ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘วัดจงกลม’ วัดร้างนอกเมืองกรุงเก่า โบราณสถานเงียบสงบ  (อ่าน 907 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 


‘วัดจงกลม’ วัดร้างนอกเมืองกรุงเก่า โบราณสถานเงียบสงบ

หลังจากที่พาไปเที่ยวชม “วัดพระยาแมน” แล้ว เราก็ไม่พลาดอีกวัดที่อยู่ใกล้เคียงในบริเวณนี้ นั่นคือ “วัดจงกลม” เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ซึ่งการค้นหาไม่ยากเลย เพียงตั้งจีพีเอสชื่อวัด ก็จะถูกนำทางมาได้อย่างสบายๆ  แต่การขี่มอเตอร์ไซต์ลุยเดี่ยวของเรา ก็แอบหวั่นเล็กน้อย เพราะตัววัดแยกห่างจากชุมชนเข้าไป และเงียบ เงียบยิ่งกว่าวัดพระยาแมน แต่ไม่เสียวสันหลังวาบเท่าวัดแร้งที่ไปลุยมา

สำหรับวัดจงกลม ไม่ปรากฏหลักฐานประวัติความเป็นมาว่าก่อสร้างช่วงไหนแต่พบเรื่องราวเกี่ยวกับวัดจงกรม ในเอกสารประวัติศาสตร์ที่มีชื่อว่า  “พระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัยสมเด็จพระเพทราชา” โดยเนื้อความนั้นระบุไว้ว่า

"พระธรรมสารเถร อธิการวัดจงกรม ได้เข้าร่วมถวายพระพรสมเด็จพระเพทราชา ณ พระที่นั่งบรรยงต์รัตนาสน์ ในพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2242" ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า  “วัดจงกลม” ที่เป็นโบราณสถานในปัจจุบันนี้ น่าจะเป็นวัดเดียวกับวัดจงกรมในเอกสารประวัติศาสตร์ดังกล่าว



แต่ต่อมาภายหลังการสะกดคลาดเคลื่อนไป เพราะคำว่า "จงกลม" นั้นไม่มีความหมาย แต่คำว่า  "จงกรม" หมายถึงอาการที่เดินไปมาในที่กำหนดอย่างพระเจริญกรรมฐานเดิน เรียกว่า "เดินจงกรม" ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับภาพการเดินวนทักษิณาวัตรของพระพุทธรูปปางลีลาในซุ้มจระนำรอบเจดีย์ประธานวัดจงกลม ซึ่ง น.ณ ปากน้ำ จิตรกรผู้สนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ กล่าวไว้ในหนังสือ "ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา" หนังสือที่รวมเรื่องราวการสำรวจโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2510

วัดจงกลม สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น สืบเนื่องมาจนไม่กี่สิบปีที่แล้ว จึงได้ร้างไป ทำให้วัดจงกลมชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกรมศิลปากรเข้าไปดำเนินการขุดค้น ขุดแต่ง ทางโบราณคดี ในปีงบประมาณ 2542 แต่ด้วยความสำคัญของโบราณสถานแห่งนี้  กรมศิลปากรจึงประกาศขึ้นทะเบียนวัดจงกลมเป็นโบราณสถานของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 60 ตอนที่ 39 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2486




เมื่อสืบค้นประวัติจนรู้ถึงที่มาที่ไปของวัดแห่งนี้เรียบร้อยแล้ว เราไม่รอช้ารีบเดินสำรวจตามประสา ซึ่งวัดจงกลมแห่งนี้มีมุมให้บันทึกภาพเก็บความงามได้มากพอสมควร และมีไฮไลต์ให้ตื่นเต้นเล็กน้อย มีเจดีย์แปดเหลี่ยมเป็นประธานของวัด ด้านหน้าของเจดีย์ประธานเป็นวิหาร อุโบสถอยู่ทางด้านทิศเหนือ มีกำแพงแก้วและคูน้ำล้มรอบวัด โดยที่องค์เจดีย์ด้านหลัง สามารถพอจะเยี่ยมชมได้ เราได้เข้าไปไหว้ขอขมา และก้าวขึ้นไปส่องดู พบว่า ภายในมีเจดีย์ซ้อนอยู่อีกองค์หนึ่ง และผนังเจดีย์โดยรอบมีช่องเล็กๆ ที่คาดว่าจะไว้วางพระพุทธรูป เรากดชัตเตอร์ยิงแฟรชเข้าไป พอได้ภาพมาฝากกันเล็กน้อย หากใครสนใจ ปลีกความวุ่นวาย มาเดินถ่ายรูปในมุมสงบ วัดแห่งนี้ ก็น่าสนใจมิใช่น้อย

การเดินทางโดยรถส่วนตัว จากเส้น 309 เข้ามาในซอยตรงข้ามกับพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เลี้ยวขวาตามทางมาตามตลาดน้ำคลองสระบัวที่ปัจจุบันหยุดดำเนินการไปแล้ว วัดจงกลมอยู่ข้างหลังตลาดน้ำ














ขอบคุณ : https://www.naewna.com/likesara/518215
วันจันทร์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563, 13.11 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ