อนุโมทนา ครับ ตามอ่านอยู่ครับ
อ้างที่มาครับ
http://www.watbencha.com/webboard/index.php/topic,706.msg1696.htmlอรรถกถาพระสูตรกล่าวถึงบุคคลผู้ทำอาสวักขยญาณให้แจ้งหรือบรรลุนิพพาน แยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ สมถยานิก และ วิปัสสนายานิก
๑) สมถยานิก คือ ผู้เจริญสมาธิมาก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา ตามความหมายอย่างกว้างคือ ได้สมาธิระดับอุปจารสมาธิก่อน ความหมายอย่างแคบคือ ได้ฌานตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึงนิโรธสมาบัติ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธหรือนิโรธสมาบัติ )
สมถสมาธิ ได้แก่อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เพ่งอยู่แต่อารมณ์บัญญัติอย่างเดี่ยวโดยไม่ให้ย้ายอารมณ์ ถ้าย้ายไปก็เสียสมาธิ
๒) วิปัสสนายานิก คือ ผู้เจริญวิปัสสนาก่อนได้สมาธิภายหลังพร้อมกับการบรรลุอาสวักขยญาณ) แต่อย่างน้อยจะต้องมีสมาธิระดับขณิกสมาธิ เพื่อใช้ในการพิจารณา เมื่อพิจารณาจนวิปัสนาญาณสูงขึ้น และเมื่อขณะบรรลุอาสวักขยญาณ สมาธิเต็มเปี่ยมได้ฌานที่ ๑ เป็นอย่างน้อย วิปัสสนาขณิกสมาธิ มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์(รูป,นาม) ตั้งสติกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏชัดในขณะปัจจุบัน เช่น การเห็น การได้ยิน การเจ็บ การปวด การคิด การนึก เป็นต้น อารมณ์ใดปรากฏชัดเจน ก็ตั้งสติกำหนดอารมณ์นั้นจนได้สมาธิชั่วขณะหนึ่ง สมาธิชั่วขณะนี้แหละเรียกว่า ขณิกสมาธิ