ทำดี(กุศล) แล้ว ก็ทำไป ( เพียร )
การทำดี( กุศล) ก็นับว่า เป็นการยาก ( กิเลส )
แต่การรักษาความดี ( กุศล ) นั้นยากยิ่งกว่า
ที่สำคัญที่สุด พระพุทธเจ้า ท่านสอนให้ สร้างความดี (กุศล)
โดยความรู้สึกว่า เป็นอาหารแห่งจิต มีปีติเป็นต้น หมายถึงการสร้างความดี ( กุศล) ต้องไม่ยึดถือมั่น เอามาเป็นสัญญลักษณ์ของตน ( อุทธัจจะสังโยชน์ ) การทำความดี อย่างนี้เป้น ของพระอรหัตตมรรค ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่บุคคล ปุถุชน จะทำได้ ง่าย ๆ หรือ ทำได้เลย
ดังนั้น สำหรับ ปุถุชน แค่ ทำความดี ด้วย กาย วาจา ใจ นี่นับว่าใช้ได้แล้ว
สำหรับ กัลายณชน ต้องรักษาความดี ไว้ เป็นนิสัย
สำหรับ โสดาบัน การทำความดี เป็นเพียงการสร้างบารมี และ เป็นการงานที่ไม่ไปสู่อบาย
สำหรับ สกิทาคามี แล้ว การทำความดี ต้องตั้งเป้าหมาย ไปสู่ พระนิพพาน
สำหรับ อนาคามี แล้วการทำความดี ก็เป็นเพียงแบบอย่างแก่ชน และสังคม
สำหรับ อรหันต์ การทำความดี เป็นสิ่งที่ยึดมั่น ถือมั่นไม่ได ้เป็นเพียงคุณเครื่อง เติมเต็มปีติให้ใจมี สุข ในปัจจุบันเท่านั้น
จะทำความดี ระดับนั้นก็ต้องขึ้น กับ ศีล สมาธิ ปัญญา ของแต่ละบุคคล จะให้มันมาเสมอกัน นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย คนเราไม่เท่ากัน ในด้าน ของสติปัญญา และ การอบรมจิตบ่มภาวนา
แต่ก็ขออนุโมทนา กับทุกท่าน ที่สร้างกุศล ความดี กันอยู่ ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ น้อยหรือมาก ย่อมดีกว่า คนที่มีโอกาส แต่ ไม่สร้างคุณงามความดีเลย
เจริญธรรม / เจริญพร