
ถาม ทำไม เวลาไม่สบายใจ กับฝึกกรรมฐาน ไม่ได้คะ
ตอบ เวลา ทุกข์ เกิดจึงจะมาฝึกจิต ถ้าคิดอย่างนี้ ไม่เข้าใจวิถีธรรม
เวลา ทุกข์ เป็นยามที่คนเราแสวงหาความสุข อยู่แล้ว และต้องการละจากทุกข์ ดังนั้นเวลามีทุกข์นั้น คนส่วนใหญ่ จะเห็นธรรม แม้ไม่สอนก็มองเห็นธรรม เพราะความทุกข์บีบคั้น
เวลา สุข ต่างหากที่ต้อง ฝึกธรรมะ ภาวนา เวลานี้เท่านั้น ที่ควรจะต้องภาวนาให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในสมาธิ ไม่ได้อาศัย ความทุกข์ เลยในการเข้าสมาธิ และ ความทุกข์ ก็ไม่ได้เป็นผล ในสมาธิ แต่ให้สุขเป็นผล เรียกว่า สุขสมาธิ
เวลา คนมีความทุกข์ นึกพุทโธ ไม่ได้ กำลังไม่พอ ต้องกลับไปเจริญสติ ให้ตั้งมั่นในกุศล นั่นคือย้อนรอยกลับไปที่ สัมมาสติ
ผู้ใด มีความสุขอยู่ เข้าสมาธิ ก็ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เพราะไม่มีความทุกข์นั่นเอง อันนี้หมายถึง ทุกข์ทางจิต ต้องไม่มี
ฉะนั้นผู้ใด มีทุกข์ทางจิตอยู่ก็ให้ไปเจริญสติ ก่อน ให้อารมณ์ทุกข์ หมดลงก่อน แล้วมาภาวนา สุขสมาธิ อันนี้จึงจะควร
เจริญพร
วิธีฝึกจิต แบบ เริ่มต้น ก็คือการเจริญ สติ
การเจริญสติ ก็คือ การทำจิตให้ระลึกรู้ตาม ใน 19 อิริยาบถ
สติสัปชัญญะ การประกอบสติด้วยการรู้สึกตัว ใน 19 อิริยาบถย่อย
1.ก้าวไป 2. ถอยกลับ 3. แลดู 4. เหลียวดู(หัน) 5. คู้เข้า ( ตึง) 6. เหยียดออก ( ผ่อน ) 7.นุ่งห่ม 8. กิน 9.ดื่ม 10. เคี้ยว 11. ลิ้ม 12.ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ 13.เดิน 14. ยืน 15.นั่ง 16.นอน 17. ตื่น 18.พูด 19.นิ่ง
ระลึกรู้ ไม่ใช่ตัวอิริยาบถ ก้าวไป ไม่ต้องไปรู้ว่า ก้าวไป อย่างนี้ไม่ใช่การระลึกรู้ การภาวนา ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ตรงนี้
แต่การระลึกรู้หมายถึงขณะที่ก้าวไป เจริญธรรมที่เข้าไปกำหนด ได้ว่า การก้าวไป เกิดขึ้น การก้าวไป ตั้งอยู่ การก้าวไป ดับไป และวิบากกุศลกลับมาเป็น ญาณสติ ว่า การก้าวไป ก็เป็นธรรมดา
คำว่า ธรรมดา หมายถึง การก้าวไป มีความเกิดตั้งอยู่ เสื่อมไปเป็นธรรมดา จิตเห็นอย่างนี้ก็ละความยึดมั่นถือมั่นในขณะก้าวไป เป็นก้าวไป ที่ประกอบด้วยสติ ว่างจากเรา ว่างจากของเรา ว่างจากตัวจากตนของเรา ดังนี้ อันนี้จึงถูกต้อง
ถ้าทำอย่างนี้ การกำหนดอิริยาบถ ก็จักได้ คุณธรรม ขั้นต่ำเป็นพระโสดาบัน แต่ถ้ามัวแต่ไปกำหนด เพียงแต่รูป อิริยาบถ เท่านั้น ความรู้แจ้งจักเกิดไม่ได้ หรือ เกิดได้ช้ามาก เพราะว่า เป็นโมหะ ตามเพียงรูปภายนอก เท่านั้น
เจริญพร
ถาม ขอหลักภาวนา ง่าย ๆ ด้วยครับ
ตอบ การสำรวมระวัง อินทรีย์ ก็ชื่อว่าปฏิบัติ ธรรมแล้ว เป็นทั้ง สมถะ เป็นทั้ง วิปัสสนา
ถ้าใครถามฉันว่า จะเริ่มปฏิบัติธรรมเมื่อไหร่ ก็ต้องบอกว่า เพียงท่านเริ่มสำรวมระวัง อินทรีย์ ทั้ง 6 ก็ชื่อว่า เหยี่ยบเท้าเข้าสู่ มรรค แล้ว นั่นเอง ไม่ต้องรอวันพรุ่งนี้ หรือ เวลาไหน ?
ตา มองเห็น รูป สำรวมระวังในรูป สักว่า นั่นคือ รูป ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในรูป ว่าสวย ว่าไม่สวย ไม่สวย ไม่ถือเอารูปที่เห็นมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
หู ฟัง เสียง สำรวมระวังใน เสียง สักว่า นั่นคือ เสียง ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในรูป ว่าไพเราะ ว่าไม่ไพเราะ ไม่ถือเอาเสียงที่ฟังมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
จมูก ดม กลิ่น สำรวมระวังใน กลิ่น สักว่า นั่นคือ กลิ่น ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในกลิ่น ว่าดี ว่าไม่ดี ไม่ถือเอากลิ่นที่ดมมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
ลิ้น รับ รส สำรวมระวังใน รส สักว่า นั่นคือ รส ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในรส ว่าอร่วย ว่าไมอร่อย ไม่ถือเอารสที่รับมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
กาย กระทบ โผฏฐัพผะ สำรวมระวังใน โผฏฐัพผะ สักว่า นั่นคือ โผฏฐัพพะ ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในโผฏฐัพผะ ว่าดี ว่าไม่ดี ไม่ถือเอาโผฏฐัพผะที่กระทบมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
ใจ กระทบ อารมณ์ สำรวมระวังใน อารมณ์ สักว่า นั่นคือ อารมณ์ ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในอารมณ์ ว่าพอใจ ว่าไม่พอใจ ไม่ถือเอาอารมณ์ที่กระทบมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )