ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำได้มั้ย.? ปั้นมหาจุฬาฯ สู่ วิทยาลัยนาลันทา ศตวรรษที่ 21.'  (อ่าน 914 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ทำได้มั้ย.? ปั้นมหาจุฬาฯ สู่ 'วิทยาลัยนาลันทา ศตวรรษที่ 21.'

สัปดาห์นี้ไปดูมหาจุฬาฯ วาดฝันเป็น “มหาวิทยาลัยนาลันทาในศตวรรษที่21” จะทำได้หรือไม่ เพราะความขัดแย้งในประเทศยังแก้ไม่ได้

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานี้ผมไปร่วมงานการมาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งตั้งแต่เป็นรัฐมนตรีท่านมาครั้งแรก หลังจากก่อนหน้านี้ได้ไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัย

หลังจากชมวีดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัยและ พระราชปริยัติกวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวต้อนรับเป็นที่เรียบร้อย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้พูดถึงบรรยากาศการศึกษาทั้งในประเทศไทยและนานาชาติ รวมทั้งสถาบันการศึกษาการศึกษาอื่นๆ ในประเทศไทย ที่มีการแข่งขันการสูงและล้นตลาด มุ่งเน้นไปในทิศทางเดียวกันทำให้การแข่งขันไม่มีที่สิ้นสุด



โดยฝากความหวังไว้กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หากต้องการเป็น “มหาวิทยาลัยระดับโลก” หรือต้องการเป็น “มหาวิทยาลัยนาลันทาในศตวรรษที่21” ต้องเป็นแก่นหลักในการนำ “สติกลับคืนมา” สู่ความเป็นอัตลักษณ์ของตนให้ได้ โดยฝากให้ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ ทุนมนุษย์ และ ทุนสังคม

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีพันธกิจที่สำคัญและแตกต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วไป คือมีการเน้นในเรื่องการพัฒนาจิตใจ อีกทั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนัยะสำคัญต่อประเทศในการกระตุ้น เรื่องปัญญามนุษย์ และเรื่องของจิตใจ ซึ่งมองว่า ในช่วงศตวรรษที่ 21 การศึกษาจะเป็นวิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งทำให้ฐานลูกค้าของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่แค่บัณฑิตเท่านั้น มหาวิทยาลัยยังสามารถขยายฐานลูกค้าเป็นกลุ่มบุคคลวัยทำงาน หรือวัยผู้สูงอายุและสำคัญอย่างยิ่ง โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข (บวร) บ้าน วัด โรงเรียน เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรยึดถือปฏิบัติต่อไป



“เราเห็นความขัดแย้ง สังคมไทยยังมีความขัดแย้งที่รุนแรง ถ้าเรายังมีความขัดแย้งในสังคมจะส่งผลต่อการเป็นมหาจุฬาระดับโลก มหาจุฬาจะตอบสังคมอย่างไรเมื่อสังคมเกิดความขัดแย้ง เราต้องพัฒนาเป็นทุนสังคม เป็นสังคมที่เกื้อกูลและแบ่งปัน และทุนมนุษย์ มหาจุฬาจึงต้องเป็นเสาหลักของสังคม โลกในศตวรรษที่ 21 มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ศาสนาพุทธสอนให้เรารู้ว่าเราจะอยู่กับโลกนี้ได้อย่างไร มหาจุฬาจึงต้องทำตัวเป็น เบรคและคันเร่ง ขับเคลื่อนพวงมาลัยให้ไปสู่ปกติสุข ปกติที่มีความสุข ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จะนำไปสู่ปัญญา ในสังคมเข้าถึงแก่นในทางพระพุทธศาสนา..”

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง มีส่วนงานจัดการศึกษา 5 คณะ และ 2 วิทยาลัย ส่วนภูมิภาค มี 11 วิทยาเขต 23 วิทยาลัย 1 โครงการขยายห้องเรียน และ 7 หน่วยวิทยบริการ นอกจากนี้ยังมีสถาบันสมทบทั้งในและต่างประเทศอีก 6 แห่ง




โดยจัดการศึกษาทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติรวม 105 สาขาวิชา ประกอบด้วย ปริญญาตรี 54 สาขาวิชา ปริญญาโท 36 สาขาวิชา และปริญญาเอก 15 สาขาวิชา

ในปีการศึกษาปัจจุบันมีนิสิตจำนวน 18,420 รูป/คน แบ่งเป็น ปริญญาตรี 14,846 รูป/คน ปริญญาโท 2,182 รูป/คน ปริญญาเอก 1,392 รูป/คนมีนิสิตชาวต่างประเทศในแต่ละปีละมากกว่า 1,200 รูป/คน นับแต่พุทธศักราช 2490 ถึงปัจจุบัน มีผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ จำนวน 64,355 รูป/คน



ปัจจุบัน มีบุคลากร 3,680 รูป/คน แบ่งเป็นสายวิชาการ 1,218 รูป/คน และสายปฏิบัติการ 2,462 รูป/คน

การจะเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกหรือฝันที่จะเป็น “มหาวิทยาลัยนาลันทาในศตวรรษที่21” จะทำได้หรือไม่ เป็นโจทย์ท้าทายมิใช่แค่ผู้บริหารมหาจุฬาเท่านั่น เป็นโจทย์ที่ท้าทายทั้งรัฐบาลและสังคมไทยทั้งมวล ยิ่งรัฐมนตรีพูดถึงความขัดแย้งในสังคมไทยทำนองอยากให้มหาจุฬา เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไข เพราะมันกระทบต่อเป้าหมายที่ต้องการจะเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก ปัญหาความขัดแย้งในประเทศไทยตอนนี้ยังแก้ไม่ได้..คิดจะเป็นสร้างสันติสุขในสังคมโลก มันก็ถูกนานาชาติหัวเราะเอาได้นะพระคุณเจ้า.



คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/750630
พุธที่ 8 มกราคม 2563 เวลา 11.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ