
ถาม พอจ พรรษานี้ เข้ากรรมฐานหรือไม่คะ / ครับ
ตอบ ในพรรษานี้ ก็จะเว้นการโพสต์ ไปตามการอธิษฐานเข้าพรรษา ตามปกติ อย่างทุกพรรษา ดังนั้นเรื่อง โพสต์ ถาม ตอบ ก็จะไม่ค่อยได้มาตอบอย่างทุกครั้ง เพราะต้องเข้ากรรมฐาน เป็นระยะเวลานาน เพิ่มขึ้น ดังนั้น ก็จะเริ่มจากเบาๆ ไปหลายวัน ในเดือนแรก ก็จะทำเบา ๆ ไปก่อน
เจริญธรรม / เจริญพร
เข้าพรรษา คืออะไร ?
เข้าพรรษา เป็นส่วนของวินัยสงฆ์ ส่วนหนึ่ง เมื่อถึง คราฤดูฝน ภิกษุต้องหยุดเดินทาง โดยไม่มีความจำเป็น ณ สถานที่ ๆ ถูกต้องตาม พระวินัย โดย มีพุทธานุญาต ให้พักอาศัย อยู่ที่ใด ที่หนึ่ง ที่ไม่มีโทษแก่การภาวนา
การเข้าพรรษานี้ พระเจ้าพิมพิสารให้กำหนดเป็น ชุณปักษ์
[๒๐๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช มีพระราชประสงค์ จะทรงเลื่อนกาลฝนออกไป จึงทรงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ถ้ากระไร ขอพระคุณเจ้า ทั้งหลายพึงจำพรรษาในชุณหปักษ์อันจะมาถึง. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คล้อยตามพระเจ้าแผ่นดิน.
ดังนั้นกาลแห่ง ฤดูฝน ที่เป็น ชุณปักษ์ จึงเป็นกาลที่พระพุทธเจ้า พุทธบัญญัติ ไปตามที่ พระเจ้าพิมพิสารขอไว้นั่นเอง
การเข้าพรรษา ทำอย่างไร
1. ภิกษุทำการกำหนดเขต สำหรับ สถานที่ ไม่ใช่อาวาสตรง เพื่อรู้เขตแห่งราตรี
2. ทำการอธิษฐานเข้าพรรษา
3. และอยู่จำพรรษา ในที่นั้น ๆ เป็นเวลา 90 วัน หรือ 3 เดือน
ในระหว่างเข้าพรรษา ภิกษุ ควรทำอย่างไร
1. ควรศึกษาหลักธรรม หรือ สมาทาน กรรมฐาน
2. ควรตั้งสัจจะเพื่อรักษา การอยู่จำพรรษา ให้บริบูรณ์
การไปสถานที่อื่น ๆ ในระหว่าง พรรษา นั้นทำอย่างไร
การไปสถานที่ อื่น ๆ ในระหว่างเข้าพรรษา มีข้อกำหนด ตามวินัย ด้วยความจำเป็น หลายอย่าง อาทิ เช่น ไปเยี่ยมบิดามารดา ที่ป่วย หรือ ได้รับนิมนต์เป็นพิเศษ เป็นต้น ถ้าจะต้องไปจะต้องกลับมาให้ถึงที่อธิษฐาน เข้าพรรษา ภายใน 7 ราตรี
การไปอย่างนี้เรียกว่า สัตตาหะ
ดังนั้นการอยู่จำพรรษา นั้นเป็นเรื่อง ของภิกษุ ตั้งแต่ 1 รูป ขึ้นไป ไม่ใช่เป็นเหตุ ของฆราวาส
คฤหัสถ์ หรือ ฆราวาส ควรทำอย่างไร
ควรบำรุงภิกษุ ผู้อยู่จำพรรษา ในที่นั้นให้อยู่จำพรรษา ได้ครบถ้วนตามกำหนด
เจริญธรรม / เจริญพร