วันนี้ นั่งกรรมฐานดึกครับ ตั้งสัจจะไว้ว่าจะไม่นอนในคืนนี้ ก็เลยแว่บมาพักสมองสักนิดกับเว็บหน่อย
เพื่อน ๆ สมาชิก หายไปกันเยอะนะครับ ( ผมเองก็ด้วย )ไปฝึกฝนตนเองเพิ่มขึ้น ( 5555 )
========================================================
ปัญญา หมายถึงการรู้แจ้ง แทงตลอด
เส้นทางการเกิดปัญญา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงแสดงไว้ 3 ประการ
คือ 1 สุตามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การฟัง ดังนั้นปัญญาส่วนนี้เกิดจากการเรียน การถือเอาไว้ด้วยความรู้
2 จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากไตร่ตรอง คิดตาม ปัญญาส่วนนี้เกิดจากการทบทวนสิ่งที่เรียนมาเหมือนตั้ง
คำถาม ตอบโจทย์
3 ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การปฏิิบัีติ หรือ ภาวนา หมายถึงการทดสอบ ทดลอง เอาจริง เอาจังในส่วนที่สะสมไว้ 2 ประการในส่วนต้น
ดังนั้น ถ้าวิเคราะห์ให้ดี แล้ว ปัญญา ระดับที่ 1 เป็นไปเพื่อ ปัญญา ระดับที่ 2 ปัญญาระดับที่ 1 และ 2 เป็นปัญญาที่ส่งเสริม ระดับที่ 3 และปัญญา ระดับที่ 3 ก็ไปสนับสนุนปัญญาระดับที่ 1 และ 2
สำหรับนักภาวนาจริง ๆ แล้ว ในทางพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้เิริ่มต้นที่ ฟัง และ คิด
แต่การภาวนาในส่วน ภาวนา จริง ๆ นั้น เริ่มจากการที่จิต เห็นตามความเป็นจริง ว่า ทุกข์ ในสังสารวัฏฏ์ นั้นเป็นอย่างนี้ ไม่พึงยินดี หรือ ยินร้าย ไม่พึง เพลิดเพลิน ในสังสารวัฏฏ์ ต่อไป ในส่วนของการภาวนานั้น อาศัย
ปัญญา ที่มองเห็นตามความเป็นจริง ในโทษของสังสารวัฏฏ์
ศัพท์ ทางพระพุทธศาสนา นั้นเรียกว่า นิพพิทา คือ ความเบื่อหน่าย
ดังนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงตรัสบ่อย ๆ ในช่วงท้ายสูตรว่า
เมื่อบุคคลเห็นแจ้งตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เมื่อจิตคลายกำหนัด จึงรู้เห็นตามความเป็นจริง
เมื่อรู้แจ้งตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น
เมื่อไม่ยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งทั้งปวงแล้ว
จึงสิ้นสุดแล้ว เขาผู้นั้นย่อมถึงซึ่งการสิ้นสุดแห่งพรหมจรรย์
กิจที่ควร ได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นยิ่งกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว
ในช่วง ท้าย อนัตตลักขณสูตร ยกตัวอย่างมาอีกบทครับ
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อ หน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น, เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นทราบ ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของผู้มีพระภาค.
ก็แลเมื่อพระผู้มี พระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือ มั่น