ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เศรษฐีตามแนววิถีพุทธ เป็นอย่างไร.?  (อ่าน 825 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เศรษฐีตามแนววิถีพุทธ เป็นอย่างไร.?
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2020, 06:15:35 am »
0


เศรษฐีตามแนววิถีพุทธ เป็นอย่างไร.? ท่าน ว.วชิรเมธี

คำว่า”เศรษฐี”มีที่มาอย่างไร คนเช่นไรจึงจะเรียกว่าเศรษฐี คนที่มีเงินมาก ร่ำรวย ทรัพย์สิน เงินทอง ก็จัดว่าเป็น”มหาเศรษฐี”ได้เลยหรือไม่แล้ว เศรษฐีตามแนววิถีพุทธ เป็นอย่างไร

“เศรษฐี” เป็นคำเดียวกับคำว่า”เสฏจ” (เสด-ถะ) ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า”ประเสริฐ” คนที่จะเป็นผู้ประเสริฐ (=เป็นเศรษฐี จึงต้องมีมากกว่าความรวย นั่นคือต้องมีความดีกำกับความรวยด้วยเสมอไป สมการแห่งความเป็นเศรษฐีตามวิถีพุทธจึงต้องประกอบด้วย

“ความรวย+ความดี=เศรษฐี” ผิดจากสมการนี้ต้องถือว่าไม่ใช่เศรษฐีตามวิถีพุทธ

เมื่อไม่ใช่เศรษฐีตามวิถีพุทธ จึงมีอยู่เสมอที่คนมั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ ทว่ากลับเป็นคนยากจนคุณธรรมอย่างนำสังเวช หรือบางทีเป็นศรษฐีมีทรัพย์นับร้อยล้าน แต่กลับเป็นที่เกลียดชังของคนทั้งเมือง

การเป็นเศรษฐีจึงเป็นยากกว่าการเป็นคนรวย ส่วนการเป็นคนรวยนั้นไม่ยาก แค่เพียงทำอย่างไรก็ได้ให้เป็นคน ยินมที่สุดก็เป็ได้แล้ว หมือนที่เติ้งสี่ยวผิง เคยกล่าวถึงปรัชญาทางการเมืองของเขาไว้ตอนหนึ่งว่า

“Black cat, white cat, all that matter is that it catches mice.” ไม่สำคัญว่าเป็นแมวขาว หรือแมวดำ ถ้าจับหนูเป็นก็ถือว่าใช้ได้ วิธีคิดแบบนี้ บางที่คนอยากรวยบางคนก็มาตีความว่า การจะเป็นคนรวยนั้นไม่ต้องคำนึงถึง”คุณภาพของความรวย”หรอก หากแต่ขอให้ทำทุกวิถีทางที่จะให้ได้เงินมหาศาลมาครอบครองก็พอแล้ว

@@@@@@

ด้วยวิธีคิดอย่างนี้เอง คนอยากรวยจำนวนมากจึงกลายเป็นคนรวย แต่ไม่อาจเรียกว่าเป็น”เศรษฐี”ตามนิยามทางพุทธศาสนา บางคนไม่เพียงเป็นเศรษฐีตามคติพุทธไม่ได้เท่นั้น แม้แต่จะเป็น”มนุษย์ที่ดี”ก็ยังเป็นไม่ได้ เนื่องเพราะตลอดเส้นทางแห่งการสร้างความรวยของตนนั้น เขาได้ทำลายความดีของตัวเองลงอย่างย่อยยับไปพร้อม ๆ กันด้วย คนอยากรวยบางคนซึ่งมุ่งแต่จะรวยโดยไม่เหลียวแลความดี พอมีความรวยสมอยากแล้วกลับมีความทุกข์เป็นของสมนาคุณ

แต่บางคนไม่เพียงแต่มีทุกข์เป็นของสมนาคุณเท่านั้น ยังมี “คุก” ห่อหุ้มความทุกข์นั้นไว้อีกต่อหนึ่งต่างหาก เห็นไหมว่า บางครั้งความรวยก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของชีวิต ตรงกันข้าม อาจนำมาซึ่งวาระสุดท้ายของชีวิตด้วยไป การเป็นคนรวยกับการเป็นเศรษฐีจึงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แต่การเป็นศรษฐีและการเป็นคนรวยนั้นก็ไม่ใช่จะไปด้วยกันไม่ได้ ทำอย่างไรคนรวยจึงจะได้ชื่อว่าเป็นเศรษฐี วิธีง่าย ๆ ก็คือ คำนึงถึงสมการแห่งความเป็นเศรษฐีตามวิธีพุทธ

     (1) ความรวย+ความดี=เศรษฐี แต่หากจะให้เป็นมหาเศรษฐีก็ต้องเพิ่มเติมรายละเอียดของสมการอีกนิดหน่อย เป็น
     (2) ความรวย+ความดี (=รวยอย่างมีคุณภาพ) + ความเป็นผู้ให้=มหาเศรษฐี

     - คนเป็นเศรษฐีตามสมการที่ 1 มีอยู่ทั่วไป
     - ส่วนคนเป็นเศรษฐีตามสมการที่ 2 หาไม่ง่ายนัก แต่อย่างน้อยในสมัยพุทธกาลก็เคยมีตัวอย่างมาแล้ว เช่น ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา ทั้งสองท่านเป็นมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยทั้งทรัพย์สินและร่ำรวยทั้งความดีถึงขนาดเป็นเศรษฐีและเศรษฐินีพร้อม ๆ กับที่เป็นพระอริยบุคคล (พระโสดาบัน) ไปด้วยเลยทีเดียว


@@@@@@

ธุรกิจกับธรรมะที่คนบอกว่าขัดแย้งกัน จึงเป็นวาทกรรมที่ไม่จริง ในยุคโลกาภิวัตน์ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีระดับโลกและคนยกย่องมากกว่าคนรวยของเมืองไทยก็คือ บิล เกตส์ เจ้าพ่อแห่งอาณาจักรไมโครซอฟต์นั่นเอง

เมื่อปี 2005 นิตยสารไทม์ได้เลือกบิล เกตส์ และภรรยาขึ้นปกพร้อมทั้งยกย่องให้เป็นบุคคลแห่งปี เพราะทั้งสองสามีภรรยาบริจาคเงินเพื่อการกุศลสำหรับแก้ปัญหาทางด้านมนุษธรรมให้แก่มนุษยชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก บิล เกตส์จึงเป็นทั้งเศรษฐี และเป็นมหาเศรษฐีที่โลกยอมรับและยกย่อง เพราะความรวยของเขาไม่ได้เกิดจากการปล้นชิง ไม่ได้เกิดจากการแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน แต่เกิดจากการคิดค้นวิจัย และใช้มันสมองสองมือสร้างธุรกิจของเขาขึ้นมากับมือ และไม่ได้ฉ้อราษฎร์บังหลวง

เขาเป็นคนรวยที่เดินอย่างสง่าบนถนนทั่วโลก เพราะความรวยของเขาไม่มีวาระซ่อนเร้น ความรวยของเขามีที่มาที่ไปชัดเจน และมีความดรในหัวใจเป็นส่วนผสมอยู่ อย่างน้อยที่สุด เมื่อรวยแล้ว เขาก็มีสำนึกทางจริยธรรมและมนุษยธรรมอย่างสูงยิ่ง เขาเปลี่ยนความรวยของเขาให้เป็นดังหนึ่งกระดานหกไปสู่การสร้างสันติสุขและสันติภาพแห่งมนุษยชาติ

บิล เกตส์ จึงเป็นคนที่มีค่าพอที่ไทม์จะเหลือบตามองและจับมาขึ้นปกแทนที่จะเลือกนักการเมืองเหมือนเช่นทุกปี กล่าวอย่างสั้นที่สุด บิล เกตส์ เป็นบุคคลแห่งปี 2005 ของไทม์ก็เพราะเขา “บริจาค” มากที่สุดนั่นเอง ประการสำคัญเขาไม่ได้บริจาคเข้าพรรคการเมืองใดทั้งสิ้น หากแต่เขาบริจาคเข้ามูลนิธิที่เขาตั้งขึ้นมา เพื่อวาระแห่งมนุษยชาติโดยแท้

ในเวทีโลก บิล เกตส์ กำลังสร้างวัฒนธรรม “รวยแล้วให้ทาน” รวมทั้งใช้เงินเป็นพลังสร้างสรรค์ความดีงามให้เกิดแก่มนุษยชาติ แต่ในเมืองไทยไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไรที่วัฒนธรรมเช่นนี้จะเป็นที่รู้จักในหมู่คนรวยทั้งหลาย


 

ที่มา : ธรรมะคลายใจ โดย ว.วชิรเมธี สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ
ภาพ : www.pexels.com
ขอบคุณ : http://www.madchima.org/forum/index.php?action=post;board=19.0
By nintara1991 13 March 2020
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ