1.ได้พยายามฝึกอานาปานสติแต่ก็ไม่สามารถจับลมหายใจของตัวเองได้ คือมันจะจับได้เฉพาะบางครั้งไม่สามารถจับลมหายใจทั้งสายได้ จะรู้สึกแค่ตัวเรายกขึ้นลงเวลาเราสูดหายใจเข้าออกน่ะค่ะ แต่บางที่ก็จะรู้สึกว่ามีลมผ่านจมูกได้แต่น้อยครั้งมากค่ะ เลยลองจับความรู้สึกที่หน้าท้องพองยุบดู ซึ่งจะจับได้ดีกว่า แบบนี้เราสมควรฝึกสมาธิโดยการจับความรู้สึกที่หน้าท้องแทนหรือไม่คะ
คำตอบ สำหรับ การฝึกอานาปานสติ ทั่วไป นะจ๊ะ ไม่ใช่ อานาปานสติ ในขั้นตอนกรรมฐาน มัชฌิมา
การจับลมหายใจ สั้น ยาว ใช้วิธีการจับ เบื้องต้นด้วยการกำหนด อยู่ 3 แบบ ร่วมกันคือ คือ
1.นับ ลมหายใจ เข้า ออก จะสั้น จะยาว อยู่ที่จำนวนการนับ แต่อย่างไร ก็ไม่ควรนับให้เกิน 10 เพราะนับยาวมากโอกาสตก ภวังค์ มีสูงถ้ายังเป็นสมาธิ ดังนั้น การฝึกนับให้นับ ตั้งแต่ 5 แล้วเพิ่มขึ้นไปตามจังหวะ การนับอย่างนี้จัดเป้น สโตริกาญาณที่ 3 เพราะประคองลมหายใจ เข้าออก ให้เท่ากัน
2.ติดตามลมหายใจ เข้าออก
3.ตามรู้ที่จุดกระทบ
เว้นที่ตั้ง ฐานจิต คือ ฐปนา ยังไม่ควรปฏิบัติถ้ายังไม่ได้ อุคคหนิมิต
ดังนั้นการจับที่หน้าท้อง ถือได้ว่าเป็น การตามดูรู้ลมเข้าออก ที่จุดกระทบ
แต่ลมหายใจเข้า ออก นั้น มีอยู่ 2 แบบ คือ ปราณภายนอก กับ ปราณภายใน ซึ่งยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาภาวนากันอยู่อีกพอสมควร ในการภาวนา อานาปานสติ
2. ได้ฟังเทปของหลวงพ่อพุธก็เลยลองฝึกบริกรรมภาวนาพุทโธโดยไม่ตามลมหายใจดู พบว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งซึ่งรู้สึกว่าจิตสงบได้(หมายถึงความฟุ้งซ่านน้อยลง) แต่หลังจากนั้นภาวนาไปๆ มันก็กลับไปจับลมหายใจเหมือนเดิม (แต่ไม่รู้สึกสัมผัสถึงลมหายใจนะคะ แค่รู้สึกว่าตัวเรายกขึ้นลงเวลาหายใจเข้าออกเท่านั้น) เลยไม่รู้ว่าตัวเองควรจะฝึกสมาธิโดยวิธีไหนดี
วิธีไหน ก็ได้ ที่จริตเราชอบนะจ๊ะ ส่วนอาการที่เกิดนั้นยังไม่เรียกว่าเป็นสมาธิ ยังคงเป้นลักษณะของปีติอยู่ ซึ่งปีติเราก็จะรู้สึกสบาย เย็นอกเย็นใจ เป็นพิเศษ
3. เวลานั่งไปได้สักพัก น่าจะประมาณ 20 นาที จะรู้สึกว่าตัวเราเอียงไปด้านหน้าเรื่อย ๆและตัวจะหนักๆ (ตอนนั้นจิตใจก็ยังฟุ้งอยู่เป็นระยะๆ)แล้วก็จะปวดหลังน่ะค่ะ แต่ถ้าพยายามตั้งตัวกลับขึ้นมาตรงใหม่มันเหมือนกับต้องใช้แรงมากที่จะเอียงตัวกลับมาน่ะค่ะ เป็นแบบนี้บ่อย ๆ เราควรจะแก้ไขอย่างไรคะ
เป็นเพราะจิตส่งพะวงกับกาย ยังไม่รวมเป็นสมาธิ จึงทำให้จิตตระหนักในกาย รู้สึกถึงเวทนาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายจนบัง เวทนาที่เกิดกับจิต มีปีติ สุข อุเบกขา ดังนั้นเมื่อจิตกระทบกายมาก ในที่สุดก็จะเลิกภาวนาเพราะความอึดอัดเป็นทุกข์กับกาย วิธีแก้ ให้มั่นคงในนิมิตทั้งสาม ปล่อยวางกาย เสีย
4.เวลานั่งสมาธิจะรู้สึกว่าตัวเราโดยเฉพาะตำแหน่งแขนและมือทั้งสองที่ประสานกันไว้ที่ตักมันมีความร้อนและความรู้สึกซู่ ๆ บอกไม่ถูกค่ะ คล้าย ๆขนจะลุกแต่ก็ไม่ลุก แต่ถ้าเมื่อไหร่มีความรู้สึกแบบนี้เราจะรู้สึกดีน่ะค่ะ่ คล้ายๆใจจะสงบแต่ในระหว่างนี้จิตก็ยังฟุ้งอยู่เลย ความรู้สึกแบบนี้มันคืออะไรคะ
เป็นคุณลักษณะของปีติ ที่ควรจะเกิด ขึ้นอยู่กับการตั้งฐานจิต ในธาตุไหน ก็จะส่งผลตามธาตุนั้น ๆ ดังนั้นขอให้เลือกการภาวนาที่เหมาะสมกับตนเอง การเลือกกรรมฐาน หลายอันก็ทำให้ฟุ้งซ่านได้ ให้เลือกสักอย่าง และ ปล่อยวางกายลง เสียบ้าง ให้สัมผัสเวทนาทางจิตให้มากขึ้น
เจริญธรรม

