้างรอยพระพุทธบาทนั้น ในทางพระพุทธศาสนาเชื่อกันว่าเป็นการประกาศว่าพระพุทธศาสนาได้มาเผยแผ่ยังพื้นที่นั้นๆแล้ว เช่นเดียวกับในสมัยพุทธกาล เมื่อองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าจะไปประกาศพระศาสนายังพื้นที่ใด พระองค์จะมีการประทับรอยพระพุทธบาทก่อนทุกครั้ง เพื่อแสดงถึงว่าพระองค์ได้เสด็จมายังพื้นที่นั้นแล้ว

นอกจากนี้ภายในมณฑปจตุรมุข ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณที่อยู่คู่กับวัดมาตั้งแต่ต้น ซึ่งชาวบ้านจะรู้จักกันในชื่อ หลวงพ่อโบสถ์น้อย ขณะเดียวกันทางวัดยังได้นำพระพุทธรูปโบราณที่หาชมได้ยาก เช่น พระปางฉันสมอ  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาถือผลสมอ หงายพระหัตถ์วางที่พระชานุ (เข่า) มาจัดแสดงภายในมณฑปจตุรมุข เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาพุทธศิลป์ โดยทางวัดมีกำหนดที่จะเปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าชมภายในมณฑปจตุรมุขอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ก.พ.นี้ จากนั้นจะมีการกำหนดวันจัดพิธีสมโภชน์มณฑปจตุรมุข เพื่อความเป็นสิิริมงคลต่อไป คาดว่าจะเป็นในช่วงเดือนก.พ.นี้


ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/552110
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ