ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มูลเหตุการแขวนพระเครื่องของชาวพุทธ  (อ่าน 6613 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

มูลเหตุการแขวนพระเครื่องของชาวพุทธ

     เมื่อประมาณปี พ.ศ.2360 หรือก่อนหน้านั้น  พุทธศาสนิกชนทุกภูมิภาคของประเทศ  ต่างมีความเชื่อตรงกันว่า   หากนำสิ่งพระเครื่ององค์เล็กๆเข้ามาเก็บไว้ภายในบ้าน  ถือเป็นบาปอย่างมากและจะทำให้สมาชิกภายในครอบครัวต้องมีอันเป็นไปต่างๆนาๆ  เหตุที่เป็นบาป  เพราะภายในบ้านเป็นที่อยู่อาศัยของฆราวาส 

ซึ่งอาจจะมีการกระทำที่ไม่เหมาะสม  อันเป็นการล่วงเกินหรือไม่เคารพต่อพระรัตนตรัย  เช่น  การเลี้ยงสังสรรดื่มสุราของมึนเมากันภายในบ้าน , การร่วมประเวณีของสามี-ภรรยากันภายในบ้าน , การทะเลาะเบาะแว้งกันด้วยถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมกันภายในบ้าน , การปีนป่ายซ่อมแซมบ้านในระดับที่ต้องอยู่สูงกว่าพระเครื่อง เป็นต้น

    ในยุคนั้น  เมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุขึ้นภายในวัดครั้งใด  ก็มักจะมีการพบพระเครื่องขนาดเล็ก  ซึ่งคนในอดีตได้สร้างและบรรจุกรุไว้เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา  บรรจุอยู่ภายในพระเจดีย์บ้าง  บรรจุอยู่ใต้ฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถบ้าง  นายช่างซึ่งทำการบูรณะ  ก็จะนำเอาพระเครื่องทั้งหมดไปกองรวมกันไว้ตามโคนต้นไม้ภายในวัด  แล้วก็ทำงานก่อสร้างต่อไปโดยที่ไม่มีใครสนใจใยดีกับพระเครื่องเหล่านั้นเลย

     ส่วนคนที่มาทำบุญที่วัด  เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเดินผ่านโคนต้นไม้ซึ่งมีพระเครื่องขนาดเล็กกองอยู่  ก็จะยกมือไหว้แล้วเดินเลี่ยงออกไป  ไม่มีใครกล้าแตะต้องพระเครื่องเหล่านั้น  (เช่นเดียวกับที่เราเห็นศาลพระภูมิชำรุด หรือศาลเจ้าชำรุด  ที่เขาเอามากองรวมกันตามริมถนนหรือโคนต้นไม้  เราก็จะพยายามเลี่ยงไม่เข้าไปแตะต้อง หรือยกมือไหว้อะไรทำนองนั้น)



    ต่อมาในราวปี พ.ศ.2360 ที่สำนักกรรมฐานของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก)  วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)  ธนบุรี  ได้มีการใช้กุศโลบายในสอนกรรมฐานเบื้องต้น (พุทธานุสติ)  โดยท่านได้จัดสร้างพระเครื่องขนาดเล็ก  รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชิ้นฟักสีขาว (หรือที่เรียกกันว่าพระสมเด็จอรหัง)  แจกให้กับคณะลูกศิษย์  ทั้งที่เป็นพระภิกษุ  สามเณร  ฆราวาส  อุบาสก-อุบาสิกา 

     ซึ่งมาขอศึกษาเล่าเรียนกรรมฐานจากท่าน (คล้ายกับว่า พระเครื่องที่ท่านได้สร้างขึ้นมาแจกนั้น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับใช้ประกอบการศึกษาเล่าเรียนกรรมฐาน)  ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี  วัดระฆัง  ก็ได้รับแจกพระสมเด็จอรหังกับเขาด้วยเช่นกัน  เพราะท่านก็คือหนึ่งในบรรดาลูกศิษย์ของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) นั่นเอง
 
     (เกี่ยวกับสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม  ธนบุรี  :  ภายหลังจากที่สมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว  ในปี พ.ศ. 2363  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)  ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม  เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่  แล้วโปรดให้แห่มาสถิตอยู่ ณ วัดมหาธาตุ กทม.  สมเด็จพระญาณสังวร (สุก)  จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 ของกรุงรัตนโกสินทร์   แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกท่านว่า "สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน" มาจนถึงทุกวันนี้)



     นับจากนั้นเป็นต้นมา  คติความเชื่อเดิมๆเรื่องการไม่นำพระเครื่องจากวัดเข้ามาเก็บไว้ภายในบ้านก็เริ่มเปลี่ยนไป  โดยลูกศิษย์ฆราวาสของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน  เป็นผู้เริ่มนำพระสมเด็จอรหังที่ได้รับแจก  พกติดตัวไปตามที่ต่างๆและนำเข้ามาเก็บไว้ภายในบ้าน 

     เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ (พุทธานุสติ) ทุกครั้งที่ได้เห็นพระสมเด็จอรหังก็จะนึกถึงพระรัตนตรัย  หรือเวลาที่ชีวิตต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่าง  เมื่อเห็นพระเครื่องซึ่งตัวเองได้พกติดตัวไว้  ก็จะได้ฉุกคิดถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  แล้วแก้ไขปัญหาชีวิตเหล่านั้นอย่างมีสติไม่ประมาท 

     เมื่อความคิดนี้แพร่หลายออกไป  การพกพาพระเครื่อง หรือ การแขวนพระเครื่องไว้ในคอ  จึงเริ่มเกิดขึ้นมาในยุครัตนโกสินทร์  ส่วนพระเครื่องที่ขุดได้จากกรุตามวัดต่างๆ  ซึ่งแต่เดิมเคยกองอยู่ตามโคนต้นไม้ไม่มีใครกล้าแตะต้อง  ก็เริ่มมีผู้มาหยิบเอาไปแขวนคอบ้าง  เอาไปเก็บไว้ในบ้านของตนบ้าง  เอาไปแจกจ่ายให้กับญาติมิตรบ้าง  ทางวัดเก็บเอามาแจกให้กับผู้ที่มาทำบุญฟังธรรมที่วัดบ้าง  จนพระเหล่านั้นหมดไปจากโคนต้นไม้ในที่สุด   

     เมื่อสำนักกรรมฐานของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน  ได้ริเริ่มใช้กุศโลบายสร้างพระเครื่องแจก  เพื่อโน้มนำจิตของผู้ที่เริ่มต้นศึกษากรรมฐาน  ให้อยู่ในอารมณ์พุทธานุสติทุกครั้งที่ได้มองเห็นพระเครื่องนั้น   สำนักอื่นๆโดยเฉพาะสำนักซึ่งแต่เดิมเป็นลูกศิษย์ของท่าน  ก็ได้นำเอากุศโลบายนี้ไปทำบ้าง (เจริญรอยตามแบบอย่างของครูบาอาจารย์) ในสำนักกรรมฐานของตน 

     เช่น  ที่วัดระฆัง  ธนบุรี  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี  ท่านก็ได้จัดทำพระสมเด็จผงสีขาว รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟักขึ้นมา  โดยมีพระสมเด็จอรหัง  ซึ่งท่านได้รับแจกเมื่อครั้งที่ท่านได้ไปเรียนกรรมฐานกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน  ที่วัดราชสิทธาราม  มาเป็นต้นแบบในการสร้างพระเครื่องของท่านเช่นกัน  และในปี พ.ศ.2382 ก็เริ่มมีการจัดสร้างพระกริ่งปวเรศ  โดยฝีมือช่างสิบหมู่หรือช่างหลวงขึ้นมาอีกด้วย

    จากนั้น  สำนักวัดต่างๆในกรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียง  ก็เริ่มมีการจัดสร้างพระเครื่องขึ้นมาเกือบจะทุกสำนัก  เพียงแต่วัตถุประสงค์ของการจะดสร้างนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งจากเดิมเจตนาในการจัดสร้างก็เพื่อเป็นกุศโลบายในการฝึกกรรมฐานพุทธานุสติ (สร้างแจกฟรีไม่คิดมูลค่า) 

    ในยุคต่อมาก็เริ่มมีการจัดสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อแจกแก่ลูกศิษย์  ในงานเฉลิมฉลองของพระเถระชั้นผู้ใหญ่และเจ้านายระดับสูง (สร้างแจกฟรีไม่คิดมูลค่า)  ยุคต่อจากนั้นก็จะเป็นการจัดสร้างส่วนตัว หรือ สร้างเฉพาะในวงศ์ตระกูลของลูกศิษย์ (เป็นกรณีพิเศษ) 

    ต่อจากนั้นก็เป็นยุคที่ทางวัดจัดสร้างพระเครื่องขึ้น  เพื่อแจกในงานบุญต่างๆ เช่น งานบุญทอดกฐิน - ผ้าป่า (สร้างแจกฟรีไม่คิดมูลค่า)  เรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน  ที่ทางวัดจัดสร้างพระเครื่องขึ้น  เพื่อหารายได้บำรุงเสนาสนะและถาวรวัตถุทั้งหลายภายในวัด (ทางวัดจะกำหนดมูลค่าของพระเครื่องที่จัดสร้าง)  เป็นต้น.



*** บางท่านบอกว่าคนไทยเอาพระห้อยคอมานานแล้ว ***
ตอบ  :   นั่นเป็นกรณีพิเศษครับ อย่าว่าแต่คนที่เป็นทหารเลย  แม้แต่ช้างที่ออกศึกก็ห้อยพระ ,  ม้าที่ออกศึกก็ห้อยพระ , หรือแม้แต่ธงรบ (ส่วนปลายคือยอดธง) ก็มีพระอยู่...พระเหล่านั้นมาจากไหน?
            1.) สร้างขึ้นใหม่ในสดๆร้อนๆในตอนนั้น
            2.) ไปหยิบเอามาจากพระเจดีย์ที่ชำรุดหรือพังทลายลงมา

             
    พอรบกันเสร็จ  ก็สร้างพระเจดีย์ขึ้นมาแล้วทหารทุกนาย  ก็เอาพระที่แขวนคอเป็นกรณีพิเศษนี้ไปบรรจุคืนไว้ในพระเจดีย์  ***(พระที่ทหารแขวนออกรบ  เรียกกันว่า "พระชัย" ขนาดใหญ่กว่าพระกริ่ง , ส่วนพระที่คล้องคอช้าง - คล้องคอม้า เรียกว่า "พระหูไห" ขนาดใหม่กว่าพระชัย  มีทั้งที่เป็นเนื้อดินเผาและโลหะ)***  ไม่มีใครกล้าเอาพระที่ตัวเองห้อยคอออกรบ  มาแขวนคอต่อหรือเอาพระนั้นมาเก็บไว้ภายในบ้านกันหรอกครับ

      ศึกษาประวัติศาสตร์ให้ดีๆ  ศึกษาให้ลึกๆก่อนนะครับ  เพราะมันมีแง่มุมเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับอาถรรพ์  ปนอยู่กับพระที่ใช้สำหรับทำสงครามออกรบด้วย (คนโบราณถือว่าพระที่ใช้สำหรับออกรบ  จะติดสิ่งอัปมงคลจากในสนามรบกลับมาด้วย  จึงไม่มีใครกล้าเอาพระเครื่องเข้ามาเก็บไว้ภายในบ้าน)  การแขวนพระของคนสมัยโบราณจึงมีลักษณะเฉพาะกิจจริงๆ  ไม่ใช่แขวนกันปกติเป็นว่าเล่นเหมือนกับคนในสมัยนี้  และเจตนาของการแขวนพระก็เพื่อออกรบและชัยชนะ "ไม่ใช่เพื่อพุทธานุสติ"  แต่เป็นเจตนาในเชิงคุ้มครองป้องกันภัยให้กับผู้ที่แขวนมากกว่า



      เมื่อไม่ใช่การเอาพระแขวนคอตามปกติทั่วไปของชาวพุทธส่วนใหญ่  แต่เป็นการแขวนพระเฉพาะกิจเฉพาะกลุ่ม (ชั่วครั้งชั่วคราวของกลุ่มทหาร) เป็นกรณีพิเศษเท่านั้น  การเอาพระแขวนคอในยุคก่อนปี พ.ศ.2360  จึงขาดการยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ครับ...ตรงกันข้าม ประชาชนกลับหวาดกลัวอาถรรพ์ต่างๆนาๆในพระเครื่อง  จนไม่มีใครกล้าเอาพระเครื่องเข้ามาเก็บไว้ภายในบ้านอีกต่างหาก

      คนสมัยก่อนเขาถือ  ไม่เอาพระเครื่องเข้ามาเก็บไว้ในบ้านจริงๆครับ  ท่านต้องกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ใหม่อีกครั้งซะแล้ว  โดยเฉพาะเรื่อง "พระโคนสมอ"  ว่าทำไมเขาถึงเรียกพระชนิดนี้ว่าพระโคนสมอ?...เพราะอะไรเอ่ย?

"...ต่อเมื่อหลังจากเสียกรุงศรีฯแล้ว พระชุดนี้ถูกทิ้งร้างมาชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีผู้ที่เห็นคุณค่าจึงได้นำพระกลับมาบรรจุไว้ที่เมืองแห่งนี้ ด้วยเหตุที่ความเชื่อของคนในสมัยก่อนนั้นไม่นิยมที่จะนำพระเข้ามาเก็บไว้ในบ้าน จึงได้นำพระไปฝากไว้ที่วัดบ้าง บ้างก็บรรจุกรุตามวัดต่างๆ..."[/color]



ที่มา
โพสต์โดย ผู้สันโดษ
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7e9940ace4055643
ขอบคุณภาพจาก http://upic.me,http://www.itti-patihan.com,http://variety.n108.com,http://webboard.mthai.com,http://img130.imageshack.us,http://xn--42cg1euab4ds2d4d0d.blogprathai.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2011, 10:04:26 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มูลเหตุการแขวนพระเครื่องของชาวพุทธ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 11:53:31 am »
0
เป็นความสุข ของนักสะสม บูชา
เหมือนเป็นความชอบส่วนตัว
ถ้าจะบอกว่า วัตถุเหล่านี้จะนำมาซึ่ง อะไร ?

 ก็ตอบได้ยาก

  แต่ความเชือในปัจจุบัน ( ไม่อิงอดีต ) ก็มี

  1.ไว้เป็นเครื่องนำโชค ( โชคดี ) ป้องกันภัย ( แคล้วคลาด มหาอุต )
  2.ไว้เป็นของสะสม ไว้ดู เป็น อนุสสติ เช่น เทวตา จาคา พุทธ ธรรม สงฆ์ เป็นต้น
  3. ไว้เป็นอาชีพ ยามอัตคัต ผมมีเพื่อนคนหนึ่ง เงินเดือนแต่ละเดือน หมดไปกับเืรื่องเช่าพระ บูชา ประมาณนี้เกินครึ่งเดือนเลยครับ เคยถามว่า ทำไมต้องบุชามากมายปานนี้ เขาตอบว่า เอาไว้เป็นเสบียงทุนยามแก่ ( นี่คงคิดจะยึดอาชีพ ปล่อยพระ หลับเกษียณงานแน่ )
  4. ไว้เป็นเครื่องสนับสนุน การฝึกภาวนา

  อื่น ๆ ยังมีอีก อยู่ทีดุลย์ พินิจ ของผู้ที่มีศรัทธา มากน้อยเพียงไหน

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มูลเหตุการแขวนพระเครื่องของชาวพุทธ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 11:57:48 am »
0
ยังมีกลุ่มที่ ทำลาย พระพุทธรูป อยู่ด้วยนะครับ ในปัจจุบัน
และกำลังเริ่มทำอย่างแพร่หลาย ด้วย ที่ทางบ้านผมนั้นทำอย่างกันเมามันส์

 เรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะเป็นเรื่องกระทบจิตใจของผู้มีวัตถุในเบื้องต้น

  :014:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มูลเหตุการแขวนพระเครื่องของชาวพุทธ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 09:43:27 am »
0
อยู่ที่ ศรัทธา และ สัมมาทิฏฐิ เป็นเครื่องชี้นำ นะจ๊ะ

 เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา