ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ ป่าเล็กๆแห่งหนึ่ง ซึ่งห่างไกลจากหมู่บ้านพอสมควร
มีนกเขาผัวเมียอยู่คู่หนึ่ง หากินในป่าอันอุดมสมบูรณ์นั้นอย่างมีความสุข เมื่อถึงฤดูวางไข่ นกตัวเมียก็ได้วางไข่ 2 ฟอง ทั้งคู่ได้คอยสลับเปลี่ยนกันไปหาอาหารและกกไข่
จนถึงเวลาที่ไข่ทั้ง 2 ฟอง นั้นฟักตัว ลูกนกเขาทั้ง 2 ตัว จึงได้ออกมาสู่โลก
พ่อแม่นกเขาทั้ง 2 นั้น ได้คอยสลับกันออกไปหาอาหารและธัญพืชเอามาให้ลูกน้อย, คอยสลับกันเฝ้ากกลูกเพื่อให้ความอบอุ่น และป้องกันภัยแก่ลูกน้อย
ภู : คร่อก...ฟี่...zZzZ ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO
ชิว : ภู !! ตื่นเดี๋ยวนี้นะ ชิวโกรธนะ... Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ ...
ภู : ヽ((◎д◎))ゝ ว้ากก...!! ตื่นแล้วๆ..!!
ชิว : ฟังชิวเล่าก่อน ชิวไม่ได้เล่านิทานกล่อมภูนอนนะ ... Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ ...
มีอยู่วันหนึ่ง พ่อนกเขาได้ไปหาอาหารธัญพืช พบว่าธัญพืชในป่านั้นเริ่มหายาก จึงได้เที่ยวบินไปจนไปเจอนาข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวใหม่ๆ มีเมล็ดข้าวร่วงหล่นตามคันนาอยู่มาก พ่อนกเขาดีใจ จึงบินไปหมายจะเอาเมล็ดข้าวกลับไปให้ลูกที่รัง
แต่พ่อนกเขานึกขึ้นได้ว่า พื้นที่นี้เป็นของชาวนา อาจมีอันตรายได้ทุกเมื่อ จึงไม่ประมาท บินขึ้นบนกิ่งไม้มองสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ในท้องนา..ว่ามีสภาพแวดล้อมยังไง มีสิ่งใดเป็นภัยต่อตนไหม ควรอยู่ในพื้นที่นี้ยังไง แล้วสังเกตุดูนกตัวอื่นที่กำลังหากินอยู่นั้น ว่าเขาใช้ชีวิตยังไง แต่ละตัวมีปกติหากินอย่างไร วางตัวแบบใด ..เมื่อมองสภาพแวดล้อมดีแล้ว ก็ไม่เข้าใกล้พื่นที่ที่ชาวนาเกี่ยวข้าวกันอยู่ แต่อยู่ในพื้นที่ที่มีเมล็ดข้าวตกจากการเก็บเกี่ยว มีต้นหญ้าสูงพอบังตนเองขึ้นอยู่ แต่มองเห็นสิ่งผิดปกติได้ง่าย เพื่อให้ตนเองกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
เมื่อเก็บเมล็ดข้าวไปได้สักครู่หนึ่ง พ่อนกเขาก็เห็นชาวนากลุ่มหนึ่ง ได้วางโครงไม้ขึงตาข่ายตั้งไว้ ที่กลางคันนาบ้าง ลานกว้างห่างจากท้องนาบ้าง พร้อมโปรยเมล็ดข้าวอ่อนและธัญพืชอื่นๆไว้ภายใน
เมื่อพ่อนกเขาเห็นดังนั้น จึงได้คิดไตร่ตรองว่า..ชาวนากลุ่มนี้ได้หว่านธัญพืชเหล่านั้นไว้ทำไม เขาใจบุญแบ่งเมล็ดธัญพืชให้แก่พวกเรากินหรือย่างไร
พ่อนกเขาจึงได้ลองสังเกตุดูรอบๆ บริเวณที่ชาวนากลุ่มนั้นโปรยเมล็ดธัญพืชไว้ ก็เห็นว่าทุกที่ที่มีการโปรยเมล็ดธัญพืช จะมีโครงไม้ตาข่ายกางไว้อยู่เสมอ จึงคิดไตร่ตรองว่า..ชาวนากลุ่มนี้กางตาข่ายขึงไว้มีจุดประสงค์อะไร น่าสงสัย อย่างไรเสียเราควรเว้นระยะห่าง อย่าพึ่งเข้าไปใกล้ในจุดนั้นเลย รอดูสถานการณ์ไปก่อนดีกว่า..เมื่อคิดไตร่ตรองได้อย่างนั้น พ่อนกเขาจึงไม่เข้าไปใกล้บริเวณนั้น กลับออกมาอยู่ในระยะที่สังเกตุการณ์ได้ เพื่อหาเมล็ดข้าวและธัญพืชที่ห่างจากบริเวณนั้น
เมื่อพ่อนกเขาหาอาหารอยู่ได้ไม่นาน พ่อนกเขาก็เห็นนกกลุ่มหนึ่งที่โหยหิว บินเข้าไปกินธัญพืชที่ชาวนากลุ่มนั้นโปรยไว้ พลันนั้นกับดักนกก็ทำงานดีดตาข่ายเข้าหากัน ขังกลุ่มนกเหล่านั้นไว้ จากนั้นชาวนากลุ่มนั้นก็มาจับเอานกพวกนั้นไป
พ่อนกเขาเห็นดังนั้นแล้วจึงรู้ว่า นั่นคือกับดักที่ชาวนาใช้จับนก หากจะหากินในที่นี้ก็ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะนอกจากกับดักจุดนี้ ก็จะยังมีจุดอื่นที่ซ่อนไว้อีกมาก จึงบินกลับเข้าป่าไป
เมื่อพ่อนกเขาบินกลับถึงรัง จึงได้บอกเหตุการณ์นั้นให้แม่นกฟัง พร้อมวิธีสังเกตุ ระวังภัย แล้วบอกห้ามไปหาอาหารในพื้นที่หมู่บ้าน และ ที่นาข้าวของชาวบ้าน เพราะชาวนาได้วางกับดักจับนกไว้ โดยหว่านเมล็ดธัญพืชล่อไว้ หากที่ใดที่มีเมล็ดธัญพืชวางกองไว้อยู่ในลานกว้าง คันนา โดยมีตาข่ายกางไว้ในที่ตรงนั้น ห้ามเข้าไปกินหรือเก็บเอาธัญพืชเด็ดขาด และยังไม่รู้ว่าจะมีจุดที่ซ่อนหลบไว้อีกมากแค่ไหน ดีที่สุดคือห้ามออกหากินนอกผืนป่านี้..แม่นกก็รับทราบแล้วทำตาม
ภู : คร่อก...ฟี่...zZzZ ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO
ชิว : ภู !! แอบงีบอีกแล้วนะ Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ
...(พลางบินไปดึงหูภู)…
ภู : ヽ((◎д◎))ゝ คร้าบบ...!! ฟังแล้วๆ..!!
ชิว : ตั้งใจฟังให้จบนะ ... Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ ...
เมื่อเวลาผ่านไป จนลูกนกลืมตาดูโลก ได้มีขนเต็มปีกเต็มตัวจน ถึงเวลาที่ต้องหัดบิน..พ่อนกและแม่นกจึงให้ลูกทั้ง 2 ออกจากรังมาเกาะกิ่งไม้ แล้วสอนลูกบิน โดยสอนลูกว่า..ลูกน้อยทั้งสอง ถึงเวลาที่พวกเธอต้องเรียนรู้วิธีบินแล้ว เมื่อโตขึ้นจะได้ออกไปหาอาหารได้ แม่นกจึงเริ่มจากสอนลูกนกกระพือปีกไปมาเพื่อให้รู้วิธีการใช้ปีกบิน และสร้างกำลังกล้ามเนื้อให้ปีกของลูกน้อย
ตอนนั้นมีเพียงลูกนกเขาตัวที่ 1 ที่ฝึกทำตาม คอยดู สอดส่องสังเกตุ คิดพิจารณา จดจำในสิ่งที่แม่นกเขาทำให้ดู..ส่วนลูกนกเขาตัวที่ 2 ก็นิ่งเฉยไม่สนใจ..ด้วยคิดว่าเรามีปีกอยู่แล้ว อย่างไรก็ต้องบินได้อยู่แล้ว จะฝึกฝนเรียนรู้ไปใย เสียเวลาเปล่าๆ จึงยืนนิ่งเฉยไม่สนใจเรียนรู้ฝึกบิน
ลูกนกตัวที่ 1 ฝึกอยู่ก็เห็นว่า..ทำไมกำลังปีกของตนเหมือนไม่มีเลย และบังคับให้ยกกระพือปีกได้ช้าไม่เหมือนที่แม่นกทำ จึงได้ถามแม่ว่า..ทำไมผมยกกระพือปีกยากจัง และทำให้เร็วเท่าแม่ไม่ได้..แม่นกจึงตอบว่า..เพราะลูกยังเด็ก ยังไม่เคยทำ ปีกลูกจึงยังไม่มีเรี่ยวแรง ทำให้กล้ามเนื้อปีกยังไม่ทรงตัว..เมื่อยังไม่คุ้นชิ้น จึงทำให้ตอนแรกที่ทำนั้นดูยาก จนเมื่อลูกกล้ามเนื้อทรงตัว มีแรงและกำลังแล้ว ฝึกฝนจนชำนาญแล้ว ลูกก็จะทำได้เอง
เมื่อลูกนกตัวที่ 1 ทำไปเรื่อยๆก็รู้สึกว่า ปีกตนเองบังคับการยกปีกขึ้นลงได้ดีขึ้น..จึงได้คิดพิจารณาทำความเข้าใจตามสิ่งที่ทำอยู่ หวนระลึกถึงสิ่งที่แม่สอน แม่ทำให้ดู สิ่งที่ทำ สิ่งที่ถามแม่ คำตอบที่ได้จากแม่
จึงเข้าใจชัดแจ้งในสิ่งที่แม่สอนและให้ทำว่า..ที่แม่ให้หักกระพือปีก เพราะเรายังไม่เคยทำ กล้ามเนื้อปีกยังไม่เข้าที่ ปีกจึงไม่มีเรียวแรง เมื่อเราฝึกบ่อยๆ..เพื่อให้ร่างกายของเราสร้างกล้ามเนื้อของปีกขึ้นมา และ ปรับสภาพปีกของเราให้มีแรงกำลังในการควบคุม เหมาะสำหรับใช้บินนั่นเอง..เมื่อลูกนกตัวที่ 1 รู้เห็นเข้าใจได้ดังนี้แล้ว จึงบอกแม่นกตามที่ตนเข้าใจ และถามแม่นกเขาว่า..ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกแล้วใช่ไหมครับ..แม่นกจึงตอบว่า ถูกต้องแล้ว
เมื่อลูกนกตัวที่ 1 รู้หลักการบิน รู้เหตุผล รู้จุดประสงค์ จุดมุ่งหมายที่ฝึกกระพือปีกแล้ว จึงตั้งใจฝึกฝนทำด้วยความสุข..
ส่วนลูกนกตัวที่ 2 ก็ยังเฉยอยู่แม่นกจึงบอกให้ลูกนกตัวที่ 2 ทำ ลูกนกตัวที่ 2 นั้นก็ไม่พอใจ บ่นว่า..มาสั่งๆให้เรียนให้ทำอยู่นั่นแหละ บอกว่าทำเพื่อลูก แต่ที่บอกให้ทำเพราะอยากให้ผมเชื่อหังให้เป็นอย่างแม่บอกเท่านั้น ผมเบื่อแล้ว จากนั้นก็กระพือปีกส่งๆไป 2-3 ครั้ง แล้วก็หยุดทำ พร้อมเดินหนีขยับออกมาอยู่ช่วงปลายกิ่งไม้
พ่อนกเมื่อเห็นลูกนกตัวที่ 2 ไม่ยอมเรียน ซ้ำยังบ่นด่าและหนีอีก จึงดุด่าว่าลูกนกตัวที่ 2 ถ้าไม่เรียนรู้หลักวิธีการบินแล้วจะทำได้อย่างไร จะตกลงไปตายที่โคนต้นไม้แน่นอน ลูกนกตัวที่ 2 กลัวพ่อ จึงขยับตัวไปที่ปลายกิ่งไม้ ปลายกิ่งไม้นั่นอ่อนมากกับน้ำหนักตัวลูกนก จึงเอนหย่อนมาก พ่อนกจึงตกใจกลัวลูกจะตกจากกิ่งไม้ จึงตะโกนร้องให้กลับเข้ามารัง แต่ลูกนกตัวที่ 2 คิดว่าพ่อจะทำร้าย จึงบอกพ่อว่า..ผมจะอยู่ตรงนี้ ด้วยความอ่อนของปลายกิ่งไม้พ่อกับแม่นกก็ไม่กล้าเข้าไปใกล้ จึงได้แต่ปล่อยลูกนกตัวที่ 2 ไว้อย่างนั้นจนเช้า
เวลาผ่านไป..เมื่อถึงวันที่ต้องบินแล้ว ลูกนกตัวที่ 1 ก็บินร่อนลงต้นไม้ได้ และบินขึ้นกิ่งไม้ด้านบนที่เป็นรังได้ ทำอย่างนั้นไปมาได้ 3-4 ครั้งจนเริ่มชิน
ส่วนนกตัวที่ 2 บินร่อนลงกระแทกพื้นและไม่สามารถบินกลับขึ้นกิ่งไม้ได้ จึงร้องเรียกพ่อนกและแม่นกให้ช่วย พ่อแม่นกบินลงมาด้วยความห่วงลูก แต่ก็ไม่สามารถพาขึ้นไปบนรังได้ ได้แต่บอกให้ลูกนกตัวที่ 2 กระพือปีกบิน ลูกนกตัวที่ 2 จึงพยายามกระพือปีกขึ้นบินกระวนกระวายเรางทำอยู่อย่างนี้ จนเวลาผ่านไปถึงตอนเย็น ก็บินได้สูงเพียง 1 เมตร เท่านั้น พ่อแม่นกจึงต้องปล่อยลูกนกตัวที่ 2 ไว้ตรงนั้น แล้วบินกลับขึ้นมาบนรัง เข้านอนกับลูกนกตัวที่ 1
เหตุการณ์นี้กลับทำให้ลูกนกตัวที่ 2 โกรธพ่อนกกับแม่นกว่า..ทั้งๆที่พ่อกับแม่รู้ว่าจะต้องให้บินในวันนี้ ในวันนั้นกลับไม่ยอมสั่งสอนบังคับให้เราทำ..วันนี้จึงทำไม่ได้ แล้วแถมยังมาทิ้งเราอีก..พ่อนกกับแม่นกก็ทำได้แต่มองอย่างห่วงใยและเสียใจ แต่ทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้ นอกจากรอวันที่ลูกนกตัวที่ 2 จะช่วยเหลือตัวเองได้เอง
จนเวลาผ่านไป 3 วัน ลูกนกตัวที่ 2 ก็บินกลับขึ้นมารังได้ พ่อนกจึงสอนวิธีเอาตัวรอด และข้อควรระวัง พร้อมสอนกำชับไว้อย่าบินเข้าไปหากินที่หมู่บ้าน หากพลัดหลงเข้าไปก็ให้สังเกตุกับดักที่ชาวนาใช้จับนก และอุบายหว่านเมล็ดธัญพืชที่ชาวนาใช้ ว่าจุดที่มีเมล็ดธัญพืชรวมกันเป็นกองอยู่กระจุกหนึ่ง วางไว้บนตาข่าย หรือมีตาข่ายขึงกางไว้อยู่บริเวณนั้นจงอย่าเข้าไปใกล้เพราะคือกับดัก ดีที่สุดในหากินในป่านี้..จากนั้นก็บอกให้ลูกออกไปหากินเอง
ลูกนกตัวที่ 1 เชื่อคำพ่อสอน หากินแต่ในป่า มีวันหนึ่งธัญพืชในป่าลดลงจึงบินไปในบริเวณนาข้าวของชาวบ้าน แต่ด้วยจำคำสอนพ่อจึงคอยสอดส่องดูว่าพื้นที่ใดเข้าไปหาอาหารได้ พื้นที่ใดมีกับดัก เมื่อเห็นชัดแล้วก็ได้หากินอยู่บริเวณรอบนอกท้องนาเก็บเศษธัญพืชที่ตกหล่น ไม่เข้าไปใกล้พื้นที่ที่มีตาข่ายกางขึงไว้..เมื่อกิ่นอิ่มได้พอสมควรแล้ว จากนั้นก็บินกลับสู่ป่า ใช้ชีวิตปกติต่อไป
ในขณะเดียวกันลูกนกตัวที่ 2 ก็พลัดหลงเข้าไปในหมู่บ้านเช่นกัน แต่เพราะไม่เคยจดจำใส่ใจสิ่งที่พ่อนกสอนไว้ เมื่อแลเห็นเมล็ดธัญพืชกองอยู่ก็ดีใจและคิดว่า..พ่อนี้โกหกเรา กลัวเราจะกินอิ่มมีความสุข จึงห้ามไม่ให้เราเข้ามาที่หมู่บ้าน ทั้งๆที่มีอาหารพืชพรรณอุดมสมบูรณ์กว่าในป่าอีก จากนั้นก็บินเข้าไปจิกกินธัญพืชนั้น..ทันใดนั้นกับเักก็ทำงานขังลูกนกตัวที่ 2 ไว้ พยายามบินชนฝ่าตาข่ายออกมาเท่าไหร่ไม่ได้ ทำได้แค่ร้องไห้เสียใจกับความผิดพลาดของตน และเสียใจที่ไม่ฟังคำสอนของพ่อนกและแม่นก..แล้วก็ถูกชาวนาจับไปขังกรงรอทำอาหาร
ชิว : ภูเห็นอะไรมั้ย ??..
ภู : ภูก็ยังไม่รู้อะไรเท่าไหร่
ชิว : ก็ลูกนกเขาไง
ภู : อืม..งืมๆๆ ┐(‘~`;)┌ ชิวอธิบายหน่อยสิ
ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ ...
ชิว : พ่อนก เคยเข้าไปในหมู่บ้าน ในที่แปลกตาไม่คุ้นเคย จะเปลี่ยนพื้นที่นั้นเป็นป่าก็ไม่ได้ จะบินกลับเข้าป่าเลยก็จะไม่ได้อาหาร..จึงต้องปรับตัวตามสถานการณ์..คือ..เมื่อหลีกเลี่ยงหรือเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้เป็นดั่งที่ใจเราต้องการไม่ได้..เราก็ต้องปรับตัวเข้าร่วมกับมันเลย คือ พัฒนาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตนเองขึ้นให้สามารถอยู่ในที่นั้นได้ดีและปลอดภัย..พ่อนกจึงตื่นตัว คือมีสติ แต่ไม่ใช่ตื่นตูมตกใจ หรือ ละโมบโลภมาก แต่จะสังเกตุสถาณการณ์ สังเกตุสิ่งแวดล้อม ได้ไตร่ตรองก่อนจะทำอะไร ปรับตัวตามสถานการณ์ จนพบเจอการวางกับดัก ได้นำวิธีกลับมาบอกลูกเมีย
ภู : ヽ(。◕o◕。)ノ.
ชิว : แม่นกเมื่อรับฟัง ก็เข้าใจข้อควรระวัง และทำตามจึงใช้ชีวิตมีสุขตามปกติ
ภู : ヽ(。◕o◕。)ノ.
ชิว : แม่นก เคยเรียนและฝึกฝนทำมาก่อน เมื่อสอนลูกด้วยความรู้ ก็สามารถอธิบายกับลูกนกตัวที่ 1 ได้
ภู : ヽ(。◕o◕。)ノ.
ชิว : ลูกนกตัวที่ 1 มีใจใฝ่เรียนรู้ ดู คิด ถาม จด คือ..
1. ดู สังเกตุ เรียนรู้หลักการ
2. คิดวิเคราะห์ทำความเข้าใจตาม เพื่อเข้าใจหลักการ และ รู้จุดมุ่งหมายของสิ่งที่ทำ
3. เมื่อไม่เข้าใจก็ถาม หรือ ตั้งสมมติฐานแล้วลงมือทำเพื่อเฟ้นหาความจริง
4. แล้วจดจำบันทึกสิ่งที่รู้และเข้าใจจริงไว้ทบทวนกันลืม
ชิว : จึงทำให้ลูกนกตัวที่ 1 มีหลักการ มีความรู้ฉลาด ขยัน ฝึกฝน จดจำ เมื่อถึงเวลาต้องใช้ความรู้และการฝึกฝนจนชำนาญนั้น จึงทำได้ในทันทีไม่ยากเลย
ชิว : แล้วภูเป็นแบบลูกนกตัวที่ 1 ไหมล่ะ ??
ภู : ┐(‘~`;)┌.
ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ
ชิว : ส่วนลูกนกตัวที่ 2 ไม่เข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่สอน ว่าทำไปเพื่ออะไร และ คิดด้วยแง่ลบว่า..สิ่งนั้นไม่ดีทำความลำบากให้ตนเอง จึงละเลยไม่สนใจ สบายตอนที่ควรเรียนรู้ฝึกฝน แต่ลำบากตอนต้องทำจริง
ชิว : ภูเป็นแบบนี้ใช่ไหมนะ 555
ภู : ┐(‘~`;)┌. …ไม่ใช่ซะหน่อย…ヽ((◎д◎))ゝ
ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。^`-´^。)/Ꮚ ... ดังนั้น อย่างแรกเลย คือ ภูต้องรู้ตัวเองนะ ว่าตนเองเป็นคนแบบไหน, มีทักษะอะไร ไม่มีทักษะความรู้อะไร, ไม่นิ่งนอนใจต้องเรียนรู้-ฝึกฝน-ปรับปรุงส่วนที่ด้อยของตน ต้องอุดรอยรั่วหรือแก้ไขจุดอ่อนตนเองยังไง ต้องมีระเบียบวินัยยังไง เพื่อให้ภูใช้ชีวิตบนโลกนี้ได้ นี่เรียก..รู้ตน..
ชิว : ภูเข้าใจนะ จะได้ไม่ต้องเป็นลูกนกตัวที่ 2
ภู : ヽ(。◕o◕。)ノ … งื้มๆๆๆ …
ชิว : ตอนที่พ่อนกดุด่า ลูกนกตัวที่ 2 จึงไปเกาะที่ปลายกิ่งไม้ พ่อนกกลัวลูกตก แต่ลูกนกตัวที่ 2 กลับคิดว่าพ่อจะทำร้ายตน จึงต้องเกาะที่ปลายกิ่งไม้ลมพัดก็จะตก แถมยังหนาวอีก..นี่คือความไม่เข้าใจกัน เพราะใช้อารมณ์สื่อสารกัน พอใช้อารมณ์ก็ปิดกั้นปัญญาทำความเข้าใจ..ในความต้องการอีกของฝ่ายที่จะสื่อ และใช้แสดงออกในการสื่อสารกัน
ชิว : นี่มันภูกับปะป๊าเลยมั้ยนะ
ภู : ಠ﹏ಠ เปล่าซะหน่อย !! (。・ˇ_ˇ・。)
ชิว : การใช้อารมณ์ความรู้สึกพูดคุยสื่อสารกัน มันก็มีโทษอย่างนี้แหละต่างคนต่างเดือด ต่างคนต่างเข้าใจผิด ยิ่งทำด้วยอารมณ์ ก็ยิ่งพ่ายแพ้ เจ็บปวด
ชิว : ตอนที่ภูวิ่งไปให้รถชน ก็เป็นการใช้อารมณ์ความรู้สึกที่จะตอบโต้สถานการณ์ มันก็ยิ่งเจ็บปวด ยิ่งพ่ายแพ้ใช่ไหม
ภู : ಠ﹏ಠ อือ !! (。・ˇ_ˇ・。)
ชิว : ดังนั้นภู..ต้องฝึกสติ..ความรู้ตัว..เมื่อภูรู้ตัวว่าภูกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้าย กำลังติดอยู่ในความรู้สึกนึกคิด..ที่ทำให้ตัวเองเกิดอาการโศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน ย้ำคิด ย้ำทำ อัดอั้น คับแค้นกายใจ รู้สึกแย่ รู้สึกไม่ดี ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ร้อนรนใจ..ทนอยู่ได้ยาก..
: ให้ภูตั้งสติ แล้วทำความสงบใจในทันที โดยการ..สงบนิ่ง..เหมือนตอนเข้าแถวหน้าเสาธงที่โรงเรียน..รู้ทันลมหายใจเข้า รู้ทันลมหายใจออก ทำใจคลายออก เหมือนนอนผ่อนคลายบนที่นอน นอนผ่อนคลายมองท้องฟ้า แสงดาว อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ..
ระลึกในใจว่า..ลมหายให้นี้เป็นที่สบาย ลมหายใจนี้ไม่มีโทษ ลมหายใจนี้ไม่ปรุงแต่งจิต ลมหายใจนี้ไม่มีทุกข์ ลมหายใจนี้เป็นที่เบิกบาน เบา สบาย เย็นใจ
*- หายใจเข้า ระลึกตามลมหายใจเข้าเคลื่อนผ่านโพรงจมูก เข้าไปที่โพรงกะโหลกสมองส่วนหน้า มันเบา ว่าง โล่ง สบาย*
*- หายใจออก นึกถึงลมหายใจออกจากโพรงกะโหลกสมองส่วนหน้า ไหลออกทางปลายจมูก มีความเบา ว่างโล่ง เย็นใจ ผ่อนคลายๆ*
*- หายใจเข้า ระลึกถึงความสุขกาย สบายใจ มีใจลอยขึ้นตามลมหายใจเข้า*
*- หายใจออก นึกถึงความเบา ว่างโล่ง เย็นใจ แผ่เอาความสุข-สบาย-ผ่อนคลายเผื่อแผ่ออกกว้างไปทั่ว*
*- หายใจเข้า ระลึกถึงความเบา สบายกายใจ มีใจลอยขึ้นตามลมหายใจเข้า*
*- หายใจออก นึกถึงความเบา ว่างโล่ง เย็นใจ สบาย ผ่อนคลายๆ*
*- เอาใจปักหลักปักตออยู่ที่ปลายจมูก ดูลมหายใจ รู้ที่ปลายลม..หายใจเข้า*
*- เอาใจปักหลักปักตออยู่ที่ปลายจมูก ดูลมหายใจ รู้ที่ปลายลม..หายใจเออก*
เมื่อทำดังนี้ไปเรื่อยๆ แล้วใจเราจะเบา สงบ เบา สบาย เย็นใจ และไม่ติดข้องในความคิด..จะมีอาการเหมือนมีความรู้สึกที่อัดอั้น คับแค้น ร้อนรนกายใจ..ทนอยู่ได้ยาก นั้นวูบดับลง แล้วจะเกิดอาการแช่มชื่น เบิกบาน เบาสบาย เย็นใจเกิดขึ้นแทน*
ชิว : ทั้งหมดนี้คือ..การปลดปล่อยใจ..เป็นการปลดปล่อยสวัสดิกะ เป็น บังไค ขั้นที่ 1 ของภู คือ..ปลดปล่อยตัวเองออกจาก..สถานการณ์เลวร้าย กำลังติดอยู่ในความรู้สึกนึกคิด..ที่ทำให้ตัวเองเกิดอาการโศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน ย้ำคิด ย้ำทำ อัดอั้น คับแค้นกายใจ รู้สึกแย่ รู้สึกไม่ดี ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ร้อนรนใจ..ทนอยู่ได้ยาก..
ชิว : อาศัยการฝึกจิตให้รู้ทันลมหายใจ..“จิตที่รู้ทันลมหายใจเข้าออกนั้นก็คือ..สติ..ความระลึกรู้ เป็นตัวระลึกรู้ จดจำ ยับยั้ง แยกแยะได้ เป็นตัวประครองใจให้เกิดความรู้ตัวทั่วพร้อม ประครองใจให้รู้ทันสภาวะอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด
..เมื่อหายใจเข้า..สติก็รู้ทันว่ากำลังหายใจเข้าอยู่..ยาวหรือสั้น แรงหรือเบา ช้าหรือเร็ว, เมื่อหายใจออก..สติก็รู้ทันว่ากำลังหายใจออกอยู่..ยาวหรือสั้น แรงหรือเบา ช้าหรือเร็ว..สิ่งนี้เป็นการฝึกสติ..ทำให้สติเกิดขึ้นได้ง่ายและว่องไว เป็นการสร้างกำลังให้สติสามารถตั้งขึ้นได้ง่าย เป็นการฝึกใจให้มีสตินำประครองกำกับรู้ไว้อยู่ เป็นการฝึกสติให้รู้ทันจิต คือ มีสติเกิดขึ้นได้ง่าย-ว่องไวเท่าทันอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง-ตั้งมั่นง่าย นั่นเอง
ภู : ヽ(✿◕‿◕✿)ノ (✧・゚* ◠‿◠)ノ*:・゚✧
ชิว : นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า..การใช้อารมณ์ความรู้สึก..เป็นดาบของคนอ่อนแอ..ส่วนคนเข้มแข็งจะไม่ตามอารมณ์ความรู้สึก..แต่ใช้ความรู้ความสามารถเป็นดาบ
ชิว : หากภูไม่อยากเป็นคนอ่อนแอ ก็ต้องควบคุมใจตนให้ได้ ใช้ความฉลาดรอบรู้ตอบโต้แทน
ภู : *:・゚✧ヽ(✿◕‿◕✿)ノ*:・゚✧
ชิว : ตอนสุดท้ายลูกนกตัวที่ 1 ใช้ชีวิตปกติอย่างมีความสุข เพราะเชื่อฟังคำสอนพ่อแม่ และใช้ปัญญามากกว่าความรู้สึกนึกคิดไปตามอารมณ์..ส่วนนกตัวที่ 2 มักใช้อารมณ์ Toxic เยอะ กลับจบชีวิตลงเพราะดื้อ ไม่ฟัง คิดร้าย คิดลบต่อสิ่งที่พ่อแม่สอนสั่ง
ชิว : ภูอยากจะเป็นลูกนกตัวที่ 1 หรือ ลูกนกตัวที่ 2 ล่ะ 555 ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ
ภู : ಠ﹏ಠ ... ก็ต้องตัวที่ 1 สิ (。・ˇ_ˇ・。)
ชิว : ที่ชิวเล่านิทานเรื่องนี้ นอกจากให้ภูรู้ตน รู้จักพิจารณาตนเองแล้ว อย่างที่ ๒ คือ ให้ภูค่อยๆปรับตัวตามสถานการณ์แบบพ่อนก เพื่อจะได้มีเพื่อนมีสังคมกับเขา คือ..ไม่ประมาท มองสถานการณ์ให้ออก, รู้สภาพแวดล้อม, หากเราเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้เป็นดั่งใจเราต้องการไม่ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนมาเข้าร่วมกับมันแทน, ตื่นตัวมีสติ, ใช้ความรู้ พยายามสังเกตุ, วิเคราะห์, ทำความเข้าใจก่อน, ไม่ผลีผลามทำอะไร ทั้งกับคนหรือสังคม
: รู้คน คือ..คนๆนี้..มีอุปนิสัยใจคออย่างไร มีสภาพจิตใจตอนนี้เป็นอย่างไร ควรเข้าหายังไง ควรวางตัวต่อเขาอย่างไร..เพื่อรู้จักคน, เพื่อน, ครู, คนในครอบครัว เพื่อให้ภูเข้ากับเขาได้
..ถ้าภูไม่รู้คน ก็จะคบหากับคนอื่นได้ยาก..แบบเพื่อนแต่ละคนในวันนี้ หรือ เพื่อนในห้องเรียนไง
: รู้สังคม..สังคมนี้..มีวิถีชีวิตยังไง ใช้ชีวิตแบบไหน มีสถานการณ์อย่างไร เราควรเข้าร่วมกับเขายังไง..ภูก็จะเข้ากับคนอื่นและสังคมได้ง่าย
..ถ้าภูไม่รู้สังคม ก็จะคบหาหรืออยู่กับกลุ่มคน หรือ คนหมู่มาก ลำบาก..แบบกลุ่มเพื่อนในวันนี้ หรือ ที่โรงเรียนไง
ชิว : อย่างที่ ๓ คือ ฟัง เรียนรู้ และทำความเข้าใจความต้องการของคนอื่น เพื่อให้รู้จุดประสงค์ และรู้ประโยชน์ในสิ่งที่เขาทำ..ว่าดี หรือ ร้าย..ไม่ตีตนไปก่อนไข้ ไม่ตั้งอคติลำเอียงก่อนรู้ความจริง พูดง่ายๆ คือ ฝึกรู้ความต้องการของใจคน-ฝึกรู้จุดมุ่งหมายที่เขาทำ แบบลูกนกตัวที่ 1 ไม่ตั้งอคติ ไม่โวยวาย เรียนรู้ทำความเข้าใจ วิเคราะห์ทำความเข้าใจ ฝึกฝน เห็นผลลัพธ์ เข้าใจจุดมุ่งหมาย ไม่อย่างนั้นจะเป็นแบบลูกนกตัวที่ 2
ภู : ಠ﹏ಠ ... (。・ˇ_ˇ・。) ...
ชิว : ทีนี้ภูก็ต้องเริ่มใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึก
ภู : ทำยังไงอะ..ชิว..

..
ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ …วันนี้ภูต้องลงไปทานข้าว ทานยา พูดคุยดีๆกับปะป๊าดีๆ แล้วนอนก่อน พรุ่งนี้เช้า..ทานข้าวแล้ว ภูค่อยมาเรียนกับชิวต่อ..!!!
คุยกันหลังจบตอน
ทุกๆครั้งที่เรากำลังมีความฟุ้งซ่านกายใจ จิตเราก็จะแตกกระจายออกจากกัน..ไม่เกาะกุมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน อุปมาเหมือนแก้วที่แตกกระจายออก ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ใจหมดเรี่ยวแรงกำลังประครองไว้ให้ตั้งขึ้นไม่ได้
ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ..สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดา ผู้รู้แจ้งโลก จึงทรงสอนให้แก้ด้วยธรรมอันเป็นสิ่ิ่งที่ตรงข้ามกัน คือ เมื่อใจฟุ้งซ่านกระจายออก..ก็ให้แก้ด้วยความสงบใจ-มีใจตั้งมั่น-ปล่อยวาง มีสติประครองไว้อยู่ เป็นการทำไว้ในใจรวมจิตไว้ในภายใน เอาจิตที่ี่ฟุ้งปะทุขึ้นที่แตกซ่านกระจายออก..ให้กลับมารวมเป็นหนึ่งเดียว จิตมีกำลัง มีจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
- เจริญโพชฌงค์ตามกาล
- อัคคิสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
..ทำไมผู้เขียนจึงให้ดูลมหายใจเป็นหลัก เพราะลมหายใจนี้ไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ ไม่มีภัย เป็นที่สบายกายใจ ไม่ปรุงแต่งจิต เป็นการฝึกใจให้อยู่กับปัจจุบันขณะ เป็นการแก้ความฟุ้งซ่านใจและอาการอื่นๆอีกหลายประการ..เพราะการรู้ทันลมหายใจของเรานี้ เป็นการฝึกใจเราให้ดึงสติเกิดขึ้นได้ง่าย เป็นการฝึกใจให้สติเกิดขึ้นได้ไว เป็นการฝึกสติให้ตั้งมั่น เป็นการฝึกใจให้ไวรู้ทันจิต เป็นอาหารให้ใจ เป็นสร้างกำลังให้ใจ เป็นปัจจุบัน เป็นมหาสติปัฏฐาน ๔ ทำจิตให้ตั่งขึ้น ไม่หวั่นไหว ไม่โอนเอน ไม่อ่อนแอ ไม่อ่อนไหวไหลพล่าน
..เพราะเมื่อใจมีสติ ใจก็จะยับยั้งรู้ตัวเท่าทัน แยกจากความคิดที่จะส่งผลต่อการพูดและทำ สติที่ตั้งมั่นจะทำให้จิตตั้งมั่นรวมกันเป็นหนึ่งเดียวตาม ทำให้ใจเรามีกำลัง..เมื่อใจเรามีสติและจิตตั้งมั่นรับรู้ไว้อยู่..หากมีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดสิ่งใดแปลกปลอมเกิดขึ้นภายในใจ..ใจเราก็จะรู้ทันในทันที..อุปมาเหมือนดั่งน้ำใสสะอาดในแก้วใส..หากมีสิ่งใดแปลกปลอมขึ้น..แม้แค่ฝุ่นเพียงเล็กน้อย..เราก็จะรู้ได้ทันทีฉันนั้น..นี่คืออานิสงส์การรู้ทันลมหายใจ นี้เป็นกายคตาสติ ลมหายใจนี้จึงเป็นวิปัสสนา..คือ..กายานุปัสสนา ลมหายใจจึงเป็นกองแรกเริ่ม เป็นจุดเริ่มต้นอันดับที่ 1 ใน มหาสติปัฏฐาน ๔ ..ส่วนการทำลมหายใจเป็นฌาณและวิปัสสนานั้น ผู้เขียนจะยังไม่กล่าวถึงในนิบายนี้ เพราะเป็นเรื่องการพิจารณาอีกส่วนหนึ่งที่ลึกซึ้งกว่า
ที่นำการกรรมฐานขึ้นก่อนนี้ เพราะธรรมชาติของคน หากพละกำลังของใจไม่ดี อินทรีย์ ๕ ไม่เต็ม หรือ ไม่เคยฝึกใช้ปัญญาจนเป็นอุปนิสัย คือ ไม่มีกำลังความเลือกเฟ้นน้อมตามด้วยความเห็นชอบของใจ, ไม่มีกำลังความมุ่งมั่นของใจ, ไม่มีกำลังระลึกรู้ประครองใจ, ไม่มีกำลังความตั้งมั่น-ใจรวมกันเป็นอารมณ์หนึ่งเดียวกันไม่ได้..ก็ยากที่จะมีีกำลังของปัญญาเพียงพอจะใช้งานได้..เมื่อกำลังปัญญาไม่เพียงพอ ก็ไม่มีกำลังการทำความรู้เห็นตามจริงของใจ-ก็ไม่มีกำลังความฉลาดเข้าใจรอบรู้-ไม่มีกำลังคล่องแคล่วเชี่ยวชาญของใจ..เป็นผลให้ไม่สามารถใช้ปัญญาได้ เพราะใจอ่อนไหวง่าย ยึดหลงตามความคิดง่าย หวั่นไหวง่าย ฟุ้งซ่านง่าย แต่กรรมฐานทั้ง ๔๐ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มีไว้เพื่อปัญญาทั้งสิ้น
การดูลมหายใจง่ายๆได้ทุกเพศทุกวัน สามารถดูตามคลิปเพลง ดั่งดอกไม้บาน ที่ทางเสถียรธรรมสถาน ของแม่ชีศันสนีย์ ได้จัดทำขึ้นตามลิงค์ข้างล่างนี้เลยครับ
ในส่วนของการเริ่มฝึกใช้ปัญญา จะเป็นการใช้ พระอริยะสัจ ๔ สงเคราะห์ลงใน สัปปุริสธรรม ๗ เป็นหลัก และยังมีธรรมแก้อื่นๆตาม โพชฌงค์ ๗ ทาน ศีล สมาธิ พรหมวิหาร ๔ กรรมฐาน ๔๐ มหาสติปัฏฐาน ๔ และแนวทางอื่นๆ เท่าที่ผู้เขียนพอจะมีปัญญาอย่างปุถุชนสามารถเรียนรู้เข้าถึงได้และใช้งานได้จริง ซึ่งท่านผู้อ่านทุกท่านสามารถติดตามที่นิยายเรื่องนี้ได้เลยครับ