ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รื้อฟื้นประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ฉลองสมโภชพระอุโบสถวัดปทุมฯ  (อ่าน 2378 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29297
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


รื้อฟื้นประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ฉลองสมโภชพระอุโบสถวัดปทุมฯ

        เพื่อเทิดพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ร่วมกับ โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด จัดงาน สมโภชพระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร โดยมีผู้มีจิตศรัทธามาร่วมงานอย่างคับคั่ง อาทิ ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช, บุญเกียรติ-ธรรมรัตน์ โชควัฒนา, คุณหญิงสุจิตรา (จิราธิวัฒน์) มงคลกิตติ, สุพัตรา-ยุวดี-บุษบา จิราธิวัฒน์, ศิริชัย-ศิริทิพย์-ภมรทิพย์ ศรีไพศาล ฯลฯ


      พิธีการเริ่มด้วยการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย โชว์การละเล่นพื้นบ้าน “กระตั้วแทงเสือ” จากนั้นผู้มาร่วมงานได้ร่วมกันสักการะ “พระสายน์” ในพระอุโบสถที่มีอายุ 445 ปี ด้วยบายศรีหมากเป็ง เพื่อความเป็นสิริมงคล
ซึ่งพระสายน์องค์นี้ได้หล่อขึ้นสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา-ธิราช (พ.ศ.2077-2115) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดปทุมวนารามฯ


จากนั้นท่านผู้หญิงสุมาลีได้เป็นประธานลั่นฆ้องชัยเปิดงานฉลอง ซึ่งเริ่มด้วยการแสดงมหรสพนาฏกรรมร่วมสมัย
ที่ถ่ายทอดโดยเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดปทุมวนาราม และฝึกสอนโดยศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วยระบำดอกบัว, ระบำจันทกินรี, ฟ้อนแคน, นาฏลีลาฟ้าหยาด และฟ้อนหางนกยูง



     จากนั้นเข้าสู่พิธีกรรมสำคัญ คือการร่วมขบวนแห่ปราสาทผึ้ง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวันออกพรรษา ที่เชื่อว่าผู้เข้าร่วมขบวนแห่จะได้รับอานิสงส์สูงสุด อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการถวายสักการะแด่องค์พระปฏิมากร ซึ่งเปรียบดั่งผู้แทนพระพุทธองค์ การแห่ปราสาทผึ้งนี้ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดปทุมวนารามฯ ในปี พ.ศ.2401 เพื่อถวายพระสายน์ และได้ละเว้นไปนับตั้งแต่ปี 2487 ในช่วงสงครามโลก การจัดงานครั้งนี้จึงนับเป็นการรื้อฟื้นประเพณีนี้ขึ้นมาใหม่ หลังจากว่างเว้นไปนานกว่า 70 ปี.


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://www.thairath.co.th/content/life/214977
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ