ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สักการะ “พระพุทธอังคีรส” พระพุทธรูปคู่วัดราชบพิธ  (อ่าน 2001 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


สักการะ “พระพุทธอังคีรส” พระพุทธรูปคู่วัดราชบพิธ

“วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์เมื่อพ.ศ.2412

การสร้างวัดนี้ ทรงสถาปนาพระมหาเจดีย์เป็นหลัก ห้อมล้อมด้วยระเบียงวารทิศสองวิหารคือ ด้านเหนือ และด้านใต้ สำหรับวิหารด้านเหนือนั้น ทรงสถาปนาเป็นพระอุโบสถ

ภายในพระอุโบสถตกแต่งออกแบบตามอย่างตะวันตก และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ “พระพุทธอังคีรส”

พระพุทธอังคีรส เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทรงผ้ามีกลีบ วัสดุกะไหล่ทองเนื้อแปด สำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ หรือ 60 นิ้ว น้ำหนัก 108 บาท พระฉวีวรรณเป็นทองคำทั้งองค์

วัดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 เท่านั้น แต่ยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 อีกพระองค์หนึ่งด้วย

พระพุทธอังคีรส พระประธานในโบสถ์ “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” (ขอบคุณภาพจากเว็บธรรมจักร)


พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติการสร้างบันทึกไว้ต่างกันเป็น 2 ความ

ความที่หนึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอลเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พุทธศักราช 2411 มีพระราชดำริสร้างวัดใกล้พระบรมมหาราชวัง สถาปนาเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาล

ส่วนอีกความหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวง ชินวรสิริวัฒน์นิพนธ์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หล่อขึ้นเพื่อนำไปประดิษฐานยังพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน

ภายหลังเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้นำเศวตฉัตรองค์ที่ใช้กั้นพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาถวายพระพุทธอังคีรสโดยเสด็จฯ ทรงประกอบพิธียกด้วยพระองค์เอง

สิ่งก่อสร้าง พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์งดงามมาก มีมหาสีมารอบกำแพงวัด โปรดให้สร้างพระพุทธอังคีรสเป็น พระประธานภายในพระอุโบสถ


พระพุทธอังคีรส (ขอบคุณภาพเว็บแดนพระนิพพาน)


พระพุทธอังคีรส เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าพระนามหนึ่ง แปลว่า มีพระรัศมีออกจากพระกาย องค์พระกะไหล่ทองคำทั้งองค์ หนัก 108 บาท เป็นทองคำที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้แต่งพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ ประดิษฐานบนแท่นชุกชี หินอ่อนที่สั่งมาจากอิตาลี

รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นงานใหญ่ ทรงถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของ พระราชบิดา เมื่อเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิกลับเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ.2492 บรรจุไว้ที่ฐานพระอังคีรส และในปี พ.ศ.2528 ก็ได้บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีไว้เช่นกัน

ณ ใต้ฐานบัลลังก์พระพุทธอังคีรสนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ โปรดให้บรรจุพระบรมอัฐิและพระอัฐิในครอบครองของพระองค์ ประกอบ ด้วย พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัย และสมเด็จฯ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

เมื่อเรากราบพระพุทธอังคีรส นอกจากจะได้สักการบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว เท่ากับได้ถวายสักการะพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และพระบรมวงศ์ในขณะเดียวกัน

ทั้งนี้ วัดราชบพิธแจ้งกำหนดการเฝ้าถวายสักการะ เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ระหว่างวันที่ 13-15 ก.พ.2560 รอบเช้า เวลา 09.00-10.30 น. รอบบ่าย เวลา 14.00-16.00 น.

ประชาชนที่เข้าถวายสักการะ สมเด็จพระสังฆราช(อัมพร อัมพโร) จะได้กราบพระพุทธอังคีรสเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย


ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
https://www.khaosod.co.th/amulets/news_216129
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สักการะ “พระพุทธอังคีรส” พระพุทธรูปคู่วัดราชบพิธ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2017, 12:08:50 pm »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ