ฉบับร่าง
รอเพิ่มเติมประกอบเรื่อง
และเรียบเรียงข้อมูล
..วันเสาร์ 15:00 น. หลังจากภูทำการบ้านเสร็จ
ภู : อ๊าาาา เสร็จแล้ว... (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧
ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ เก่งมากภู ตอนนี้ก็หยุดพรุ่งนี้อีกวัน วันจันทร์ต้องไปเรียนแล้วนะ
ภู : อื้อ.. (◍•ᴗ•◍)
ชิว : งั้นจากนี้ภูต้องไปพบปะผู้คนแล้วหัดเข้าสังคมแล้ว
ภู : (;ŏ﹏ŏ) กังวลนิดๆ กลัวเขาจะ Toxic แล้วภูจะทนไม่ได้
ชิว : ไม่ต้องกังวล เพราะเราฝึกได้ การฝึกนี้เรียกว่า รู้ชุมชน ก็คือ รู้สังคมนั่นเอง พอเรียนรู้แล้วภูกํทพลองได้จากไปเล่นดับกลุ่มเพื่อที่หมู่บ้านไง
ภู : อืม ก็น่าลองนะ ( ̄ヘ ̄;)
ชิว : แน่นอนสิ ถ้าทำได้ก็เท่ากับว่าภูสามารถใช้ชีวิตได้ทั้งกับกุ่มคนทุกระดับชนชั้น กับ เพื่อน ครู พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา คนรวย คนจน คนมีฐานะสูงศักดิ์ คนที่ที่มีอัตภาพฐานะสูงกว่า คนที่มีอัตภาพฐานะเสมอกัน คนที่มีอัตภาพฐานะต่ำกว่า สังคมต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับไหน Toxic หรือดีเลิศ หรือเสมอดัน หรือด้อยกว่า
ภู : ว้าวว...น่าสนใจมากเลย อย่างนี้ก็เยี่ยมเลย
ชิว : ใช่แล้ว การรู้สังคม เป็นการปรับตัวตามสถานการณ์ และ สภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งจะให้คุณประโยชน์สูงในการพบปะ เข้าหา วางตัว สนทนา ดำรงชีพใช้ชีวิตอยู่กลุ่มคนสถานที่ต่างๆ วิถีชีวิตต่างๆ ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ..ได้ด้วยดี
ภู : ว้าวววว..งั้นชิวสอนภูเลย (☆▽☆)
ชิว : โอเช..เยย !! ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ
ชิว : รู้จักชุมชน ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น
กล่าวคือ..การรู้ชุมชน หรือ สังคม.. ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่าชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น
ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้...
ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23
ชิว : ซึ่งการจะเข้าถึงกลุ่มคนแต่ละระดับได้ เราก็จำเป็นต้องรู้จักสิ่งที่ทำให้กลุ่มบุคคลนั้นๆรวมกันอยู่ได้ รู้ความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนะธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ข่าวสารสถานการณ์ความเป็นอยู่ของกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ รู้ว่าสังคม-ชุมชนที่เราเข้าหาเป็นกลุ่มคนประเภทใด สถานะอย่างไร มีวิธีการคบหา พบปะ สนทนากับเขาอย่างไร ต้องวางตัวอย่างไร ต้องปฏิบัติต่อเขายังไง ให้เหมาะสม
ภู : งืมๆๆ.. ความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ข่าวสาร สถานการณ์ความเป็นอยู่ เพื่อการจะใช้วางตัวต่อเขา
ชิว : เมื่อจัดกลุ่มวิธีการเข้าหากลุ่มคนหรือสังคม เราก็จะแยกกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้
1. กลุ่มคนในพื้นที่นี้ๆ มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร มีขนบธรรมเนียมประเพณีเช่นไร มีข่าวสารสถานการณ์เป็นเช่นใด ควรเข้าหาอย่างไร เช่น กลุ่มคนประเทศต่างๆ กลุ่มคนจังหวัดต่างๆ กลุ่มคนอำเภอต่างๆ กลุ่มคนองค์กรต่างๆ กลุ่มคนหมู่บ้านต่างๆ กลุ่มคนในตรอก-ซอก-ซอยต่างๆ กลุ่มคนครอบครัวต่างๆ เราจะต้องเข้าหาอย่างไร พบปะอย่างไร ต้องประพฤติตัวต่อเขาอย่างไร วางตัวเช่นไร สนทนาอย่างไร คบหาอย่างไร จุนเจืออย่างไร
ภู : งืมๆๆ.. ความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของคนในพื้นที่หรือสถานที่นั้น
2. กลุ่มคนที่มีฐานะนี้ๆ มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร มีขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติเช่นไร มีข่าวสารสถานการณ์เป็นเช่นใด ควรเข้าหายังไง เช่น พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ เจ้าขุน มูลนาย เจ้าสัว กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้อำนวยการ กลุ่มผู้จัดการ กลุ่มเพื่อนร่วมงาน ผู้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี ผู้มีฐานะความเป็นอยู่ที่กลางๆ ผู้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ด้อย กลุ่มครู กลุ่มเพื่อน ครอบครัวตนเอง คือ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย เราจะต้องเข้าหาอย่างไร พบปะอย่างไร ต้องประพฤติตัวต่อเขาอย่างไร วางตัวเช่นไร สนทนาอย่างไร คบหาอย่างไร จุนเจืออย่างไร
ภู : งืมๆๆ.. ฐานะ ตำแหน่ง ชนชั้น อายุ
3. กลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถระดับนี้ๆ เขามีวิถีชีวิตอย่างไร มีรูปแบบการพบปะเข้าหาเช่นไร มีข่าวสารสถานการณ์เป็นเช่นใด ควรเข้าหาอย่างไร เช่น กลุ่มคนที่มีความฉลาด มีความรู้ ความสามารถมาก กลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถกลางๆ คนที่มีความรู้ความสามารถน้อย เราจะต้องเข้าหาอย่างไร พบปะอย่างไร ต้องประพฤติตัวต่อเขาอย่างไร วางตัวเช่นไร สนทนาอย่างไร คบหาอย่างไร จุนเจืออย่างไร
ภู : งืมๆๆ แล้วภูจะรู้ได้ยังไงว่าใครเก่งแค่ไหน ไม่เก่งแค่ไหน ยากจัง แค่เพื่อนปกติยังเข้ากาไม่ได้เลย (。ŏ﹏ŏ)
ชิว : ภูก็ต้องเริ่มจาก..ไม่เรียกร้องเอาคุณค่าตัวเองจากใคร ไม่ต้องอยากให้ใครมายกยอปอปั้นภู แต่ภูเรียนรู้ที่จะเข้าใจเขาแทน ให้เขาได้แสดงความสามารถออกมา แต่ไม่ใช่ว่าเราต้องเป็นคนโง่ แต่เป็นคนฉลาดที่ไม่ต้องไปอวดรู้ใคร ฉลาดที่จะรับฟัง ฉลาดที่จะเปิดทางให้พวกเขาแสดงศักยภาพความรู้ความสามารถออกมาแทน
ภู : ว้าว..ดีเลยสินี่
ชิว : ใช่มั้ยล่ะ..นั่นก็เพราะการดึงความสามารถของกลุ่มคน หรือ บุคคล ให้สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้เต็มที่และเต็มใจทำได้นั้น เป็นสุดยอดคนยิ่งกว่าที่จะตนเองจะไปแสดงศักยภาพของตนให้ผู้อื่นเห็น หรือ ยอมรับโดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สิ่งใด นอกจากได้สมใจอยากใน ลาภ ยศ สรรเสริญ ที่ตนมุ่งหวังให้ได้รับสรรเสริญเยินยอจากผู้อื่น..เพราะไม่เพียงทำให้เรารู้ความสามารถคนได้ ยังสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตนไม่เคยรู้ สามารถเข้าหาพึ่งพาแบ่งปันกันได้ถูกทาง ถูกความถนัด ความสามารถที่แต่ละคนมีได้อีกด้วยนะ
ภู : โอ้ว..ดีเลยสินี่ เหมือนเลือกขุนศึกของพระราชาเลย
ชิว : ใช่แล้ว..โดยภูสามารถรับฟังกลุ่มคน หรือ บุคคล เหล่านั้นพูดแสดงความสามารถ โดยให้ยึดมั่นในใจว่า..จะใช้ปัญญาไตร่ตรอง โดยไม่เข้าไปมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับพวกเขา แล้วพิจารณาพื้นฐานได้ดังนี้..
1. หากสิ่งใดที่เขาแสดงมาถูก แต่เรารู้มาก่อนแล้ว เราก็ควรให้เกียรติชื่นชมเขา และ เห็นว่ามีความเห็นตรงกัน เรามีความรู้ถูกต้องในระดับหนึ่ง
2. หากสิ่งใดที่เขาแสดงมา แล้วเราไม่มีความรู้ในสิ่งนั้น ก็ไม่ต้องไปขัดแย้ง หรืออวดตนให้้เขาฟังเรา แต่เราก็ต้องรู้จักรับฟัง สังเกตุ วิเคราะห์ ไตร่ตรองตามหลักความ ให้แสดงต่อเขาถึงความสนใจในสิ่งนั้น แล้วให้เขาแสดงแนวทาง กลักการ วิธีคิด วิธีทำ เหตุผล อธิบายในสิ่งนั้นเพิ่มเติมให้เราเจ้าใจ แล้วเราก็ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม
3. หากสิ่งใดที่เขาแสดงมาไม่ถูก แต่เรารู้สิ่งที่ถูกต้องแล้ว เราก็ควรให้เกียรติเขา และ ไม่ควรพูดขัดแย้งให้เขาต่อต้านเรา เราไม่ควรไปดูถูกดูแคลนเขา แต่เราควรศึกษาในมุมมองของเขาเพื่อสอบถามความเห็น แนวความคิด จับจุดความคิดนั้นของเขา โดยอาจกล่าวถามถึงมุมมองความเชื่อ ความรู้เห็นตามจริง หลักการ แนวทางวิธีของเขาที่มีต่อสิ่งนั้น ว่ามีความรู้เห็นอย่างไร ใช้หลักการใด มีวิธีคิดอย่างไร จึงสรุปผลหรือแสดงผลลัพธ์ออกมาได้อย่างนั้น เมื่อรู้แนวคิดเขาว่าผิด ถูก บิดเบือน หรือยังไม่ครบพร้อมเพียงไร สามารถจับจุดปิดพลาดหรือรู้ประเด็นสำคัญที่เขาเข้าใจผิดแล้ว เราก็สามารถพูดกล่าวถึงประเด็นสำคัญเปิิดมุททองความเห็นที่จะใช้ชักจูงให้เขาคิดวิเคราะห์ตามในทางของเรา คือ พูดตามสิ่งที่เขารู้ โดยจุดประเด็นถึงข้อสังเกตุบางสิ่ง ให้สอดแทรกเสริมในเชิงการคิดวิเคราะห์..เพื่อให้เขาไตร่ตรองตามเรา..แล้วน้อมใจมาในสิ่งที่เราเสริมให้เขาวิเคราะห์ตามนั้น หากบอกให้เขารู้ตามไม่ได้..ก็ให้ปล่อยวาง วางเฉยโดยคิดเสียว่า..เราอาจจะยังไม่เก่งพอที่จะแนะนำพวกเขา..เรายังต้องเรียนรู้เพิ่มเติม หรือ เราจับประเด็นสนใจของพวกเขาไม่ได้..จึงไม่สามารถแสดงชักจูงให้เขารู้เห็นตามเราได้ หรือ พวกเขาไม่ได้มีบุญสัมพันธ์เกื้อหนุนความรู้กันกับเรา
ภู : งืมๆๆ ยาวนะจะจำได้ไหม
ชิว : ภูก็จำว่า พิจารณาการแสดงความรู้ ความสามารถ ของกลุ่มคนสังคมพวกเขาที่แสดงออกกับเราว่า..
1.) สิ่งใดเขาและเรารู้เข้าใจตรงกัน..ให้ยินดีร่วมกัน
2.) สิ่งใดเราไม่รู้ไม่เข้าใจ..ให้รับฟัง แล้ววิเคราะห์ พิจารณาให้ถี่ถ้วน
3.) สิ่งใดเขารู้เข้าใจผิด..ให้แนะนำเปิดมุมมองสิ่งที่ถูกต้อง และ ปล่อยวาง
ภู : งืมๆๆ..จำได้ละ
1.) รู้ตรงกันให้ยินดี
2.) เราไม่รู้ให้ฟัง
3.) เขาไม่รู้ให้แนะนำ..แล้วปล่อยวสง
ชิว : ภูเก่งมาก…อีกประการก็คือ.. รู้ว่าคนฉลาดกลุ่มนั้นเขาชอบคิดพูดอะไร สิ่งที่กลุ่มเขาสนใจคืออะไร เขาใช้ปัญญาในการแสดงอย่างไร ไม่เอาอารมณ์ความรู้สึกของตนมาปนกับสิ่งที่ต้องทำยังไง / รู้ว่าคนที่ไม่ฉลาดกลุ่มนั้น เขาจะเปิดใจรับรู้รับฟังในสิ่งใด หรือ เขามีความเชื่อ ความรู้เห็นมาอย่างไร ใช้อารมณ์ความรู้สึกในอคติเพราะ..รัก ชัง หลง กลัว โดยไม่ใช้ปัญญาความรู้ในการคิดวิเคราะห์ทำความเข้าใจในสิ่งใด
ภู : งืมๆๆ
ชิว : การรู้ชุมชนหรือสังคม ทั้ง 3 ข้อนี้ คนยุคใหม่ หรือ นักจิตวิทยา หรือ นักวิชาการต่างชาติ เรียกว่า SQ ..แต่โดยคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีหลักการใช้ที่ลึกซึ้งลงไปถึงการเข้าถึงใจคนในกลุ่มนั้นๆ เพื่อแสดงธรรมอันเป็นทางพ้นทุกข์ที่เกื้อกูลกลุ่มคนเหล่านั้นได้ถูกตรงอุปนิสัยใจคอ..ให้สามารถเห็นแจ้งตามได้ ดังนั้นหากเรานำมาใช้ทางโลก ..ตรงนี้ภูต้องใช้ครบทั้ง การรู้เหตุ → รู้ผล → รู้ตน → รู้ประมาณ(Skill ประเมิน) → รู้กาล(Skill ควบคุม/ประเมินเวลาตามสถานการณ์) ในการเปิดใช้ Skill ประเมินสังคม ที่เรียกว่า SQ ความฉลาดในการเข้าสังคม ตามวิถีชาวพุทธดังนี้..
๑. รู้เหตุ คือ รู้ว่าผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ เป็นการรู้โครงสร้าง จุดเริ่มต้น สารตั้งต้น รู้เหตุเกิด รู้องค์ประกอบเหตุ รู้หน้าที่การทำงานในแต่ละองค์ประกอบของสิ่งนั้นๆ และ รู้หลักการที่จะนำมาใช้กับสิ่งนั้น ในการสร้าง การพัฒนา การปรับกลยุทธแก้ไข เพื่อให้ดำรงอยู่กับสิ่งนี้นสภาพแวดล้อมนั้นได้ด้วยดี ไม่ขัดแย้ง เช่น เราต้องการเข้ากลุ่มเขา(กลุ่มคนรวย, กลุ่มคนจน, กลุ่มคนมักโลภ, กลุ่มมักโกรธ โวยวาย, กลุ่มคนมักหลง) เราจะต้องทำอย่างไร จะทำอย่างไรเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเขา คบหาได้ไม่แคลงใจ เราต้องทำอย่างไร มีวิธีการอย่างไร ต้องทำเหตุเช่นไร นั่นคือ..ผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ แล้วศึกษาเรียนรู้ สังเกตุ วิเคราะห์ ไตร่ตรอง เฟ้นหาหลักการแนวทางต่างๆ เพื่อเข้าหาและเข้าถึงกลุ่มคนนั้นได้จริงตามผลลัพธ์ที่ประสงค์มุ่งหมายนั้น
ข้อสังเกตุ..เมื่อประมวลมาโดยรวมก็จะเห็นได้ว่า..การรู้เหตุ เป็นการรู้เหตุเกิดและองค์ประกอบเหตุ พร้อมกับรู้หลักวิธีการที่ใช้ปฏิบัติดำเนินการต่อสิ่งนั้นๆ ไมว่าจะเป็น ตนเอง, กลุ่มคนในชุมชนหรือสังคม, คน, สัตว์, สิ่งของ ซึ่งหลักวิธีการจะใช้แตกต่างกันไปตามแต่สถานการณ์ต่างๆ จึงกล่าวได้ว่า การรู้เหตุ คือ การปรับตัวตามสถานการณ์ต่างๆ โดยใช้องค์ความรู้ต่างๆนั่นเอง
ภู : งืมๆๆๆ เหมือนจะยากจัง แต่พอบอกข้อสังเกตุ ภูก็เริ่มจะจับจุดได้ละว่า ปรับตัวตามสถานการณ์
ชิว : ภูเก่งมากเลย งั้นฟังต่อนะ..หลักการเราที่ใช้เฟ้นหาความรู้ในการนำมาใช้กับเหตุที่ดีที่สุดก็คือ..พุทโธอริยะสัจ ๔ เราต้องนำ พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณาจากเพื่อเฟ้นหาสิ่งที่เราเจาะจงจะรู้ รู้เหตุเกิดและองค์ประกอบจริงของสิ่งนั้นๆ รู้เหตุทำ คือ หลักการ แนวทาง วิธีปฏิบัติทั้งหลาย ที่เราจะต้องนำมาใช้ได้จริงๆ ถูกต้อง ถูกกาล ถูกตรงต่อสถานการณ์นั้นๆ เป็นการรู้ความต้องการหลักการความรู้ที่เราจะต้องนำมาใช้ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ณ เวลานั้นๆ สถานที่นั้นๆ นั่นเอง
ตลอดจนทำให้รู้ผลสืบต่อจากการกระทำนั้นได้ชัดเจน ทั้งยังสืบต่อไปถึงการรู้ผล ว่าหากอยากได้ผลลัพธ์อย่างนี้ หรือ สถานการณ์เช่นนี้ๆ เราจะต้องทำเหตุใด ทำสิ่งใด ใช้สิ่งใด ต้องใช้ปัญญาความรู้ในหลักวิธีการแนวทางอันใดปฏิบัติทำเพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้ได้ผลลัพธ์อันนั้น
ภู : งืมๆๆ พุทโธอริยะสัจ ๔ หาความปารถนา และวิธีการทำสนองตอบ
ชิว : ดังนั้น การคิดลงในอริยะสัจ ๔ จึงเป็นทางประเสริฐ เป็นทั้งการรู้เหตุตามจริง รู้ผลตามจริง รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุการใด มีหลักการกระทำให้เป็นไปอย่างไร รู้ทั้งการกระทำนั้นๆเพื่อสิ่งใด มีอะไรเป็นผลสืบต่อ ตลอดจนถึงเป็นการเดินปัญญาเพื่อรู้ความมุ่งหมายต้องการของใจ ทั้งความต้องการของตนเอง ความต้องการของสถานการณ์ ความต้องการของกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ และ ความต้องการของใจบุคคล เพื่อตอบสนองความต้องการของสิ่งนั้นได้ถูกตรงทาง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของสิ่งนั้นๆได้ สามารถพบปะ พูดคุย เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เปิดมุมมองความเห็น การแก้ปัญหาในสถานการณ์ การแก้ปัญหาในกลุ่มคน และ การแก้ปัญหาระหว่างบุคคลซึ่งกันและกันได้ หลักการคิดลงอริยะสัจ ๔ มีหลักจดจำดังนี้..
1. ทุกข์หรือปัญหา ของสิ่งนั้นๆ /สถานการณ์นั้นๆ /สังคมนั้นๆ /กลุ่มคนนั้นๆ /บุุคคลนั้นๆ..คืออะไร
(การกระทำ การแสดงออก สภาพที่เกิดขึ้นเป็นอยู่ สภาพที่เกิดขึ้น สภาวะที่เป็นอยู่ ความไม่สบายกายไม่สบายใจในสิ่งใด หม่นหมองกายใจ อัดอั้นคับแค้้นสิ่งใด ยึดมั่นสิ่งใด)
2. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์หรือเหตุแห่งปัญหา ของสิ่งนั้นๆ /สถานการณ์นั้นๆ /สังคมนั้นๆ /กลุ่มคนนั้นๆ /บุุคคลนั้นๆ..คือสิ่งใด
(เหตุให้กระทำ / เกตุความยึดมั่นถือมั่นเหล่านั้น / ต้องการสิ่งใด / ความต้องการของใจคืออะไร / มีความคาดหวังปรารถนาในสิ่งใด / ต้องการอยากได้สิ่งใด อยากมีในสิ่งใด / ผลักไสสิ่งใด ไม่ต้องการในสิ่งใด อยากให้ไม่มีสิ่งใด)
3. นิโรธ ความดับสิ้นทุกข์หรือความดับสิ้นปัญหา ของสิ่งนั้นๆ /สถานการณ์นั้นๆ /สังคมนั้นๆ /กลุ่มคนนั้นๆ /บุุคคลนั้นๆ..เป็นแบบไหน
(สภาวะที่ปลดเปลื้องทุกข์ของสิ่งนั้นเป็นเช่นไร / สิ่งใดคือผลสำเร็จประโยชน์สุข / อะไรคือความพ้นทุกข์ / สิ่งใดที่บังเกิดขึ้นแล้วทำให้ทุกข์นั้นดับสิ้นไป)
4. มรรค ทาง / หลักการ / แนวทาง/ วิธีการดับทุกข์หรือทางแก้ปัญหา..ที่เหตุ ของสิ่งนั้นๆ /สถานการณ์นั้นๆ /สังคมนั้นๆ /กลุ่มคนนั้นๆ /บุุคคลนั้นๆ..เป็นเช่นใด
(ต้องอาศัยสิ่งใด ต้องทำอย่างไร ปฏิบัติยังไง โดยการปฏิบัติแล้วจะเป็นทางปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเหตุแห่งทุกข์เสมอๆ ปฏิบัติสะสมไปจนเกิดขึ้นบริบูรณ์เป็นปกติ เช่น ไฟไหม้ การดับไฟก็ต้องใช้น้ำดับ ไม่ใช่จุดไฟต่อเพื่อดับไฟ)
ภู : อ่า..ยาวมาก (*﹏*;)
ชิว : สรุปโดยย่อ
• การรู้เหตุ ก็คือ การรู้จักการปรับตัวตามสถานการณ์..เพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์ สิ่งแวดล้อม กลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ และ บุคคลที่ตนต้องพบปะคบหา..ได้อย่างลงตัว เหมาะสม เป็นไปได้ด้วยดี
• การรู้เหตุ เป็นการ..ใช้ปัญญา~ไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกในการดำรงชีพ (อริยะสัจ ๔) โต้ตอบ กระทำต่อสถานการณ์ สถานที่ กลุ่มคน หรือบุคคลนั้นๆ กล่าวคือ..เป็นการใช้ปัญญา (ความรู้เห็นและเข้าใจชัดแจ้งตามจริง) ปฏิภาณ (ไหวพริบ ทักษะ ความสามารถ) ~ โดยไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดตามเจตคติ รัก ชัง หลง กลัว (อคติ ๔ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ)
กล่าวโดยย่อทั้งหมดนี้เป็นการ..ใช้ความรู้วิเคราะห์ไตร่ตรอง..โดยไม่เข้าไปมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับเขา ในการรับฟังหรือตอบโต้กลับสถานการณ์
ภู : งืมๆ เข้าใจละ ใช้ปัญญา..ไม่ใช้ความรู้สึกตอบโต้สถานการณ์
ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ
ชิว : ทีนี้ิชิวจะกล่าวถึงหลักการที่นำมาใช้วิเคราะห์หาเหตุ หลักการที่จะนำมาตอบโจทย์ความต้องการของสังคมนั้นๆ
• การรู้เหตุในส่วนของตน เป็นการตอบโจทย์ความต้องการของตัวเราเองในด้านปัญญา การศึกษา เรียนรู้ วิเคราะห์ ค้นคว้า วินิจฉัย ฝึกฝน เพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณค่า ดั่งมหาบุรุษแห่งยุคสมัย หรือ ในสถานการณ์ต่างๆนั่นเอง
การรู้เหตุ เป็นการรู้สิ่งที่ตนเองต้องมี เป็นปัญญาความรู้ที่ต้องทำให้เกิดขึ้นในตน ต้องเพิ่มส่วนที่ขาดในตน ต้องละส่วนที่ส่งผลเสียและเป็นทุกข์ภัยในตน และ รักษาสิ่งดีที่มีประโยชน์ในตนให้คงไว้ (อิทธิบาท ๔ + สัมมัปปธาน ๔) เพื่อที่จะนำไปใช้ตอบโจทย์สถานะการณ์ต่างๆของตน เป็นการศึกษาเรียนรู้หลักการ แนวทาง วิธีการ วิธีคิดเพื่อตอบโจทย์ปัญหา หรือ โจทย์ความต้องการของสภาพแวดล้อมและสิ่งต่างๆ ทั้งหน้าที่การงาน กฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย รวมทั้ง ตนเอง รู้ประมาณตน รู้ประเมิณสถานการณ์ กลุ่มคน สังคม บุคคล ที่ดำรงอยู่รอบตัวเรา หรือ กลุ่มคน สังคม บุคคล ที่เราต้องเข้าพบปะคบหา ได้อย่างลงตัว เหมาะสม ควรแก่สถานการณ์ในปัจจุบันกาลและภายภาคหน้านั่นเอง
• การรู้เหตุในส่วนของการรู้ชุมชน กลุ่มคน สังคม องค์กร ในพื้นที่นั้นๆ ก็คือ ปัญญาในการเข้าสังคม..เป็นการปรับตัวตามสถานการณ์ด้วยปัญญา คือ การศึกษาเรียนรู้หลักวิธีการให้เรารู้จักกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ ..รู้สังคมกลุ่มของเขาว่า..มีหลักการความเชื่ออย่างไร มีจริตอุปนิสัยแบบใด มีทิศทาง/แนวทางความคิดเช่นไร มีวิธีคิดแบบไหน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เช่นใด มีความรู้และความสามารถทางใด มีการติดส่อสือสารในระดับฐานะความเป็นอยู่ต่างๆที่แสดงต่อกันเช่นไร (กำหนดรู้ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ จากการกระทำของเขา) แล้วศึกษาเรียนรู้หลักการที่จะอยู่ร่วมกับกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ เรียนรู้หลักการที่จะนำมาใช้ในการเข้าพบปะเจรจาคบหากับกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ เรียนรู้ในการปรับตัวให้สามารถกลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆได้ โดยอาศัยหลักแนวทางในการเรียนรู้ศึกษาดังนี้..
๑.๑) รู้ว่ากลุ่มคนนั้นๆ พื้นที่ชุมชนนั้นๆ สังคมนั้นๆ องค์กรนั้นๆ มีสิ่งใดประกอบร่วมให้พวกเขาอยู่ด้วยกันได้ กลุ่มคนในแต่ละระดับมีสิ่งใดที่ประชุมรวมเขาเข้าด้วยกัน มีธาตุที่ถูกกัน(ศัพท์วัยรุ่นสมัยนี้เรียกว่า..มีเคมีตรงกัน) ชักจูงเข้าหากันอย่างไร (ความเชื่อ อุปนิสัย ความคิด อุดมการณ์) มีหลักเกณฑ์การแบ่งแยกกลุ่มคนตามระดับฐานะหน้าที่การงานความรับผิดชอบอย่างไร มีการปฏิบัติอย่างไรต่อกันในแต่ละระดับฐานะ โดยปริยายเทียบเคียงที่พึงพิจารณาด้วยหลักการใน ธรรม ๖ ประการ ดังนี้ คือ..
ก. ศรัทธา ความเชื่อ(เจตคต