ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน บทส่งท้าย Skill ประเมิณ  (อ่าน 5 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บทขยาย การใช้ SKILL ประเมิน

เป็นส่วนขยายของวิธีการฝึกทักษะความสามารถในการประเมิน

❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️
           หลักแห่งความสำเร็จทั้งเรียนและงาน
♻️  ตั้งใจ  ➡️   ขยัน  ➡️ ทบทวนตรวจสอบ ↩️

        ↕️           ↕️               ↕️

↪️  เข้าใจ  ➡️  ทำได้  ➡️     งานครบ    ♻️
❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️

                       อย่ายอมแพ้

โดยหลักการที่สืบต่อกันตามลำดับ คือ

ตั้งใจ ➡️ ขยันเรียนรู้ฝึกฝน ➡️ หมั่นทบทวนบทเรียน ➡️ ตรวจสอบงานที่ทำส่งครู ➡️ ก็จะทำให้เข้าใจบทเรียน ➡️ ทำได้ ➡️ ส่งงานครูครบ

โดยหลักการที่เป็นเหตุและผลกัน คือ

ตั้งใจ «↔️» ก็เข้าใจ

ขยัน «↔️» ก็ทำได้

ทบทวน/ตรวจสอบ «↔️» ก็งานครบ

****************

สัปปริสธรรม 7

รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม รู้บุคคล

1. รู้เหตุ คือ รู้ว่าผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ (หลักพิจารณา)
       1.1 รู้กิจของตน มีระเบียบวินัยในตน รู้กิจในหน้าที่การงานของตน ที่ตนทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอยู่
           1.1.1) รู้หน้าที่ รู้ว่ากิจการงานหน้าที่ความรับผิดชอบของตนมีอะไรบ้าง
           1.1.2) รู้งาน มีความรู้และความเข้าใจชัดเจนในสิ่งที่ทำ
           1.1.3) รู้วิธี รู้ว่างานที่ทำมีหลักวิธีในการปฏิบัติหน้าที่การงานนั้นๆอย่างไร
       1.2. รู้เหตุหรือหลักการ ผลนี้เกิดแต่เหตุใด รู้ว่าผลทุกอย่างล้วนมีเหตุให้เกิดขึ้น ผลทุกอย่างอยู่ที่การกระทำ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองสืบค้นหาเหตุของสิ่งที่แสดงผลปรากฏขึ้นมาอยู่นั้น รู้เหตุเกิด หรือ เหตุกระทำของสิ่งนั้น และ เฟ้นหาแนวทางการจัดการในสิ่งนั้น คือ รู้ในสิ่งที่ทำว่า
           1.2.1) รู้เหตุเกิด ผลที่ปรากฏอยู่นั้น มีเหตุและปัจจัยองค์ประกอบอย่างไร มีเหตุการกระทำเช่นใดจึงเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์สืบค้นหาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดมีขึ้น หรือ แสดงผลอย่างนั้นออกมา)
           1.2.2) รู้เหตุทำ ส่งที่ทำอยู่นั้น เราต้องใช้ความรู้ในหลักใด มีวิธีการเช่นไร ต้องทำแบบไหน ต้องใช้สิ่งใดเป็นส่วนประกอบเหตุทำให้เกิดผลลัพธ์ในสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อเฟ้นหาหลักการแนวทางที่ตนจะนำมาใช้ทำสิ่งนั้น เพื่อให้สำเร็จผลได้ประโยชน์สุขที่ต้องการ)
           เช่น.. หลงป่าต้องทำอย่างไร มีวิธีเอาตัวรอดเช่นไร หรือ..หากเกิดไฟไหม้ต้องทำเช่นใด มีวิธีปฏิบัติแบบไหน หรือ..น้ำท่วมต้องทำแบบไหน หรือ..เป็นไข้ต้องรักษายังไง
           หรือ..เราได้ศึกษาเรียนรู้ในพระสูตรต่างๆ เพื่อรู้ว่า ณ สถานที่นี้ๆ เวลานี้ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ใคร ทรงพบเจอบุคคลฐานะอย่างนี้ มีอัตภาพชีวิตความเป็นอยู่อย่างนี้ มีอุปนิสัยแบบนี้ คือ พระราชา ขุนนาง พ่อค้า ชาวบ้าน ผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ผู้มักโลภ ตระหนี่ บ้าอำนาจ ผู้มักโกรธ ริษยา พยาบาท ผู้มักหลงเชื่อง่าย ลุ่มหลงง่าย หัวช้า ฉลาด พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมต่อคนที่มีความแตกต่างกันนั้นอย่างไร ใช้หลักการใด ใช้วิธีการใด ในการสั่งสอนให้บุคคลเหล่านั้น ชุมชนนั้นๆ ได้รู้และเห็นชอบตามได้ ทรงแก้ไขทิฏฐิอุปนิสัยนั้นยังไง ทรงแก้ไขปัญหานั้นด้วยวิธีใด ทรงแสดงธรรมแนะนำสั่งสอนแบบใด เพื่อว่าเมื่อเราได้เจอคนประเภทนั้นๆ หรือ ตกอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ ก็จะสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ เพราะรู้ธรรมวิธีแก้ปัญหาสถานการณ์นั้นๆจากพระสูตรแล้ว และ รู้ว่าพระธรรมนั้นๆมีความหมายอย่างไรจากการศึกษาปฏิบัติจนเข้าใจแจ้งชัด

        • [ผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ, พุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณาการกระทำ เข้าถึง “สัมมาทิฏิฐิ” ความเห็นชอบ รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุ ผลมีเพราะเหตุมี ผลทุกอย่างอยู่ที่การกระทำ กำหนดรู้ปัญหาแล้วพิจารณาหาเหตุ หรือ วิเคราะห์หลักการที่นำมาใช้ รู้เหตุกระทำ รู้เหตุเกิด รู้เหตุดับเหตุ]

• (อุปมาเหมือนรู้ตัวทุกขฺ์จึงรู้สมุทัย แจ้งนิโรธจึงเห็นมรรค อุปมาเหมือนรู้ว่า..น้ำปลา ทำมาจากอะไร มีวิธีทำอย่างไร อาศัยรู้ด้วยอริยะสัจ ๔ และ แจ้งชัดอิทัปปัจยตา รู้เหตุให้เกิดทุกข์ สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งนิโรธ สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ เห็นในอริยะสัจ ๔ รู้การกระทำ รู้เหตุกระทำ รู้เหตุเกิด รู้เหตุละ)

2. รู้ผล คือ รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล (หลักพิจารณา)
          รู้ผล คือ เหตุนี้มีอะไรเป็นผล รู้ว่าการกระทำทุกอย่างมีผลสืบต่อทั้งหมด การกระทุกอย่างให้ผลเสมอ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองรู้แจ้งชัดผลสืบต่อจากการกระทำ ตั้งความมุ่งหมาย หรือ รู้ผลสืบต่อในสิ่งที่ทำ และ รู้ความมุ่งหมายที่ต้องการจากสิ่งที่เกิดขึ้น รู้ในสิ่งที่ทำว่า
           3.1) รู้ผลลัพธ์ สิ่งที่ทำอยู่นี้จะให้ผลอย่างไร มีผลสืบต่อเช่นใด มีอะไรเป็นผล (ใช้วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นสืบต่อจากปัจจุบัน, ผลสืบต่อจากการกระทำของตน)
           3.2) รู้ความต้องการ สิ่งที่ทำอยู่นี้มีจุดประสงค์ที่มุ่งหมายอะไร ต้องการได้รับผลตอบสนองกลับอย่างไร หรือ ผลที่ปรากฏอยู่นี้หมายความว่าอย่างไร สื่อความหมายว่าอย่างไร, มีจุดประสงค์อะไร, บ่งบอกถึงความมุ่งหมายต้องการในสิ่งใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้ความต้องการของใจตนเอง และ การสื่อสารเพื่อรู้ความต้องการของผู้อื่น หรือ สิ่งอื่น)
           3.3) รู้สรุปแนวทาง ผลลัพธ์ที่ต้องการจากสิ่งที่ทำนี้ ต้องใช้หลักวิธีการปฏิบัติข้อใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำในขณะนั้นๆ)

        • [รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล, รู้ผลของกรรม(การกระทำ) ..เป็นผลสืบต่อจากการ “รู้เหตุปัจจัย” ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ ถึงสัมมาทิฏฐิ จึงเกิดผลสืบต่อคือ “ศรัทธา” ความเชื่อด้วยปัญญาเห็นจริง ว่าทุกๆการกระทำมีผลสืบต่อ การกระทำทุกอย่างให้ผลเสมอ(กัมมสัทธา, วิปากสัทธา, กัมมัสสกตาสัทธา, ตถาคตโพธิสัทธา), ศรัทธาพละ, สัทธินทรีย์, เพราะรู้ว่ากรรมมีผลสืบต่อ รู้ว่ากรรมให้ผล จึงทำเหตุดับเหตุด้วยการสำรวมระวังการกระทำที่ให้ทุกข์ โทษ ภัยเป็นผล นั่นคือ เจริญศีล เพื่อมุ่งหมายให้ได้ผลลัพธ์จากการกระทำที่ดีงามเย็นใจ ไม่เร่าร้อนภายหลังจากการกระทำของตน ถึงความบริสุทธิ์กายใจไร้มลทิน เป็นต้น]

 • (อุปมาเหมือนรู้ว่าการเจริญมรรคให้มากก็เพื่อละสมุทัย ผล คือ เข้าถึงถึงนิโรธ หรือ การเจริญโพชฌงค์ตามกาลเพื่อละสังโยชน์ รู้ความมุ่งหมายที่ทำในสิ่งนั้น ว่าทำสิ่งนี้แล้วจะได้ผลเช่นนี้ อาศัยรู้ด้วยอริยะสัจ ๔ และ แจ้งชัดอิทัปปัจยตา เกิดสัมมาทิฏฐิ ส่งผลให้เกิด ศรัทธา เชื่อในกรรมด้วยปัญญา ศรัทธาพละ สัทธินทรีย์ ทำให้รู้ว่า ทุกๆการกระทำให้ผลเสมอ รู้ผลของกรรม รู้ทุกข์เป็นผลมาจากสมุทัย, นิโรธเป็นผลมาจากดับสมุทัย ดับสมุทัยด้วยการใช้มรรคละสมุทัย, การใช้โพชฌงค์ ๑๔ ละ สังโยชน์ ๑๐ มี วิชชาและวิมุตติเป็นผล)

• เมื่อรู้ทั้งเหตุและผล ก็เป็นการปฏิบัติให้เข้าถึง พุทโธอริยะสัจ ๔

3. รู้ตน คือ ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณาเพื่อรู้สิ่งที่ตนมีตนเป็นอยู่ ทั้งร่างกาย, จิตใจ, ทรัพย์สิน สิ่งของ, อุปนิสัย, วินัย, ความรู้, ความเข้าใจ, ทักษะความสามารถตน ลงธรรม ๖ คือ ลง สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ตลอดจนรู้ความต้องการของใจตน รู้จักตอบโจทย์แก้ไขปัญหาของตน รู้ว่าสิ่งใดขาด-ควรเพิ่ม, รู้ว่าสิ่งใดเกิน-ควรลดละ, รู้ว่าสิ่งใดพอดี-ควรคงไว้ เพื่อความเหมาะสมดีงาม และ รู้มหาสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ รู้กาย, รู้เวทนา, รู้จิต, รู้ธรรม แล้วเจริญโพชฌงค์ตามกาล ๑๔ ให้มากเพื่อลด ละ ขจัด ในสิ่งที่ควรละหรือสิ่งที่ให้โทษแก่ตน

4. รู้ประมาณ คือ รู้ประเมิณความเหมาะสมตามกาล (Skill ประเมิน) ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณารู้โจทย์ความต้องการของสิ่งที่เราประเมิน เพื่อรู้ว่าสิ่งใดที่ควรทำ-สิ่งใดที้ไม่ควรทำ..ตอบโจทย์ความต้องการนั้นๆ ให้เหมาะสมดำเนินไปได้ด้วยดี รู้ว่าสิ่งใดขาด-ควรเพิ่ม, รู้ว่าสิ่งใดเกิน-ควรลดละ, รู้ว่าสิ่งใดพอดี-ควรคงไว้ ทั้งต่อตนเอง, ต่อช่วงระยะเวลา, ต่อสถานการณ์, ต่อสถานที่, ต่อสังคม, ต่อบุคคล

5. รู้กาล คือ รู้ว่าเวลาใดเราควรทำสิ่งใดจึงจะประกอบด้วยประโยชน์ ไม่มีโทษ อาศัยการรู้มารยาทความเหมาะสม รู้ทำเนียมปฏิบัติ รู้สิ่งที่ควรทำในปัจจุบัน รู้สิ่งที่ควรทำทีหลัง รู้สิ่งที่ควรละ รู้สิ่งที่ควรรอ ในสถานการณ์นั้นๆ ต่อตนเอง, ต่อสถานที่, ต่อสังคม, ต่อกลุ่มคน, ต่อบุคคล อาศัยใช้ร่วมกันกับการประเมิณสถานการณ์ ท่าที การแสดงออก, ผลกระทบ, รู้ความต้องการของสถานการณ์, คุณประโยชน์สุข และ ทุกข์ โทษ ภัย

6. รู้ชุมชน คือ รู้สังคม รู้วิถีชีวิตการประพฤติปฏิบัติของสังคมชุมชนนั้นๆ, ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนสังคมนั้นๆ, รู้สถานการณ์ในชุมชนสังคมนั้นๆ, รู้ความต้องการของชุมชนสังคมนั้นๆ คือ รู้โจทย์ปัญหาและวิธีการตอบโจทย์ปัญหานั้นๆ เพื่อการวางตัวเหมาะสม และรู้วิธีเข้าหาสังคมชุมชน หรือ ชนชั้นนั้นๆ
    - ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ, รู้กาล ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณา

7. รู้บุคคล คือ รู้ว่าคนๆนี้มีอุปนิสัยใจคอเช่นไร, มีความต้องการของใจอย่างไร, จะตอบสนองโจทย์ปัญหาของใจเขาอย่างไร, ควรจะเข้าหาด้วยวิธีการใด
    - ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ, รู้กาล ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณา

*****************************

พุทโธอริยะสัจ ๔ https://writer.dek-d.com/ThepKrean/writer/viewlongc.php/?id=2599447&chapter=8

เวบธัญวลัย
https://www.tunwalai.com/story/831555

************************



          การรู้ประมาณตน คือ การรู้ความเหมาะสมพอดีของตน
          ก็เป็นการ “วินิจฉัยไตร่ตรองวัดค่าปริมาณความเหมาะสมพอดีของตนเอง” ที่เรียกว่า “การประเมิณ” นั่นเอง
          ..อุปมา..เปรียบเหมือนลูกโป่งสามารถบรรจุก๊าซหรืออากาศได้มากเท่าไหร่ หากไม่รู้ประมาณความจุของลูกโป่ง แล้วเราอัดก๊าซเข้าไปเยอะๆต้องการให้ได้ลูกโป่งใบใหญ่ๆ มันก็แตกและใช้การไม่ได้..ฉันใด
          ..อุปไมย..เปรียบลูกโป่งเป็นตัวเรา เปรียบก๊าซที่อัดบรรจุเข้าในลูกโป่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ ต้องจ่าย ต้องทำ..ฉันนั้น
          ดังนั้น..เราจึงต้องประเมินตนเองในสถานการณ์ต่างๆ สิ่งที่เราต้องใช้ ต้องทำ ต้องพึ่งพา เช่น เงิน เวลา สิ่งของ เป็นต้น รวมไปถึงศักยภาพทักษะความสามารถของตนเอง ที่จะต้องใช้ในสถานการณ์นั้นๆ (SKILL) เพื่อรู้การประมาณตนที่พอดี พอเหมาะ พอควร และ พอเพียงเพื่อดำเนินสิ่งที่ต้องทำต่อไปได้ด้วยดี นี่จึงชื่อว่า SKILL ประเมิน



SKILL ประเมิน มีหลายระดับ คือ..
         • LV.1 ใช้ประเมินตนเอง
         • LV.2 ใช้ในการวางแผนชีวิต แผนงาน
         • LV.3 ใช้ประเมินสถานการณ์ในปัจจุบัน
         • LV.4 ใช้ประเมินสังคม กลุ่มคน ระดับฐานะความเป็นอยู่ต่างๆ
         • LV.5 ใช้ประเมินบุคคล
         • แต่หลักการใช้จะคล้ายๆกัน เพราะหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นครบพร้อมดีแล้ว อยู่ที่เรานำมาประยุกต์ใช้ คือ..
         • ใช้หลัก รู้เหตุ, รู้ผล, รู้วิถีชีวิต, รู้ความต้องการของใจ และ รู้กาล มาประเมินสิ่งต่างๆ
         • เพราะเราเป็นเพียงปุถุชนคนธรรมดา จึงสามารถเข้าถึงได้แบบคนธรรมดาทั่วไป ที่มีตามกำลังของสติปัญญาที่จะเข้าถึงได้ จึงต้องรู้ว่าธรรมนี้เราประยุกต์นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสะสมปัญญา เป็นหลักการที่น้อมนำเอาพระสัทธรรมมาประยุกต์ใช้สะสมเหตุ แต่ก็จะได้รับประโยชน์อย่างแน่นอนจากหลักปฏิบัตินี้ไม่มากก็น้อย แต่ไม่มีทางที่จะไม่ได้เลย ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน



การใช้ SKill ประเมิน เพื่อมาวินิจฉัยปรับความสมดุลของตนเอง ให้เข้าปัจจุบันสถานการณ์นั้นๆ คือ..

1. รู้กิจของตน มีระเบียบวินัยในตน รู้กิจในหน้าที่การงานของตน ที่ตนทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอยู่
         1.1) รู้หน้าที่ รู้ว่ากิจการงานหน้าที่ความรับผิดชอบของตนมีอะไรบ้าง
         1.2) รู้งาน มีความรู้และความเข้าใจชัดเจนในสิ่งที่ทำ
         1.3) รู้วิธี รู้ว่างานที่ทำมีหลักวิธีในการปฏิบัติหน้าที่การงานนั้นๆอย่างไร

หมายเหตุ : ที่แยกรู้กิจ ออกจาก รู้เหตุ มาแสดงต่างหากเพื่อให้เข้าใจง่าย และเน้นความสำคัญในการรู้หน้าที่ตน เพื่อสร้างระเบียบวินัยให้ตนเอง เป็นเหตุละความเกียจคร้าน เหนื่อยหน่าย เบื่อ และเป็นระเบียบวินัยในตนเอง ถ้ารู้หน้าที่มีวินัยในตนเอง งานก็สำเร็จได้ด้วยดี มีความเพียร สัมมัปปธาน ๔ หรือ วิริยะบารมีเป็นผล

2. รู้เหตุ ผลนี้เกิดแต่เหตุใด รู้ว่าผลทุกอย่างล้วนมีเหตุให้เกิดขึ้น ผลทุกอย่างอยู่ที่การกระทำ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองสืบค้นหาเหตุของสิ่งที่แสดงผลปรากฏขึ้นมาอยู่นั้น รู้เหตุเกิด หรือ เหตุกระทำของสิ่งนั้น และ เฟ้นหาแนวทางการจัดการในสิ่งนั้น คือ รู้ในสิ่งที่ทำว่า
         2.1) รู้เหตุเกิด ผลที่ปรากฏอยู่นั้น มีเหตุและปัจจัยองค์ประกอบอย่างไร มีเหตุการกระทำเช่นใดจึงเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์สืบค้นหาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดมีขึ้น หรือ แสดงผลอย่างนั้นออกมา)
         2.2) รู้เหตุทำ ส่งที่ทำอยู่นั้น เราต้องใช้ความรู้ในหลักใด มีวิธีการเช่นไร ต้องทำแบบไหน ต้องใช้สิ่งใดเป็นส่วนประกอบเหตุทำให้เกิดผลลัพธ์ในสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อเฟ้นหาหลักการแนวทางที่ตนจะนำมาใช้ทำสิ่งนั้น เพื่อให้สำเร็จผลได้ประโยชน์สุขที่ต้องการ)

3. รู้ผล คือ เหตุนี้มีอะไรเป็นผล รู้ว่าการกระทำทุกอย่างมีผลสืบต่อทั้งหมด การกระทุกอย่างให้ผลเสมอ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองรู้แจ้งชัดผลสืบต่อจากการกระทำ ตั้งความมุ่งหมาย หรือ รู้ผลสืบต่อในสิ่งที่ทำหรือที่เกิดขึ้นอยู่นั้น และ รู้ความมุ่งหมายที่ต้องการจากสิ่งที่ทำที่เกิดขึ้น รู้ในสิ่งที่ทำว่า
         3.1) รู้ผลลัพธ์ สิ่งที่ทำอยู่นี้จะให้ผลอย่างไร มีผลสืบต่อเช่นใด มีอะไรเป็นผล (ใช้วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นสืบต่อจากปัจจุบัน, ผลสืบต่อจากการกระทำของตน)
         3.2) รู้ความต้องการ สิ่งที่ทำอยู่นี้มีจุดประสงค์ที่มุ่งหมายอะไร ต้องการได้รับผลตอบสนองกลับอย่างไร หรือ ผลที่ปรากฏอยู่นี้หมายความว่าอย่างไร สื่อความหมายว่าอย่างไร, มีจุดประสงค์อะไร, บ่งบอกถึงความมุ่งหมายต้องการในสิ่งใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้ความต้องการของใจตนเอง และ การสื่อสารเพื่อรู้ความต้องการของผู้อื่น หรือ สิ่งอื่น)
         3.3) รู้สรุปแนวทาง ผลลัพธ์ที่ต้องการจากสิ่งที่ทำนี้ ต้องใช้หลักวิธีการปฏิบัติข้อใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำในขณะนั้นๆ)

4. รู้ตน คือ รู้จักพิจารณาตนอัตภาพความเป็นอยู่ของตน และ ศักยภาพที่ตนมี ว่า..ดีจุดใด ด้อยจุดใด
         4.1) สุขภาพกายและจิตใจตน
         4.2) รู้อัตภาพชีวิตความเป็นอยู่ตน
         4.3) สัทธา คือ เชื่อด้วยอริยะสัจ ๔ / ใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึก เชื่อว่าการกระทำทุกอย่างมีผลสืบต่อ
         4.4) ศีล คือ ความปกติของใจ / การสำรวมระวังการกระทำ คือ ทำในสิ่งที่มีประโยชน์-ไม่มีโทษ เพราะการกระทำทุกอย่างส่งผลเสมอ ส่งผลใจเย็นใจสบาย ไม่เร่าร้อน
         4.5) สุตะ คือ ความรู้ การเรียนรู้ / หมั่นเรียนรู้ศึกษา เรียนรู้กลักการ วิธีการ และหาความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต
         4.6) จาคะ คือ การสละให้ และ การสละคืน / หมั่นขจัด Toxic (พุทโธวิมุตติสุข + พุทโธอริยสัจ ๔)
         4.7) ปัญญา คือ ความเข้าใจรู้แจ้งเห็นจริง / หมั่นทบทวนทำความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรูให้กระจ่างใจ จนรู้แจ้งแทงตลอด
         4.8) ปฏิภาณ คือ ไหวพริบ คล่องแคล่ว ว่องไว / หมั่นฝึกฝนเพิ่มทักษะความสามารถต่างๆให้ตนเองจนชำนาญ ทำได้คล่องแคล่ว ว่องไว

5. รู้ละ คือ รู้ว่าสิ่งใดทำแล้ว ส่งผลเสีย มีโทษ มีทุกข์ มีภัย สิ่งนั้นควรละ ควรขจัดออกไป

6. รู้รักษา คือ รู้ว่าสิ่งใดกระทำแล้ว มีในตนแล้วประกอบไปด้วยประโยชน์สุข ไม่มีโทษภัย สิ่งนั้นควรรักษาให้คงไว้

หมายเหตุ : ที่แยก รู้ละ และ รู้รักษา ออกมาจากการ รู้ตน เพื่อให้จดจำเน้นความสำคัญในการปรับ ลด ละ และ รักษา สมดุลในกายใจตน การละ จัดเป็นจาคะ คือ ความสละคืนอุปธิ สละคืนอกุศลกรรม เมื่อทำประจำก็มีความเพียรละ และ เพียรรักษาเป็นผล เป็น สัมมัปปธาน ๔ เป็น วิริยะบารมี ด้วยเช่นกัน

7. รู้ลำดับ คือ รู้จักลำดับความสำคัญ รู้ในสิ่งที่ควรทำที่ตรงต่อสถานการณ์ ว่าควรทำสิ่งใดก่อนหลัง ความเป็นผลสืบต่อกัน ตรงสถานการณ์ขณะนั้น ความจำเป็น ระยะเวลาในการทำ

• เมื่อย่นย่อลงจะเหลือเพียง •

• นำพุทโธ อริยะสัจ ๔ คือ ความรู้เหตุ, ความรู้ผล, รู้กาละเทศะ..มาประเมิณเปรียบเทียบกับความรู้ตน หรือ สิ่งที่ตนเองทำ, ที่ตนเองมี, ที่ตนเองเป็นอยู่



        SKILL ประเมินตนเอง ก็คือ การรู้ความต้องการ เอามาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นั่นเอง คือ รู้กิจของตน, รู้เหตุ, รู้ผล, รู้ตนเอง, รู้สิ่งที่ตนเองมีอยู่เป็นอยู่, รู้สิ่งที่ตนเองขาด ที่ควรทำให้เกิดมีขึ้น ที่จำเป็นจะต้องมี, สิ่งที่ไม่่ควรมีอยู่ที่ควรกำจัดออกไป, สิ่งที่ควรคงรักษาไว้, ลำดับความสำคัญ

เมื่อเปิดใช้สกิลประเมิน จะต้องพิจารณาไตร่ตรองดังนี้..

1. รู้กิจของตนในปัจจุบัน คือ รู้หน้าที่และระเบียบวินัยข้อปฏิบัติของตน รู้ว่าตนมีหน้าที่อะไร..มีระเบียบวินัยข้อปฏิบัติอย่างไร, รู้ว่าสิ่งที่ตนต้องทำในช่วงเวลานี้ๆคืออะไร, เพื่อรู้ว่าตนมีหน้าที่ต้องทำในสิ่งใด, ปัจจุบันขณะนี้มีสิ่งใดที่ตนต้องทำบ้าง, รู้ตารางเวลาการทำงานของตน (การรู้หน้าที่และมีระเบียบวินัยในตนเอง เป็นการทำเหตุสะสมความเพียร..ที่จะส่งผลให้เราตัดความขี้เกียจ เกียจคร้าน เบื่อหน่าย ออกไปจากใจเราได้ ให้สามารถทำตามกิจหน้าที่ของตนได้เป็นผลสำเร็จ ดังนั้นข้อนี้ก็เป็นหนึ่งใน “เหตุ” แต่จับแยกออกมาให้ภูรู้ความสำคัญและจดจำง่ายเท่านั้นเอง)
        • โดยให้ทำความรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วทบทวนสิ่งที่ต้องทำในปัจจุบันขณะนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..วันนี้ตนมีกิจการงานสิ่งใดที่จะต้องทำบ้าง แล้วในปัจจุบันเวลานี้กิจการงานที่จะต้องทำคืออะไร มีสิ่งใดบ้าง

2. รู้เหตุปัจจัยของสิ่งที่ทำ พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นหรือทำอยู่..
      • เพื่อรู้สาเหตุและองค์ประกอบเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นหรือทำอยู่
      • เพื่อรู้แนวทางวิธีการจัดการที่จะให้ผล
         กำหนดรู้เหตุจากสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อรู้สภาวะ รู้การกระทำ รู้กระบวนการ รู้เหตุการกระทำ รู้หลักวิธีการที่ควรปฏิบัติ รู้ว่าสิ่งที่ตนทำอยู่นั้นต้องการใช้ความรู้ในหลักวิธีการและสิ่งใดทำ รู้หลักการที่ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม รู้หน้าที่และการกระทำในสิ่งอันเป็นปัจจัยองค์ประกอบเหตุต่อกันที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้น (เหตุ = หลักการ และ วิธีทำ / ปัจจัย คือ องค์ประกอบเหตุ ให้เกิดผล), รู้เหตุและองค์ประกอบเหตุของสิ่งที่ทำ, รู้ว่ากิจหรือสิ่งที่ตนกำลังทำนั้น..ต้องมีสิ่งใด-ต้องใช้สิ่งใด-ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง, มีวิธีการทำเช่นใด
        • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังจะทำในปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ตนจะทำสิ่งนั้นได้จะต้องมีสิ่งใด ต้องใช้หลักการใด มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นองค์ประกอบ ต้องใช้ความรู้หลักการและสิ่งใดทำบ้าง มีวิธีการทำอย่างไร..เพื่อรู้หลักวิธีการที่จะนำมาปฏิบัติในสิ่งนั้น

3. รู้ผลสืบต่อจากสิ่งที่ทำ พิจารณาจากสิ่งที่ทำ..
      • เพื่อรู้ผลกระทบสืบต่อ
      • เพื่อรู้จุดมุ่งหมายที่ตนทำ (รู้ความต้องการของใจ)
      • เพื่อรู้จุดมุ่งหมายที่คนอื่นทำ (รู้ความต้องการของใจที่ผู้อื่นสื่อสารกับเรา)
      • เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำ (รู้หลักการ แนวทาง วิธีการที่จะนำมาใช้ให้ถูกตรงกับสิ่งนั้น)
         กำหนดรู้ผล เพื่อรู้ความมุ่งหมายต้องการจากสิ่งที่เกิดขึ้นที่แสดงผลออกมาอย่างนั้น รู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือ กำหนดรู้ผลลัพธ์ที่จะเกิดมีขึ้นสืบต่อจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือ กำหนดรู้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นหากตนกระทำสิ่งใดไป หรือ ทำผลสำเร็จที่ต้องการให้ประจักษ์แจ้งเห็นชัดตามจริง รู้ความหมายที่ผู้อื่นสื่อสารแสดงออก รู้ความต้องการของใจที่ผู้อื่นสื่อสารกับเรา (เขาแสดงออกมาอย่างนี้ ต้องการจะสื่อสารอะไรกับสาร หมายความเช่นใด มีความมุ่งหมายอย่างไร ต้องการสิ่งใด อยากได้ผลตอบกลับเช่นไร) เพื่อเลือกเฟ้นแนวทาง..วิธีการจัดการ วิธีรับมือ วิธีปฏิบัติที่ตรงจุด เพื่อไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้สำเร็จ
        • รู้ความต้องการจากสิ่งที่เกิดขึ้นที่แสดงผลอยู่นั้นว่า..มีความมุ่งหมายอะไร ต้องการผลลัพธ์เช่นไร (ผล = เป้าหมายที่ต้องการ), รู้ว่าหากทำสิ่งใดไปจะเกิดผลกระทบยังไง, ทำสิ่งใดจะส่งผลอย่างไร, สิ่งที่ทำอยู่นี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่นไร, รู้ความหมาย, จุดประสงค์ที่มุ่งหมาย, ทำเพื่อความมุ่งหมายอะไร, รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้มาจากหลักการใด, หลักการนั้นๆมีความมุ่งหมายอะไร, กำหนดข้อปฏิบัตินี้ไว้เพื่อจุดประสงค์อะไร, หากต้องการให้ได้ผลลัพธ์เป้าหมายแบบไหนจะต้องทำอย่างไร
        • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังจะทำในปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูทำสิ่งนี้มีจุดประสงค์อะไร มีความมุ่งหมายต้องการสิ่งใด สิ่งที่ภูทำนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่นไร หากต้องการผลลัพธ์แบบไหนจะต้องทำยังไง คือ รู้วิธีทำให้สำเร็จได้ตามเป้าหมายหรือความทุ่งหมายที่ต้องการนั้น

4. รู้ตนเอง คือ รู้สภาพร่างกายและจิตใจตนเอง รู้อััตภาพชีวิตของตน รู้สิ่งที่ตนมีอยู่ ความรู้และทักษะความสามารถของตนเองที่มีอยู่ (สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ที่ตนมีอยู่) รู้สิ่งที่ตนขาด ส่วนที่ขาด สิ่งของที่ขาด ที่ต้องทำให้มี ต้องเพิ่ม ที่ต้องหาหรือสร้างทดแทน ความรู้ความสามารถที่ตนขาดไป (สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ที่ตนขาดไป)
        • โดยมองดูสิ่งที่ตนต้องทำ หรือ เผชิญหน้าในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูทำอะไรในตอนนี้ได้บ้าง..เพื่อรู้สิ่งที่ตนมีอยู่ สิ่งที่ตนขาดไป และ สิ่งที่ตนสามารถทำได้ในทันที
        4.1) รู้สภาพร่างกายและจิตใจของตน คือ รู้สุขภาพร่างกายของตนในปัจจุบัน ว่า..แข็งแรง หรือ ป่วยไข้ / รู้สภาพจิตใจของตนในปัจจุบัน ว่า..สภาพจิตใจปกติ แจ่มใส หรือ หน่วงตรึงจิตให้เศร้าหมอง คือ คิด อคติ ๔  ได้แก่ มีสภาพจิตใจที่เอนเอียงเป็นไปใน..
        4.1.1) รัก (ยินดี, อยาก, ใคร่, โหยหา, หมายใจใคร่เสพ, เสน่หา)
        4.1.2) ชัง (ยินร้าย, หดหู่, ซึมเศร้า, โกรธ, เกลียด, ผลักไส, แค้น, คิดร้าย, อาฆาต, พยาบาท)
        4.1.3) หลง (ใช้อารมณ์ความรู้สึก ไม่ใช้ปัญญา, ลุ่มหลง, งมงาย, โลเล, ไม่รู้จริง หรือ ใช้ปัญญาแสวงหาประโยชน์โดยไม่รู้ถูก-ผิด..แล้วทำตามที่ใจใคร่อยากหรือเกลียดชัง)
        4.1.4) กลัว (ขลาดกลัว, หวาดกลัว, หวาดระแวง, พะวง, สะเทือนใจ, หวั่นใจ, ใจสั่น, ไม่สงบ)
        4.2) รู้สิ่งที่ตนมีอยู่ คือ รู้ว่าตนมีสิ่งที่จะใช้ทำในกิจการงานนั้นๆอยู่หรือไม่ มีมากน้อยเท่าไหร่ เพียงพอจะทำสิ่งนั้นหรือไม่ รู้อัตภาพความเป็นอยู่ของตน เพื่อรู้ว่าสิ่งที่ตนเองมีอยู่นั้นเพียงพอให้ใช้งานหรือไม่ หรือ สามารถใช้จ่ายได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น เงิน สิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ ตลอดไปจึงถึงทักษะความรู้ความสามารถของตน
        4.3) ศรัทธา หรือ สัทธา คือ ใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึกรู้ชัดว่า..ทุกการกระทำมีผลสืบต่อทั้งหมด พิจารณาใช้ความรู้เหตุและรู้ผลก่อนทำ เพื่อก่อประโยชน์สุขไม่มีทุกข์ โทษ ภัย ต่อตนเองให้ได้มากที่สุด และ แผ่ไปถึงผู้อื่นด้วย..
        4.4) ศีล คือ สำรวมระวังการกระทำ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสืบต่อที่จะเกิดขึ้นว่ามีคุณหรือโทษก่อนกระทำ เป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบ วินัย หน้าที่ ข้อปฏิบัติ จึงต้องมีความรับผิดชอบในตนเอง ที่เรียกว่า มีวินัยในตนเอง เพื่อทำให้กิจหน้าที่การงานของตนดำเนินไปได้ด้วยดีจนสำเร็จ เป็นการสร้างปลูกฝังความเพียร ตัดทิ้งความขี้เกียจ ท้อแท้เบื่อหน่ายออกจากใจ ให้ผลเย็นใจไม่เร่าร้อน
        4.5) สุตะ คือ การศึกษาใฝ่หาความรู้ เรามีความรู้มากน้อย รู้ว่าน้อยก็ต้องศึกษาเพิ่ม ขาดความรู้กลักการใด ไม่เข้าใจก็ต้องศึกษาค้นคว้าวินิจฉันเพิ่ม เมื่อรู้แล้วก็ต้องทำความเข้าใจให้แจ้งชัด รู้เหตุ รู้ผล
        4.6) จาคะ คือ อุปนิสัยดี แจ่มใส ขจัด Toxic ออกจากใจตลอดเวลา เพราะเมื่อไม่มี Toxic ก็จะทำให้วินิจฉัยสิ่งต่างๆได้โดยปราศจากความอคติลำเอียงในใจเพราะ รัก ชัง หลง กลัว ทำให้สมองโล่งไม่มีความอยากลากดึงปิดกั้นใจจากความจริง ก่อให้เกิดปัญญาเข้าใจชัด
        4.7) ปัญญา คือ ความเข้าใจแจ้งเห็นชัดตามจริง ในสิ่งที่ทำ หรือ ในสิ่งที่กำลังศึกษาเรียนรู้อยู่นั้น ไม่เข้าใจก็ต้องค้นคว้าทำความเข้าใจ คนเราแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจที่ต่างกัน ถนัดต่างกัน ลงใจต่างกัน เราจึงต้องศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจในแบบของเรา จึงจะเกิดผลประโยชน์สูงสุด และทำให้รู้ได้แจ้งชัดถูกต้องตามจริง
        4.8) ปฏิภาณ คือ ทักษะความสามารถ (Skill) ความคล่องแคล่วว่องไว มีไหวพริบในการพูดหรือทำตอบโต้สนองกลับสถานการณ์หรือผู้อื่น อันเป็นผลมาจากการมีความรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งที่ทำที่เรียนรู้ คือ
        4.8.1) รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุใด ทักษะความเข้าใจในหัวข้อหลักการ วิธีการ วิธีทำ จำแนกประเภทได้ ลำดับขั้นตอนได้ สรุปโดยย่อได้ใจความ
        4.8.2) รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล ทักษะความเข้าใจในการรู้ความหมายวัตถุประสงค์ที่ทำ อธิบายขยายความได้ถูกต้องตามจริง
        4.8.3) รู้หลักภาษาที่ใช้ ทักษะความเข้าใจในการใช้ภาษาสื่อสารกับคนในแต่ละพื้นที่ชุมชน กลุ่มคน สังคม และ ส่วนบุคคล ให้เข้าใจได้ง่าย และ ถูกต้องตรงกัน
        • หากในตนมีข้อใดข้อหนึ่งขาดไปในข้อ 4.1-4.8 นี้ ก็จะต้องหมั่นฝึกฝนให้เกิดมีขึ้นมา ให้มีเพียงพอ ต้องทำเพิ่มในส่วนที่ไม่มี เพิ่มหรือทดแทนในส่วนที่ขาดหายไป

5. รู้สิ่งใดที่ควรละ ที่ตนไม่ควรทำ คือ สิ่งใดที่เมื่อทำแล้ว จะส่งผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ถูกสถานที่ ไม่ถูกทาง ไม่ถูกกาลเทศะ มีทุกข์ โทษ ภัย
        • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังทำ หรือ เผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ตนมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคต่อสถานการณ์นั้น หรือ หากทำสิ่งใดจะส่งผลเสีย เพื่อรู้สิ่งที่ต้องกำจัดให้หมดไปในตอนนั้น

6. รู้สิ่งใดที่ตนควรรักษาให้คงไว้ เปรียบเทียบกับ สิ่งที่ตนเผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น
        • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังทำ หรือ เผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ตนมีสิ่งใดที่เพียงพอเหมาะสมสำหรับใช้ในสถานการณ์นั้นแล้ว เพื่อรู้สิ่งที่ควรรัักษาให้คงอยู่ไว้

7. รู้ลำดับความสำคัญ เปรียบเทียบกับ สิ่งที่ตนเผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น
        • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังทำ หรือ เผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า
        7.1) ส่งใดที่เกี่ยวเนื่องสืบต่อกัน สิ่งใดมีสิ่งนี้จึงมีได้ สิ่งใดเป็นเหตุและผลต่อกัน
        7.2) สิ่งใดที่มีตรงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน หากชักช้าจะส่งผลเสียไม่ทันการณ์ สิ่งนั้นต้องทำในทันที
        7.3) สิ่งใดที่ต้องมีในสถานการณ์นั้น แต่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ในปัจจุบันทันที สิ่งนั้นสามารถรอทำในลำดับต่อมาได้
        7.4) สิ่งใดที่ต้องมีในสถานการณ์นั้น แต่ต้องทำสะสมปริมาณไปเรื่อยๆจนเต็มครบพร้อม ต้องใช้เวลานาน สิ่งนั้นควรค่อยๆทำสะสมเหตุไปเรื่อยๆ
        • พิจารณาเพื่อรู้ลำดับความสำคัญ

..การประเมิณที่นี้ ทำไว้เพื่อให้ตนเองได้รู้ ส่วนที่มี ที่ขาด ที่เกิน แล้วเพิ่ม หรือลด หรือคงไว้..ตามความเหมาะสมพอดีของตน ไม่ให้สุดโต่งเกินตัว หรือ เหลาะแหละ ผิดพลาด พลาดพลั้งบ่อยๆ แต่สามารถทำให้ตนเองก้าวไปข้างหน้าได้ด้วยดี



SKILL ประเมินสถานการณ์ เป็นการประเมินเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์นั้นได้ เพราะทำให้รู้โจทย์ปัญหา สิ่งที่ใช้ตอบโจทย์ปัญหา เรามีดีสิ่งใดที่ควรคงรักษาไว้ เราขาดสิ่งใดที่ควรเพิ่มเติมทดแทน เราเกินสิ่งใดที่ควรลดละลงให้พอดี เป็นการใช้อริยะสัจ ๔ กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำนิโรธให้แจ้ง ทำมรรคให้มาก ร่วมกับ อิทธิบาท ๔ เข้าวิเคราะห์ตนเอง, สถานการณ์, ความรู้ การเรียน, การทำงาน, แผนก, ฝ่าย, สังคม, พื้นที่ชุมชน ห
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ