ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงฆ์การแสวงบุญ  (อ่าน 2216 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28562
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อานิสงฆ์การแสวงบุญ
« เมื่อ: เมษายน 19, 2011, 08:43:51 pm »
0

อานิสงฆ์การแสวงบุญ


       ชาว พุทธได้เสียสละเวลาเดินทางมาไหว้พระธาตุพนม พร้อมทั้งได้บำเพ็ญบุญกุศลส่วนอื่น ๆ อีกตามคติความเชื่อถือทางศาสนา ซึ่งได้ถือปฏิบัติต่อเนื่องกันมานานหลายชั่วอายุคนแล้วและยังจะถือเอาสถาน ที่นี้เป็นจุดศูยน์รวงมศรัทธา เป็นศูนย์รวมแห่งการเคารพบูชา และเป็นสถานที่แสวงบุญ อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธต่อไปอีกนานแสนนาน จนตราบเท่าสิ้นศาสนาพระโคดม

แต่ละคนแต่ละคณะที่มาแสวงบุญถึงจะมีความรู้สึกนึกคิด และมีความต้องการแตกต่างกันออกไปหลายอย่างหลายประการก็จริง แต่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอันสำคัญอยู่ในจุดเดียวกันคือ “ต้องการความสุข” ซึ่งมีทั้งความสุขส่วนตัวและความสุขส่วนรวม แต่ว่าจะได้สมปรารถนาหรือไม่ แค่ไหน เพียงใดนั้นข้อนี้จะต้องดูที่แรงศรัทธา และเจตนาในการกระทำเป็นสำคัญ ถ้ามีศรัทธาแรงกล้า มีเจตนาแรงกล้า และบริสุทธิ์ผุดผ่อง การกระทำก็มีผลานิสงส์มาก ถึงทำน้อยก็ได้มาก

แต่ถ้าไม่มีศรัทธาและเจตนาไม่บริสุทธิ์ ถึงทำมากก็ได้น้อยหรือไม่ได้บุญกุศลอะไรเลย ยิ่งกว่านั้นยังจะเป็นบาปเป็นมลทินติดอยู่ในจิตใจตัวเองอีกด้วยแต่อย่างไรก็ ดี บุญกุศลที่เราได้จัดทำกันในเวลานี้ ชนิดที่ให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็นก็คือ “ความอิ่มใจ ดีใจ และภูมิใจ” ทั้งนี้โดยคิดว่า ตนได้ทำในสิ่งที่ควรแล้ว คือได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อคิดทบทวนดูแล้ว ก็เกิดความภูมิใจในการกระทำของตัวเอง นี้มันเป็นเพียงความดีใจและภูมิใจเท่านั้น ยังไม่มีอะไรทอดมาทั้งแต่บรรพบุรุษผู้เป็นปราชญ์ และได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

เมื่อคิดทบทวนดูแล้ว ก็เกิดความภูมิใจในการกระทำของตัวเอง นี้มันเป็นเพียงความดีใจและภูมิใจเท่านั้น ยังไม่มีอะไรปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม ความรู้สึกชนิดนี้ท่านเรียกว่า “บุญ” แต่พอทำไปแล้ว เกิดความฉลาดขึ้นในใจม่านเรียกว่า “กุศล” ในทางตรงกันข้าม ถ้าทำไปแล้วเกิดความโง่ขึ้นมา หรือ ยิ่งทำก็ยิ่งโง่ ท่านเรียกว่า “อกุศล” กุศลนี้มีน้ำหนักมากกว่าบุญ และมีประโยชน์มากกว่าบุญหลายสิบเท่า นักปราชญ์มักจะเน้นหนักในเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ เมื่อทำบุญแล้วต้องทำกุศลด้วยมันจึงเกิดความสมดุลย์กัน

           สาเหตุ ที่เกิดมีการแสวงบุญขึ้นอย่างแพร่หลายในกลุ่มของชาวพุทธในประเทศต่างๆที่ นับถือพุทธศาสนา เช่น อินเดีย พม่า ลังกา ไทย ลาว เขมร เป็นต้น สืบเนื่องมาจากความเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นความเชื่อที่ฝังรากลึกอยู่ในดวงจิตของชาวพุทธมานาน โดยได้ถ่ายทอดจากจิตดวงหนึ่ง ไปสู่จิตอีกดวงหนึ่งหลายชั่วอายุคน ถึงกาลเวลาจะล่วงเลยมานานถึงสองพันกว่าปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีอิทธิพลอยู่เหนือจิตใจของชาวพุทธแม้กระทั่งปัจจุบัน


           พระพุทธเจ้าทรงสอนเป็นเบื้องต้นว่า การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารเต็มไปด้วยความทุกข์นานับประการ ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ประการ คือ ทุกข์, เหตุให้ทุกเกิด, ความดับทุกข์ และหนทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์, ยังไม่บรรลุนิพพาน จิตยังหุ้มห่อด้วยอวิชชาตัณหา, และอุปาทานแล้ว ยังจะต้องเวียนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตายต่อไปอีกโดยไม่จบสิ้น

ในระหว่างแห่งการเวียนวายตายเกิดในภพทั้ง ๓ นี้ จะประสบพบเห็นทั้งความสุข และความทุกข์ ทั้งสิ่งที่ตนปรารถนา และไม่ปรารถนา มีทั้งหมดผิดหวัง และพลาดหวัง ทั้งๆ ที่เราไม่ต้องการ ฉะนั้น เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาดังกล่าว พระพุทธองค์จึงได้สอนให้ประพฤติธรรม ให้ดำเนินชีวิตตามแนวทางธรรม เพื่อชำระให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง เพื่อบรรลุพระนิพพานอันเป็นจุดหมายปลายทางอันสูงสุดแห่งชีวิต และเป็นที่สุดแห่งทุกข์ทั้งปวงโดยวิธีการที่ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติในชีวิต ประจำวัน เช่น ไม่ทำบาป หรือ ความชั่วทุกประเภท ทำแต่ความดีหรือบุญกุศลอย่างเดียว และชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง

           ตาม ธรรมดามนุษย์ทุกรูปทุกนามทั้งในอดีตและปัจจุบัน ต่างก็ต้องการความสุขกันทั้งนั้น เมท่อทราบว่านิพพานเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยม ก็ดิ้นรนเสาะแสวงหา พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งดังกล่าว บางพวกก็ได้สมปรารถนาตามกำลังสติปัญญาของตน แต่บางพวกก็ไม่สมปรารถนา แต่ก็ยังไม่สิ้นหวัง เพราะยังมีความสุขรองลงมาอีก คือ ความสุในสวรรค์และความสุขความสบายในมนุษย์โลก ทางศาสนายังให้ความหวังต่อไปอีกคือ เมื่อศีลยังไม่สมบูรณ์พอ จิตยังไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องถึงที่สุด และยังไม่ได้บรรลุนิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางแห่งชีวิตในชาตินี้แต่ก็ยังหวังจะได้เข้าถึงในชาติ ต่อๆไป

          ชาวพุทธถือว่า การแสวงบุญเป็นกรรมฝ่ายดี หรือฝ่ายกุศลกรรม เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการช่วยชำระจิใจให้ผ่องใส และให้ได้มาซึ่งสมบัติ ๓ ประการ อันได้แก่ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ฉะนั้น จึงเลือกสรรเอาสถานที่ใดที่หนึ่งเป็นที่แสวงบุญ ซึ่งส่วนมากจะเป็นสถานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางศาสนา เกี่ยวกับพระศาสดาและเกี่ยวกับพระสาวกองค์ใดองค์หนึ่ง

เมื่อมีการแสวงบุญมากขึ้น ก็ทำให้บริเวณสถานที่ขยายตัวออกไป มีการพัฒนามากขึ้น เช่น การก่อสร้างอาคารสถานที่สำรับพักอาศัยของนักบุญ ตลอดทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่าง ๆ อาทิ เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา ข้าวปลาอาหาร เครื่องใช้สอย เครื่องสักการะ และการดูแลรักษาความสงบในงาน นานไปก็มีธุรกิจ การค้าขายติดตามมาภายหลัง ความยุ่งยากต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น แต่เอกลักษณ์ของการแสวงบุญ ก็ยังคงมีอยู่ต่อไป


ที่มา  http://www.thatphanom.com/2351/บทความน่าสนใจ/บทความ/อานิสงฆ์การแสวงบุญ.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ