ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฟื้นถนนสายบุญ-วัฒนธรรม เดินตามรอยนักบุญแห่งล้านนา  (อ่าน 2292 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29297
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ฟื้นถนนสายบุญ-วัฒนธรรม เดินตามรอยนักบุญแห่งล้านนา

          "อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย" ที่ประดิษฐาน ณ บริเวณถนนศรีวิชัย บ้านห้วยแก้ว เชิงดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ถือว่าเป็นจุดดึงดูดให้คนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศ แวะมากราบไหว้สักการบูชา เพื่อเสริมสิริมงคลแก่ตนเองอย่างไม่ขาดสาย มีจำนวนไม่ต่ำกว่าปีละ 5 แสนคน ส่งผลให้ถนนศรีวิชัย กลายเป็นถนนสายบุญ สายวัฒนธรรม ที่จะเดินตามรอยพระครูบาเจ้าศรีวิชัย  ปูชนียบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี ในฐานะที่เป็นพระผู้สร้างศาสนวัตถุ ศาสนสถาน และศาสนทายาทในล้านนา
 
          เทศกาลปีใหม่ประจำปี 2554 คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ จัดโครงการตักบาตรปีใหม่พระสงฆ์ 984 รูป บนถนนศรีวิชัย-ถนนห้วยแก้ว เพื่อให้ศรัทธาประชาชนได้ปฏิบัติสืบสานเจตนารมณ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย เช่นเดียวกันเมื่อ จ.เชียงใหม่ ได้รับมติ ครม.เห็นชอบให้เป็นนครที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม จึงมีกรอบการทำงาน "เชียงใหม่โมเดล" ขึ้นมารองรับภายใต้ยุทธศาสตร์ยึดมั่นระบบคุณธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม จึงเกิดที่มาของการพลิกฟื้นถนนศรีวิชัย และถนนห้วยแก้วให้เป็น ถนนสายบุญ สายวัฒนธรรม
 
          พระเทพโกศล เจ้าอาวาสวัดศรีโสดา พระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า แต่ละวันจะมีภิกษุสามเณรเดินลงจากวัดศรีโสดา พระอารามหลวง รับบิณฑบาตบนถนนศรีวิชัย-ถนนห้วยแก้วอยู่แล้ว และเมื่อ จ.เชียงใหม่ จะฟื้นฟูประเพณีตักบาตรข้าวสาร ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะชาวพุทธควรตระหนักว่าขณะนี้พุทธศาสนาถูกรุกราน จึงควรอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ ด้วยการปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกให้ชาวเชียงใหม่ และลูกหลานได้ให้ความสำคัญในประเพณีตักบาตร และเป็นการเดินตามรอยนักบุญแห่งล้านนา
 

          สำหรับวัดศรีโสดามีภิกษุสามเณร 497 รูป มีความพร้อมในการจะร่วมทำถนนสายบุญ สายวัฒนธรรม ให้งดงาม มีคุณค่าแก่สายตาพุทธศาสนิกชน โดยจะให้ความร่วมมือในการรับบิณฑบาตตั้งแต่ 05.30-07.30 น.ทุกวัน โดยมีภิกษุสามเณรเดินลงจากวัด ครั้งละ 20 รูป ขณะนี้ทางวัดมีโครงการจะปรับภูมิทัศน์พื้นที่ด้านหลังอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย และทำบันไดนาคจากวัดศรีโสดาลงมา คาดว่าเมื่อเสร็จแล้วในเช้าแต่วันจะเห็นภาพภิกษุสามเณรรับบิณฑบาตอย่างสวยงาม
 
          น.ส.ปานจิตต์ พิศวง พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่โมเดลวางยุทธศาสตร์ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสืบสานวัฒนธรรม และอนุรักษ์ประเพณีเก่าแก่ อย่างเช่นโครงการถนนสายบุญ สายวัฒนธรรมที่จะริเริ่มขึ้นนี้ เป็นแนวคิดของภาครัฐ และภาคเอกชนที่จะเข้ามาวางระบบการใส่บาตรพระให้เห็นถึงวิถีชีวิตอีกมุมหนึ่งของชาวเชียงใหม่ และยังเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วม ในรูปแบบของการทำบุญเหมือนสมัยก่อน เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
 
          สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ภายใต้การขับเคลื่อนของสำนักพระพุทธศาสนา โดยขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้ว จากนั้นจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนให้เกิดความเหมาะสมต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่โปรแกรมการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ได้ โดยเฉพาะทัวร์บุญ ซึ่งตลอดเส้นทางถนนศรีวิชัยจะมีวัด 4 แห่ง หากจัดให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้ จะเป็นสิ่งที่ดี และเชื่อว่าภาพที่จะเกิดขึ้นไม่น้อยหน้าไปกว่าการตักบาตรที่หลวงพระบาง ส.ป.ป.ลาว


          นายสำราญ ห่านแก้ว ประธานสมาคมส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย สาขาเชียงใหม่-ลำพูน กล่าวว่า ปัจจุบันนี้วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่เท่าใดนัก ในฐานะที่เป็นตัวแทนภาคเอกชนเข้ามาร่วมผลักดันยุทธศาสตร์ "เชียงใหม่โมเดล"  จึงมีแนวคิดจะฟื้นฟูให้กลับมามีบทบาทอีกครั้ง เพราะ จ.เชียงใหม่ มีศักยภาพ มีความพร้อมอยู่แล้วจึงถือเป็นเรื่องที่จะร่วมกันจุดประกายให้ตระหนักถึงวิถีชีวิตแบบเก่าๆ
 
          อีกทั้ง การปลูกฝังจิตสำนึกของคนรุ่นใหม่ การอนุรักษ์ให้เห็นคุณค่าของความเป็นล้านนา ทั้งสิ่งของ เครื่องใช้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อพุทธศาสนิกชนชาวเชียงใหม่ที่จะเข้ามาช่วยสร้างบรรยากาศ เช่น การแต่งกายพื้นเมือง การใช้ใบตองห่ออาหาร การนั่งเสื่อตักบาตร ทั้งหมดนี้จะส่งผลดียังภาคการท่องเที่ยวในระยะยาวในอนาคตอีกด้วย   

อ้างอิง
http://www.komchadluek.net/detail/20110822/106760/ฟื้นถนนสายบุญวัฒนธรรม.html
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.komchadluek.net
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ