ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ภูมิศาสตร์พุทธประวัติ" วิชาในฝันที่ขอให้มีวันเป็นจริง  (อ่าน 2408 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"ภูมิศาสตร์พุทธประวัติ" วิชาในฝันที่ขอให้มีวันเป็นจริง

คนไทยเรียนพุทธประวัติตามตำราที่ผู้รู้ท่านเรียบเรียงไว้ หรือที่มีความรู้ทางบาลีก็เรียนจากคัมภีร์โดยตรง เราย่อมเคยได้ยินชื่อเมืองราชคฤห์และได้รู้ลักษณะของเมืองว่าเป็น “เบญจคีรีนคร” เพราะมีภูเขาห้าลูกตั้งล้อมรอบ ที่มีความจำดีก็จำได้ว่าภูเขาห้าลูกนั้นชื่ออะไรบ้าง เช่นที่จำกันได้ติดปากมากที่สุดก็คือ ภูเขาคิชฌกูฏ

แต่ถ้าลองถามดูว่า ภูเขาคิชฌกูฏตั้งอยู่ทางทิศไหนของเมืองราชคฤห์ ภูเขาคิชฌกูฏตั้งอยู่ใกล้ภูเขาอะไร ภูเขาลูกอื่นๆ ตั้งอยู่ทางทิศไหน เราทั้งหมดก็จะตอบไม่ได้ ตอบได้บ้างก็เป็นแต่เดาเอา และมองไม่ออกบอกไม่ถูกว่าภูมิประเทศบริเวณนั้นเป็นอย่างไร พุทธประวัติในความคิดของพวกเรา จึงมีแต่ภาพในจินตนาการ

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคเทคโนโลยีก้าวไกลโลกไร้พรมแดน นั่งอยู่กับบ้านในเมืองไทยสามารถเห็นอะไรได้ทั่วจักรวาล แต่เชื่อหรือไม่ว่าชาวพุทธในเมืองไทยก็ยังคงเรียนพุทธประวัติด้วยภาพในจินตนาการเหมือนเดิม แค่ตำแหน่งของ “เบญจคีรี” ภูเขาห้าลูก เราส่วนใหญ่ก็ยังมืดมัวไม่ต่างไปจากเมื่อร้อยปีหรือห้าร้อยปีที่ผ่านมานั่นเอง

ไม่ต้องดูอื่นไกล แม้ตัวผมนี่เอง เรียนบาลีมาตั้งแต่เป็นสามเณรจนบัดนี้ย่างเข้าปัจฉิมวัย เพิ่งได้เห็นตำแหน่งของภูเขาห้าลูกจากแผนที่ที่พระคุณท่านพระศรายุทธ สิริสาโร บุญยเกตุ นำมาเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี่เอง (ดูภาพประกอบ)




เราสามารถที่จะสร้างวิชา “ภูมิศาสตร์พุทธประวัติ” (คำที่คิดขึ้นเป็นลำลอง) ขึ้นมาได้หรือไม่.?

      เราสามารถสร้างได้แน่นอน โดยหน่วยงานหรือสายงานดังต่อไปนี้
      ๑. มหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตั้งโครงการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์พุทธประวัติขึ้น
      ๒. มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง เปิดหลักสูตรวิชาภูมิศาสตร์พุทธประวัติขึ้น
      ๓. วัดไทยในอินเดีย จัดโครงการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์พุทธประวัติขึ้น
      ๔. งานพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล ขยายขอบเขตของงานโดยเพิ่มงานศึกษาสำรวจภูมิศาสตร์พุทธประวัติขึ้นอีกสายงานหนึ่งจากงานเผยแผ่ที่ทำอยู่แล้ว
      ๕. หน่วยงานเอกชนและปัจเจกชนที่มีศรัทธา มีกำลังความคิด มีกำลังความสามารถที่จะลงปฏิบัติงานภาคสนาม มีกำลังทรัพย์ที่จะสนับสนุนเป็นต้น ร่วมมือกันสนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาสำรวจภูมิศาสตร์พุทธประวัติอย่างจริงจัง

หน่วยงาน องค์กร สายงาน และบุคคลที่มีความสามารถดังกล่าวนี้เรามีอยู่พร้อมแล้ว ที่ยังขาดอยู่ก็คือ ผู้มีอำนาจสั่งการ และผู้เชี่ยวชาญในการประสานติดต่อ เราไม่รู้ว่าท่านที่มีอำนาจสั่งการและท่านที่มีความเชี่ยวชาญในการประสานติดต่อที่ว่านี้ท่านอยู่ที่ไหน และทำอย่างไรท่านจึงจะสั่ง หรือลุกขึ้นมาวิ่งเต้นประสานติดต่อให้เกิดรูปงานขึ้นมาได้จริงๆ


@@@@@@@

ญาติมิตรที่ได้อ่านโพสต์นี้ คงจะบอกว่า เห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วย แต่เรื่องก็จะจบลงแค่นี้ คือจบลงแค่ผมเสนอความคิด และญาติมิตรบอกว่าเห็นด้วย – จบ แต่การเอาความคิดไปปฏิบัติจนเกิดผลจริงๆ จะเกิดขึ้นได้เมื่อไร ไม่มีใครบอกได้ ไม่มีใครรู้ และไม่มีใครที่จะต้องเข้ามารับผิดชอบ

คนที่มีอำนาจสั่งให้ทำ ท่านก็ไม่รับรู้อะไรด้วย คนที่เชี่ยวชาญในการประสานติดต่อเพื่อให้เกิดรูปงานขึ้นมาได้จริงๆ ท่านก็ไม่รับรู้อะไรด้วย ความคิด ความเห็นด้วย ก็ – gone with the wind – ลอยหายไปกับสายลม โลกแห่งความคิดกับโลกแห่งการลงมือทำจริง ย่อมเป็นเส้นขนานกันไปเช่นนี้เสมอ

ถ้าการศึกษาพุทธศาสนาที่คลุกเคล้าไปด้วยจินตนาการอันพร่ามัวที่เป็นมาเป็นเวลานับร้อยๆ ปีในเมืองไทยเรา มาสว่างกระจ่างแจ้งด้วยการได้เห็นของจริงภาพจริงจากสถานที่จริง ด้วยฝีมือของชาวเราที่ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้น ก็จะเป็นเกียรติยศแก่คนรุ่นเราเป็นอย่างยิ่ง-ไปชั่วกาลนาน




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย ,๒๘ มีนาคม ๒๕๖๕ ,๑๑:๑๔ น.
URL : dhamma.serichon.us/2022/03/29/ภูมิศาสตร์พุทธประวัติ/
29 มีนาคม 2022 , By admin.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 29, 2022, 09:22:32 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ