ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยติดอันดับ 3 มีความสุข-พึงพอใจในชีวิตมากที่สุดในเอเชีย  (อ่าน 36 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29286
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



คนไทยติดอันดับ 3 มีความสุข-พึงพอใจในชีวิตมากที่สุดในเอเชีย


KEY POINTS

    •  คนไทย “ค่อนข้างมีความสุข” มากถึง 61% แต่ถึงอย่างนั้นก็มีแค่ 18% เท่านั้นที่รู้สึกว่า “มีความสุขมาก” สะท้อนว่าความสุขของคนไทยยังอยู่ในระดับกลาง ๆ ไม่หวือหวา

    •  “เงิน” คือทั้งตัวสร้างและทำลายความสุขของคนไทย แม้ทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นอันดับหนึ่ง แต่สำหรับคนไทย สถานะทางการเงินคือปัจจัยหลักที่ทั้งทำให้มีความสุขและไม่มีความสุข

    •  ไทยอยู่อันดับกลางของเอเชียด้านคุณภาพชีวิต โดย 51% ของคนไทยรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ตามหลังอินเดียและอินโดนีเซีย แต่สูงกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ค่อนข้างมาก




 :49: :49: :49:

เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานผลสำรวจดัชนีความสุขโลกปี 2025 จาก Ipsos ที่ทำการสำรวจข้อมูลประชากรใน 30 ประเทศทั่วโลกชี้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ “ค่อนข้างมีความสุข” โดยระดับความสุขอยู่ที่อันดับที่ 7 ของโลก (จากทั้งหมด 30 ประเทศตามรายงาน) แต่เมื่อเจาะลึกลงไปเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชีย พบว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่ประชากรมีความสุขและความพึงพอใจในชีวิตมากที่สุด ติดอันดับ 3 จากทั้งหมด 7 อันดับในเอเชีย

ไม่เพียงเท่านั้น รายงานดัชนีความสุขโลกปี 2025 ดังกล่าว ยังเผยให้เห็นจุดที่น่าสนใจอีกว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้คน “มีความสุข” หรือ “ไม่มีความสุข” ก็พบว่าปัจจัยเรื่อง “การเงิน” ยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่สถานะทางการเงินมีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าประเทศอื่น

    'โดยผู้มีรายได้น้อย 38% บอกว่าตนเองไม่มีความสุข เทียบกับ 29% ของกลุ่มรายได้ปานกลาง และ 25% ของกลุ่มรายได้สูง ที่ตอบแบบเดียวกัน'

@@@@@@@

•  คนไทยมีความสุขอยู่ระดับกลาง แต่เงินยังเป็นเรื่องใหญ่

ในกลุ่มประเทศเอเชีย คนไทยส่วนใหญ่ระบุว่า “ค่อนข้างมีความสุข” (61%) ขณะที่ 18% บอกว่ามีความสุขมาก และมีเพียง 2% เท่านั้นที่บอกว่าไม่มีความสุขเลย

นอกจากนี้ คนไทยยังรู้สึก “พึงพอใจในคุณภาพชีวิต” ถึง 51% ซึ่งอยู่ในระดับกลาง ๆ ใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย (54%) และมาเลเซีย (51%) แต่ห่างจากอินเดีย (74%) ที่เป็นผู้นำอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลด้านระดับความสุข-ความพึงพอใจในชีวิต ของแต่ละประเทศในแถบเอเชีย มีดังนี้





• “ความสัมพันธ์กับครอบครัว” ยังเป็นหัวใจหลักของความสุข

โดยรวมแล้ว จากการสำรวจใน 30 ประเทศทั่วโลกพบว่า “ความสัมพันธ์กับครอบครัว” และ “ความรู้สึกว่าได้รับความรัก” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้คนมีความสุข





แต่ที่น่าสนใจคือ ในประเทศไทยและสวีเดน กลับเป็นเรื่องการเงินที่คนมองว่าเป็นตัวขับเคลื่อนความสุขหลัก ซึ่งสะท้อนสภาพเศรษฐกิจและความมั่นคงในชีวิตที่ยังคงมีผลอย่างมากต่อความรู้สึกของผู้คน อย่างไรก็ตาม เมื่อดูปัจจัยที่ทำให้ผู้คนแต่ละประเทศ (ส่วนใหญ่) มีความสุขและไม่มีความสุข ได้แก่

5 อันดับ “ปัจจัยที่ทำให้มีความสุข”

- ความสัมพันธ์กับครอบครัว 36%
- ได้รับความรัก/เห็นคุณค่า 35%
- ควบคุมชีวิตของตัวเองได้ 25%
- สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ 25%
- สถานะทางการเงิน 24%

5 อันดับ “ปัจจัยที่ทำให้ไม่มีความสุข”

- สถานะทางการเงิน 58%
- สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ 30%
- สุขภาพร่างกาย 25%
- สภาพเศรษฐกิจในประเทศ 23%
- ความรู้สึกว่าชีวิตไม่มีความหมาย 19%
- ช่วงอายุไหนที่คนเรามีความสุขที่สุด?

@@@@@@@

•  ผู้หญิงมีระดับความสุขคงที่ตลอดชีวิต แต่ผู้ชายจะพุ่งสูงในวัย 60

รายงานยังชี้ว่า คนเรามักมีความสุขน้อยที่สุดในช่วงวัยกลางคน แต่เมื่ออายุเข้าสู่ 60-70 ปี ความสุขกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีระดับความสุขค่อนข้างคงที่มาตลอดชีวิต และพุ่งสูงสุดในช่วงหลังเกษียณ ส่วนผู้ชายจะมีความสุขสูงสุดในวัย 60 ปีขึ้นไปเช่นกัน แต่ก็เคยมีช่วง “พีค” ในวัย 20 ปีเป็นช่วงสั้นๆ

นอกจากนี้ หากดูในภาพรวมทั้งหมด 30 ประเทศตามรายงานชิ้นนี้ จะพบว่า  "อินเดีย" ครองอันดับหนึ่ง ด้วยสัดส่วนประชาชนที่บอกว่าตนเองมีความสุขถึง 88% รองลงมาคือเนเธอร์แลนด์ (86%)

ส่วน ฮังการี เป็นประเทศที่มีความสุขต่ำที่สุด (45%) ขณะที่ ตุรกี แม้จะไม่ใช่อันดับสุดท้ายในปีนี้ แต่ก็เป็นประเทศที่มีความสุขลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลในปี 2011 โดยลดลงถึง 40 จุดเปอร์เซ็นต์ ขณะที่ "ประเทศไทย" ความสุขของคนไทยอยู่ในระดับกลาง ไม่ดีไม่แย่ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยมีความสุขหรือไม่มีความสุขก็คือ การเงินส่วนบุคคล นั่นเอง

 



Thank to : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1177430
By วรุณรัตน์ คัทมาตย์ | 24 เม.ย. 2025 เวลา 18:10 น.
อ้างอิง : Ipsos Happiness Index 2025
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ