ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘สัทธรรมปุณฑริกสูตร’ จัดใหญ่! นิทรรศการแห่งสันติภาพและความกลมเกลียว  (อ่าน 1388 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ต้นฉบับสัทธรรมปุณฑริกสูตรภาษาสันสกฤต (ต้นฉบับเปทรอฟสกี)


‘สัทธรรมปุณฑริกสูตร’ จัดใหญ่! นิทรรศการแห่งสันติภาพและความกลมเกลียวครั้งแรกในประเทศไทย

หากเอ่ยถึง “สัทธรรมปุณฑริกสูตร” เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่าสิ่งข้างต้นคืออะไร

เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างอารยธรรมตะวันออกกับตะวันตกได้มากขึ้นนั้น นายไดซาขุ อิเคดะ ผู้ก่อตั้งสถาบันปรัชญาตะวันออก (ไอโอพี) และประธานสมาคมโซคาสากล ได้อธิบาย คุณลักษณะของสัทธรรมปุณฑริกสูตร ไว้ 3 หลักใหญ่ๆ คือ การอยู่ร่วมกันของชีวิตทุกรูปแบบ, การแสวงหาความเป็นนิรันดร์ และการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสันติภาพ

และเพื่อตอกย้ำความเข้าใจ “สัทธรรมปุณฑริกสูตร” ให้มากยิ่งขึ้น สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย ร่วมมือกับไอโอพีจัดนิทรรศการ “สัทธรรมปุณฑริกสูตร สารแห่งสันติภาพและการอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว” โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม และมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นผู้ร่วมจัด

บุญชัย เติมกิจขจรสุข ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย กล่าวถึงที่มาของการจัดนิทรรศการ

ครั้งนี้ว่า วัตถุประสงค์การจัดงานมีอยู่ 3 อย่างดังที่นายไดซาขุได้อธิบายไว้ โดยหลักแล้วเราคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผู้มาชมนิทรรศการนี้เกิดความรู้สึกว่าสันติภาพอยู่ใกล้ตัว สามารถทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้

“ไม่ว่าเรื่องของชาติพันธุ์ ศาสนา กระทั่งแนวความคิด โดยเคารพถึงสภาพชีวิตพุทธะ และเคารพสภาพสูงส่งแห่งชีวิตของแต่ละคน”


บุญชัย เติมกิจขจรสุข


ครั้งนี้ ที่ประเทศไทย

นิทรรศการ “สัทธรรมปุณฑริกสูตร” จัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.2007 จัดแสดงมาแล้วกว่า 28 แห่ง ใน 14 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก อาทิ ฮ่องกง อินเดีย มาเก๊า เนปาล ญี่ปุ่น เปรู

และครั้งนี้ จัดขึ้นที่ประเทศไทย

ถือเป็นฤกษ์งามยามดีที่สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย นำนิทรรศการ “สัทธรรมปุณฑริกสูตร สารแห่งสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว” มาเผยแพร่แนวคิดการเคารพศักยภาพของชีวิตมนุษย์ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว และเกิดสันติภาพได้อย่างแท้จริง

บุญชัยเล่าว่า นิทรรศการสัทธรรมปุณฑริกสูตรได้รับการตอบรับอย่างดีจากหลายประเทศทั่วโลก ทางสมาคมเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ที่จะตามมา อีกทั้งตัวสัทธรรมปุณฑริกสูตรเอง คิดว่าคนน่าจะเพิ่งได้ยิน การจัดงานครั้งนี้จึงต้องจัดแบ่งโซนการแสดงโดยเรียงจากความเป็นมา แล้วลงรายละเอียดในตอนท้าย

ประกอบด้วย 7 ส่วนหลัก คือ
1.ความเป็นมาของนิทรรศการและบทนำเกี่ยวกับสัทธรรมปุณฑริกสูตร
2.ประวัติการเผยแผ่พุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยพระศากยมุนีพุทธะ ถึงสมัยพระเจ้าอโศก และการเผยแผ่ในเอเชียกลาง มุ่งสู่ประเทศจีน
3.ตัวอย่างคัมภีร์พุทธศาสนาภาษาต่างๆ
4.รูปแบบคัมภีร์ทางพุทธศาสนา
5.การจำลองหมู่ถ้ำมั่วเกา ตุนหวง แสดงจิตรกรรมผนังถ้ำที่อธิบายถึงหลักคำสอนของสัทธรรมปุณฑริกสูตร
6.สารของสัทธรรมปุณฑริกสูตร “มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเป็นพระพุทธะ”
7.บุคคลสำคัญกับสัทธรรมปุณฑริกสูตร อาทิ พระกุมารชีวะ ผู้แปลสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นภาษาจีน ซึ่งสมาคมเองสร้างความพิเศษโดยการนำรูปปั้นพระกุมารชีวะ 1 ใน 2 ชิ้นที่มีอยู่ในโลกมาจัดแสดงด้วย

โดยการเข้าชมนิทรรศการครั้งนี้ นอกจากจะได้รับสาระอัดแน่นจากบอร์ดความรู้และชมเอกสารหลักฐานของสัทธรรมปุณฑริกสูตรแล้ว ทางสมาคมยังจัดมัคคุเทศก์คอยให้ความรู้ประจำกลุ่ม/โซน พร้อมตอบข้อสงสัยหากท่านใดเกิดข้อซักถาม


ภาพมุมกว้างของหมู่ถ้ำมั่วเกา ตุนหวง

ภาพวาดปวงเทวาเหินเวหา จิตรกรรมภายในหมู่ถ้ำมั่วเกา ตุนหวง


การเดินทางของพระสูตร

“พระสูตรนี้มีที่มาที่ไปว่าเริ่มต้นจากที่ไหน การแตกกระจายนิกายของพุทธศาสนา ซึ่งนิกายมหายานเองมีบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ เราจัดแสดงให้เห็นว่ามีท่านใดบ้าง” สุรีย์ศรี อัจฉริยะจินดา หนึ่งในทีมผู้ดำเนินงานช่วยขยายความตัวนิทรรศการเพิ่มเติม

พระเจ้าอโศกมหาราช อาจเผยแผ่พุทธศาสนาในภาพรวม โดยการแยกนิกายเกิดขึ้นภายหลังพระเจ้าอโศกได้เผยแผ่พุทธศาสนาแล้ว ต่อมาคือ พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน ซึ่งเป็นการพูดคุยเรื่องปรัชญาพุทธศาสนา จนถึง พระเจ้ากนิษกะ ผู้เผยแผ่พุทธศาสนาจากอินเดียสู่เอเชียกลาง

ภายหลังการแตกนิกายเป็นมหายาน ไปจนถึงการบรรลุพุทธภาวะของทุกคน ยุคนี้เองที่เข้าสู่ยุคของ พระกุมารชีวะ พระองค์ได้ศึกษาพุทธศาสนาในภาพรวม และลงลึกเรื่องนิกายมหายาน กระทั่งมีการแปลพระสูตรของมหายานจากภาษาอินเดียเป็นภาษาจีน

“เมื่อแปลเป็นภาษาจีนและได้เข้าสู่ประเทศจีนแล้ว พุทธศาสนาเริ่มได้รับความนิยม พระสงฆ์อยากกลับไปค้นต้นตอของศาสนาและต้นฉบับคำสอนต่างๆ ที่อินเดียกลับมายังจีน กระทั่งมีการก่อตั้งนิกายเทียนไท้ขึ้น”

ภายในนิทรรศการได้จัดแสดงบทบาทสำคัญของพระแต่ละรูปว่ามีการยืนยันตัวสัทธรรมปุณฑริกสูตรอย่างไร กระทั่งเดินทางไปถึงญี่ปุ่น พระนิชิเร็นไดโชนิน ทรงก่อตั้งการปฏิบัติพุทธธรรมในยุคสมัยใหม่ที่เรียกว่า การสวด “นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว” ขึ้นมา

เหล่านี้คือการเผยแผ่ธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อมุ่งสู่อนาคต นี่คือการเดินทางของสัทธรรมปุณฑริกสูตร


คัมภีร์กรรมวาจา ภาษาบาลี


สารแห่งสันติภาพและความกลมเกลียว

ภายหลังเข้าชมนิทรรศการแล้ว ผู้ชมอาจได้บทสรุปง่ายๆ แต่อาจลึกซึ้ง เช่น ห้องเล่านิทานจากภาพวาดทราย หรือห้องกิจกรรมสำหรับเด็ก ส่วนต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีเนื้อหาที่น่าโดนใจ

“นิทรรศการได้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีจิตใจที่สูงส่ง แต่ ณ ปัจจุบันเรามีชีวิตที่คอยแต่จะเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ได้ใช้แนวคิดนี้ ถ้าเราให้เกียรติผู้อื่น เข้าใจว่าชีวิตคนอื่นเองต่างก็มีสภาพสูงส่ง เหมือนที่เราใช้คำว่า ‘ชีวิตพุทธะ’ การอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวและสันติภาพย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน”

นอกจากนั้นแล้ว บุญชัยยังย้ำอีกว่า การจัดนิทรรศการครั้งนี้ไม่ได้เน้นเรื่องการเผยแผ่ศาสนา แต่มีแนวคิดคือการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน และการเคารพผู้อื่น

“เราพูดอยู่เสมอว่าให้เกียรติกัน เคารพผู้อื่นต่างๆ นานา แต่มันไม่เห็นภาพ เราอาจเห็นภาพผ่านการ์ตูน ผ่านนิทรรศการ ผ่านภาพ หรือพุทธประวัติต่างๆ ทางสมาคมจึงยึดแนวคิดดังกล่าว เพื่อวกกลับมาที่เรื่องนี้

“ผมเชื่อว่านี่เป็นแนวคิดสากลที่ทุกคนควรจะเห็นถึง เพราะยุคที่ผ่านมา ไม่ว่าเรื่องการกดขี่ทางเพศ การแบ่งแยกสีผิว ทุกคนเห็นมานานแล้ว และอยากจะปลดแอกมัน”

ทุกวันนี้เราสามารถทำได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องปฏิวัติอะไร แค่ปฏิวัติจิตใจของเราโดยการให้เกียรติผู้อื่น มีความเท่าเทียมกัน

“ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็ก สตรีหรือบุรุษ ผู้คนต่างชนชาติ หรือผู้คนต่างศาสนากัน เพียงมีแนวคิดเรื่องนี้ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว”


รูปปั้นพระกุมารชีวะ


จัดแสดงยาวนาน 57 วันเต็ม!

ตัวเลข 57 วัน ดูยาวนานจนไม่น่าเชื่อว่านั่นคือระยะเวลาการจัดแสดงนิทรรศการสัทธรรมปุณฑริกสูตรครั้งนี้

บุญชัยกล่าวว่า ใน 1 วัน สามารถรองรับผู้ชมได้เพียง 3,000-4,000 คนเท่านั้น ถ้าเกินจากนี้กลัวจะฟังไม่รู้เรื่อง เพราะเนื้อหาค่อนข้างลึก อีกทั้งผู้ชมบางส่วนเดินทางมาจากต่างจังหวัด ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทาง เพราะฉะนั้นหากจัดนิทรรศการเพียง 7 วัน คงไม่เพียงพอ

“ตัวเลขผู้เข้าชมตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบันรวมแล้วกว่า 66,000 คน แต่เรามีเป้าหมายที่ 130,000 คน โดยคาดหวังว่าผู้เข้าชมจะชื่นชอบแนวคิด ชมแล้วรู้สึกชอบ เกิดการต่อยอดแล้วนำไปกระจายบอกต่อ”

และหากพลาดชมนิทรรศการครั้งนี้ บุญชัยบอกว่า เป็นการยากที่จะมีโอกาสได้จัดอีกครั้ง เพราะสมาคมโซคาสากลมีสมาชิกกว่า 192 ประเทศเขตแคว้น แต่ละประเทศได้จองคิวเจ้าภาพไว้แล้ว โดย

ประเทศต่อไปคือสิงคโปร์ที่จะจัดในปลายปีนี้

“อยากฝากนิทรรศการสัทธรรมปุณฑริกสูตรครั้งนี้ เป็นนิทรรศการที่แม้มองดูแล้วจะเป็นเรื่องพุทธศาสนา แต่เป็นแนวคิดที่สากลมาก คือเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีกลมเกลียว การเคารพสภาพชีวิตที่เท่าเทียมกันของทุกคน

“และเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีงานแบบนี้”

เหล่านี้คือความตั้งใจ เสียงยืนยัน และคำเชิญชวน เพื่อให้ทุกท่านร่วมชม ศึกษาประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนา ในงานนิทรรศการ “สัทธรรมปุณฑริกสูตร สารแห่งสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว” ณ สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย สำนักงานใหญ่ (ถนนติวานนท์)

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เวลา 10.00-19.00 น. และจัดแสดงถึงวันที่ 28 มิถุนายนนี้เท่านั้น!


ธรรมบทคานธารี

ขอบคุณภาพจากสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย
ที่มา : หน้าประชาชื่น มติชนรายวัน
ผู้เขียน   : ชนากานต์ ปานอ่ำ
เผยแพร่ : วันที่ 19 มิถุนายน 2560
https://www.matichon.co.th/news/584939
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 20, 2017, 08:13:38 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7292
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 st11 st12 st12
 เป็นงานนิทรรรศการ ที่น่าสนใจ จริง ๆ ถ้ามีคนบรรยายให้เกิดความรู้ด้วย
จะได้รู้แนวคิดภาพรวม นิกายอื่น ๆ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ