ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สูตรแห่งสมาธิ ให้ชาวกรรมฐาน ต้อนรับปีใหม่ จะได้ไม่ลืมกัน  (อ่าน 3532 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  ขันธวารวรรค  [๑.  ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์  ๑.  นกุลปิตุวรรค  ๕.  สมาธิสูตร

                  ๕. สมาธิสูตร
                  ว่าด้วยสมาธิ
            [๕]    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    พระเชตวัน    อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี    เขตกรุงสาวัตถี    ณ    ที่นั้น    พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

            “ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด    ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง
 
           คือ    ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป    ความเกิดและความดับแห่งเวทนาความเกิดและความดับแห่งสัญญา    ความเกิดและความดับแห่งสังขาร    ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ
 
           อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป    อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา    อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา    อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร    อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ

            คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดอะไรเล่า

            คือ    ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดรูป    เมื่อเธอเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดรูป   ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น    ความเพลิดเพลินในรูปเป็นอุปาทาน    เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย    ภพจึงมี    เพราะภพเป็นปัจจัย    ชาติจึงมี    เพราะชาติเป็นปัจจัย    ชรา    มรณะ    โสกะ    ปริเทวะ    ทุกข์    โทมนัส    และอุปายาสจึงมี    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
            ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดเวทนา    ฯลฯ
            ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดสัญญา    ฯลฯ
            ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดสังขาร    ฯลฯ
            ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดวิญญาณ    เมื่อเธอเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดวิญญาณ    ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น    ความเพลิดเพลินในวิญญาณเป็นอุปาทานเพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย    ภพจึงมี    เพราะภพเป็นปัจจัย    ชาติจึงมี    ฯลฯความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้

            ภิกษุทั้งหลาย    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญา    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสังขาร    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ

            อะไรเป็นความดับแห่งรูป  ...  แห่งเวทนา    ฯลฯ    แห่งสัญญา    ฯลฯแห่งสังขาร    อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ

            คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติด

            ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดอะไรเล่า

            คือ    ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดรูป    เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชมไม่ยึดติดรูป    ความเพลิดเพลินในรูปจึงดับ    เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับอุปาทานจึงดับ    เพราะอุปาทานดับ    ภพจึงดับ    ฯลฯ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้

            ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดเวทนา    เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดเวทนา    ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงดับ    เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ    อุปาทานจึงดับ   เพราะอุปาทานดับ    ภพจึงดับ    ฯลฯ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้

            ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดสัญญา    ฯลฯ
 
           ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดสังขาร    เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม
ไม่ยึดติดสังขาร    ความเพลิดเพลินในสังขารจึงดับ    เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ    อุปาทานจึงดับ    เพราะอุปาทานดับ    ภพจึงดับ    ฯลฯ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้

            ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดวิญญาณ    เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดวิญญาณ    ความเพลิดเพลินในวิญญาณจึงดับ    เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ    อุปาทานจึงดับ    ฯลฯ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้

            ภิกษุทั้งหลาย    นี้เป็นความดับแห่งรูป    นี้เป็นความดับแห่งเวทนา    นี้เป็นความดับแห่งสัญญา    นี้เป็นความดับแห่งสังขาร    นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ”

             สมาธิสูตรที่ ๕ จบ




บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ ที่พระอาจารย์แสดงหัวใจของการเจริญ สัมมาสมาธิ ไว้ในตอนต้นปีครับ ผมเองไม่ได้อ่านพึงตามอ่านกันในวันนี้ อ่านแล้วรู้สึกว่า แนวกรรมฐาน ที่เป็นอยู่นี้รู้สึกจะเอนเอียงออกจากเป้าหมายของ สัมมาสมาธิ ไปมากครับ เพราะช่วงหลังกลายเป็นว่า ผมฝึกสมาธิ เพื่อสุขภาพทางจิตมากกว่า ที่จะไปตามเห็นตามความเป็นจริง คือ ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตได้สงบ เสริมสุขภาพกาย

   วันนี้ได้อ่านแล้ว รู้สึกว่าต้องปรับปรุง ตนเองในเรื่องการฝึก กรรมฐาน หรือ สมาธิ ใหม่ครับ

 ขอบคุณพระอาจารย์ ที่ให้ธรรม เกี่ยวกับเรื่องกรรมฐาน ที่ชัดเจนในแนวทางครับ

  อนุโมทนาครับ

  :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;