"มมร.อบรมวิปัสสนากรรมฐาน" ออกธุดงค์ขึ้นเขาใหญ่
วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานภาคปฏิบัติ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ ออกธุดงค์ขึ้นเขาใหญ่โดยการนำของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา(พระมหาวิทยา ปริปุณฺณสีโล) พร้อมด้วยพระเมธีธรรมสารคณาจารย์ทุกรูปทุกท่าน
ร่วมการฝึกอบรมกรรมฐานแก่นักศึกษาศาสนศาสตร์ ปีที่ ๔ ผู้สำเร็จภาควิชาการ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เข้ารับการอบรมกรรมฐานธุดงค์ขึ้นเขาใหญ่และในตอนเช้า(วันที่ ๓ พ.ค.๕๕)รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร(พระครูปรีชาธรรมวิธาน)ได้นำตักบาตรพระภิกษุสงฆ์จำนวน ๓๔๔ รูป ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
ผู้สำเร็จภาควิชาการมีจำนวนดังนี้ส่วนกลาง รุ่นที่ ๕๙ จำนวน ๕๓ รูป/คนวิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๔๖ รูปวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร จำนวน ๒๒ รูป ศูนย์การศึกษาโคราช จำนวน ๑๔ รูป มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย จำนวน ๘ คน รวมทั้งสิ้นจำนวน ๓๔๐ รูป/คน 
การฝึกปฏิบัติกรรมฐานเป็นหลักการที่ มมร ดำเนินการมาโดยตลอดเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกกรรมฐานในสนามจริง(ปฏิบัติ)หลังจากได้ฝึกในสนามในห้อง(ทฤษฎี)ก่อนจะส่งไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
เป็นการส่งเสริมจากการศึกษาในห้องเรียนและก่อนไปปฏิบัติศาสนกิจในสนามจริงนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ตามลำดับขั้นจากการเรียนเชิงปฏิบัติการในห้องเรียน มาเป็นปฏิบัติการในภาคสนามและต่อไปถึงการปฏิบัติการจริงในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วัดมกุฏคีรีวัน เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ได้ให้ความกรุณาแก่ มมร มาโดยตลอดตั้งแต่ครั้งที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจารเถร)ผู้ก่อตั้งและอดีตอธิการบดี ลำดับที่ ๓ มาถึงปัจจุบันท่านเจ้าอาวาส (พระญาณดิลก)รูปปัจจุบันก็ได้ให้ความกรุณาแก่ มมร เหมือนเดิมเช่นเดียวกันพระนักศึกษาศาสนศาสตร์ ปีที่ ๔ มมร ทั่วประเทศ ธุดงค์เดินขึ้นเขาใหญ่
ธรรมชาติเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งทางโลกและทางธรรม


การประพฤติ...ธุดงค์เป็นวิธีที่สามารถกำจัดกิเลสได้แบบเฉียบพลันทันตาเห็น และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษรวมทั้งยังมีอานิสงส์ให้บารมี ๑o ทัศ เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้น ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส,องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หมายถึง เจตนาความตั้งใจขัดเกลากิเลส, เจตจำนงความจงใจที่ทำให้ละกิเลสได้
ธุดงค์ เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไปฉนั้น มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฏ
ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์ เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์ ธุดงค์ในภาษาไทยนี้จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของพระวัดป่าของประเทศไทย ซึ่งต่างจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอย่างมาก เพราะธุดงค์ตามคัมภีร์นั้น ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องเดินเที่ยวไปทั่ว, ไม่จำเป็นต้องอยู่ป่า, ไม่มีการใช้กลด, ไม่รับเงินเด็ดขาด เป็นต้น.
สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยธรรมชาติ
ทีมงานรายการ "อยู่เย็นเป็นสูข" และ MBU News เก็บภาพสวย ๆ มาให้ท่านได้ชม....
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=3320&Itemid=1&limit=1&limitstart=0