ลมหายใจใด เป็นเพื่อการการตกแต่ง ประคองกาย จะยาวก็ดี จะสั้นก็ตาม จะปรากฏขึ้น ก็เป็นเพียงส่วนกาย
เรียกว่า กายสังขาร คือปรุงแต่งส่วนกาย
เมื่อปรุงแต่งส่วนกาย ก็ย่อมให้ทำให้เกิด
ความอ่อนไป
ความน้อมไป
ความเอนไป
ความโอนไป
ความหวั่นไหว
ความดิ้นรน
ความโยก
ความโคลงแห่งกาย ทั้งหมดเรียกว่า มีผลจาก กายสังขาร เพราะปรุงแต่ง ลมหายใจเข้า หายใจออก เพื่อกาย
หายใจเข้ากำหนดรู้ว่า กายสังขารเกิดขึ้น
หายใจออกกำหนดรู้ว่า กายสังขารเกิดขึ้น
เมื่อกายสังขารเกิดขึ้น จึงรู้ด้วยสติว่า กายสังขาร ที่ไม่สามารถสงบระงับ เป็นทุกข์ เพราะให้ผล คือ
ความอ่อนไป
ความน้อมไป
ความเอนไป
ความโอนไป
ความหวั่นไหว
ความดิ้นรน
ความโยก
ความโคลงแห่งกาย พระโยคาวจร พึงมีสติรู้ดังนี้ จึงทำ กายสังขาร ให้สงบระงับก่อน เพราะหาก กายสังขาร ไม่สงบระงับได้
ก็จักยุ่งอยู่แต่ กาย เท่านั้น ไม่สามารถภาวนาทะลุไปยัง นามกายที่แท้จริง ได้ดังนั้น ความได้ลม ก็คือ ได้
นิมิต เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดเพื่อสงลระงับ กายสังขาร
การกำหนด นิมิต มี 4 ประการ
1. คณนา นับ นิดหน่อย จน ถึง นับยาว
2. อนุพันธนา ติดตามลมหายใจเข้า หายใจออก
3. ผุสนา กำหนดจุดกระทบ ของลมหายใจเข้า และ หายใจออก
4. ฐปนา ตั้งฐานจิตไว้ในส่วนที่จุดกระทบ ส่วนเดียว หรือ ทุกส่วน
ในส่วนนี้ มีบรรยายในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เรียกว่า การกำหนดที่ตั้งฐานจิต อานาปานสติ 9 จุด
เป็นการกำหนดนิมิต ทั้ง 4 ตามสภาวะธรรมของ ผู้ภาวนา
เจริญธรรม
